งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต
Networking Systems and Internet Services

        ระบบอินเทอร์เน็ตได้เข้ามาเป็นส่วนสําคัญของการติดต่อสื่อสารมากขึ้น และยังเป็นสื่อหลักในการทําธุรกรรมต่างๆ ซึ่งถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สร้างโอกาสในการดําเนินธุรกิจการค้า หรือธุรกิจออนไลน์ เพราะมีความสะดวกและรวดเร็วในการการติดต่อสื่อสาร แต่ช่องทางการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน เนื่องจากกลุ่มแฮกเกอร์ พยายามค้นหาช่องโหว่ต่างๆ เพื่อดักจับข้อมูลต่างๆ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความสูญเสียตามมาได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นผ่านระบบอินเทอร์เน็ต SSL Certificate จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการปกป้องข้อมูลของท่าน

SSL คืออะไร

 

      SSL ย่อมาจาก Secure Socket Layer ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นมาเป็น TLS (Transport Layer Security) คือ เทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการสื่อสารหรือส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเว็บเบราว์เซอร์หรือ Application ที่ใช้งาน เพื่อให้ข้อมูลของท่านปลอดภัยจากการเข้าถึงข้อมูลจากแฮกเกอร์ โดยวิธีการเรียกใช้งาน จะเรียกผ่านโปรโตคอล HTTPS หรือโปรโตคอลความปลอดภัยอื่นๆ ตามแต่วิธีการใช้งาน

      SSL certificate คือ ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ เป็นไฟล์ข้อมูลขนาดเล็ก ที่ได้มีการผูกไว้กับ Private Key ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เพื่อยืนยันตัวตนและความถูกต้องในการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเว็บเบราว์เซอร์หรือ Application ที่ใช้งาน มีการเข้ารหัสและถอดรหัสผ่านเทคโนโลยี SSL/TLS หากข้อมูลของท่านถูกดักจับไปได้ ข้อมูลก็ท่านก็ยังมีความปลอดภัย เพราะแฮกเกอร์ จะไม่สามารถถอดรหัสข้อมูลของคุณได้ เนื่องจากข้อมูลที่ได้ไป จะอยู่ในรูปแบบที่อ่านไม่ออก จะต้องมีคีย์ถอดรหัสที่เหมาะสมและตรงกันเท่านั้น ถึงจะสามารถถอดรหัสได้

ประเภทของ SSL certificate

สำหรับ ssl จะมีอยู่ 3 ประเภท คือ

  1. Self-sign SSL certificate  คือ SSL certificate ที่ถูกสร้างโดยคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ ใครก็สามารถสร้าง SSL certificate นี้ได้ แต่ SSL Certificate ที่ได้รับมา จะไม่ผ่านการรับรองที่เป็นมาตรฐานจากทาง CA ดังนั้น เมื่อนำไปใช้งานจริง Browser ที่เข้าใช้งานเว็บไซต์ดังกล่าว จะขึ้นแจ้งเตือนว่า SSL certificate ไม่ปลอดภัย รูปกุญแจจะเป็นสีแดง สัญลักษณ์กากบาท และต้องกด Continue เพื่อยอมรับความเสี่ยง ถึงจะเข้าใช้งานได้
  2. Shared SSL คือ คือ SSL certificate ที่ใช้งานภายใต้ชื่อของผู้ที่ให้บริการ นิยมใช้กับ Shared Host ทั่วไป หลักการทำงานของ SSL certificate ประเภทนี้คือ ไม่สามารถเรียกใช้งาน Domain ของตัวเองได้
  3. Dedicated SSL certificate คือ SSL certificate ที่มีความน่าเชื่อถือ และนิยมใช้งานมากที่สุดในขณะนี้ จะเป็นการระบุเจาะจงเฉพาะ Domain ที่ต้องการสั่งซื้อ โดยจะออกให้โดย CA ที่มีความน่าเชื่อถือเท่านั้น ใบรับรองประเภทดังกล่าว จะมีการตรวจสอบความเป็นเจ้าของ Domain หรือ องค์กรก่อนที่จะสามารถออก SSL Certificate ให้ได้ และการใช้งานผ่าน Browser ต่างๆเช่น Chrome , Firefox , Internet Explorer จะขึ้นรูปกุญแจสีเขียว ซึ่งบ่งบอกถึงความปลอดภัยในการเข้าใช้งานเว็บไซต์

ทำไมต้องเลือกใช้ SSL Certificate

Download SSL Certificate สำหรับ Domain *.mju.ac.th

กรอกข้อมูลสำหรับผู้ดูแลเว็บไซต์ เพื่อรับรหัสผ่านที่  http://ssl.mju.ac.th

  ** หากมีปัญหาการใช้งาน สามารถแจ้งได้ที่ Line Official กองเทคโนโลยีดิจิทัล  LineID: https://lin.ee/gZStlIx **

คู่มือการติดตั้ง SSL Certificate

การติดตั้งและแก้ไขปัญหาอื่นๆ

เครื่องมือสำหรับตรวจสอบความถูกต้องในการติดตั้ง SSL Certificate    => https://www.sslshopper.com/ssl-checker.html

แหล่งอ้างอิง

  1. https://netway.co.th/knowledgebase/category/4/ssl-certificate/, เข้าถึง 24 มีนาคม 2560
  2. https://ssl.in.th/tools/about-ssl/ , เข้าถึง 24 มีนาคม 2560
  3. https://www.sslshopper.com/ , เข้าถึง 24 มีนาคม 2560
ปรับปรุงข้อมูล : 7/6/2566 10:54:12     ที่มา : งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 5214

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

โครงการสัมมนา“ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน”
คุณธนชาต วิวัฒนภูติ Business Development & Marketing Manager จากบริษัท ลานนาคอม จำกัด ที่ได้มาให้ความรู้โครงการ "ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน" กองเทคโนโลยีดิจทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการจัดโครงการสัมมนา“ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ประยุกต์ใช้ให้ทันโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง เรียนรู้วิธีการใช้งาน ChatGPT ให้เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในวันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2566 เวลา 9.00-12.00 น. ผ่านระบบ Webinar MS Teamsเอกสารที่เกี่ยวข้องวิดีโอโครงการสัมมนา“ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน” ช่วงที่ 1วิดีโอโครงการสัมมนา“ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน” ช่วงที่ 2
16 กรกฎาคม 2566     |      318
พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA)
หนึ่งในปัญหาสำคัญที่นำไปสู่การออกกฎหมาย PDPA คือ การที่ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลสู่สาธารณะ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ข้อมูลต่างๆ ถูกแปลงให้อยู่ในรูปดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลสามารถหลุดออกไปได้หลากหลายช่องทางโดยบางครั้งเจ้าของข้อมูลก็ไม่รู้ตัว เช่น การโพสต์ข้อมูลส่วนบุคคลลงสื่อสังคมออนไลน์ การใช้บริการแอปพลิเคชันต่างๆ แล้วกดตกลงให้ความยินยอมในการให้ข้อมูลเองโดยไม่อ่านรายละเอียด การโดนแฮ็กหรือเจาะขโมยข้อมูล การถูกหลอกลวงด้วยวิธีต่างๆ เช่น Phishing เป็นต้น การรั่วไหลหรือขโมยข้อมูลส่วนบุคคลอาจนำไปสู่ความเสียหายดังต่อไปนี้ • ถูกนำไปใช้ในทางผิดกฎหมาย เช่น เลขบัตรประชาชนถูกนำไปใช้เปิดบัญชีเพื่อฉ้อโกงผู้อื่น คลิปส่วนตัวถูกข่มขู่แบล็กเมล เป็นต้น • โดนจารกรรมทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการใช้หมายเลขบัตรเครดิตไปซื้อสินค้า หรือโอนเงินจากบัญชีธนาคาร • ถูกนำไปทำการตลาดต่อ ส่งผลให้เจ้าของข้อมูลถูกรบกวนด้วยโฆษณา ขายสินค้าและบริการต่างๆ • ถูกปลอมแปลงตัวตน แล้วเอาไปแอบอ้างทำเรื่องเสียหายหรือผิดกฎหมายเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนไทย ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคาร อีเมล ไอดีไลน์ บัญชีผู้ใช้ของเว็บไซต์ ลายนิ้วมือ ประวัติสุขภาพ รวมไปถึงข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถระบุถึงตัวเจ้าของข้อมูลนั้นได้ ทั้งในรูปแบบเอกสาร กระดาษ หนังสือ หรืออิเล็กทรอนิกส์ กฎหมาย PDPA จึงถูกพัฒนาและเตรียมบังคับใช้งานอย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 1 มิถุนายน 2022 นี้ หลักสำคัญของกฎหมาย PDPA สามารถสรุปได้เป็น 6 ประเด็น ดังนี้ 1. เจ้าของข้อมูลมีสิทธิ์ลบ เพิ่ม ห้าม แก้ไข และเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของตัวเองได้ 2. ต้องให้ความสะดวกในการขอเพิกถอนสิทธิ เช่นเดียวกับตอนที่ขอข้อมูลมาจากเจ้าของข้อมูลในตอนแรก 3. เก็บข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็น ตามวัตถุประสงค์ในการขอข้อมูลมา 4. เมื่อพบข้อมูลรั่วไหล ต้องแจ้งเจ้าของข้อมูลและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดภายใน 72 ชั่วโมง 5. ต้องมีผู้ดูแล รับผิดชอบ และควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล 6. โทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5,000,000 บาท โดยอาจมีความผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่ง ไม่ว่าจะเป็น Data Controllers หรือ Data Processors 8 ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมขององค์กรก่อน PDPA ประกาศใช้ มีคำแนะนำสำหรับการเตรียมความพร้อมขององค์กรในภาพใหญ่ 8 ข้อ ดังนี้ 1. ทำความเข้าใจว่ากฎหมาย PDPA คืออะไร 2. ตั้งงบประมาณ 3. แต่งตั้งทีมรับผิดชอบ 4. กำหนดประเภทข้อมูลและวัตถุประสงค์ 5. เตรียมข้อกำหนด แนวทางปฏิบัติในการปกป้องข้อมูลตามที่กฎหมายกำหนด 6. สร้างความตระหนักรู้ให้กับเจ้าของข้อมูลและประชาสัมพันธ์ให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 7. พัฒนาทักษะและกระบวนการตรวจสอบ 8. ปรับปรุงกระบวนการและออกแบบให้เหมาะสมกับการคุ้มครองข้อมูงส่วนบุคคลอยู่เสมอ สำหรับขั้นตอนในการรับมือกฎหมาย PDPA โดยละเอียดได้แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ 1. Data Discovery ค้นหาและตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล 2. Privacy Policy กำหนดการใช้หรือการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล 3. Security Measurement วางมาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัยสำหรับปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล 4. Data Transfer วางระบบการบริหารจัดการ การส่ง หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล 5. DPO แต่งตั้งผู้กำกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคล PDPA in Action เมื่อนำกฎหมาย PDPA มาแปลงให้อยู่ในระบบสารสนเทศ จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ Data Subject Request, Front-end (DPO) และ Back-end System เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ PDPAเอกสารโครงการเตรียมความพร้อมรองรับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) วันอังคารที่ 26 เมษายน 2565 วิดีโอโครงการฝึกอบรม “ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562” วันศุกร์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2566เอกสารอ้างอิงของมหาวิทยาลัยแม่โจ้คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาและวางแนวนโยบายในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่องนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลCookies-Policy - MJUข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล - MJUคำประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว-Privacy-Notice-MJUนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล-Privacy-Policy - MJUแนวปฎิบัติสำหรับการดำเนินการของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล - MJUบันทึกรายการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของ-MJUเอกสารแสดงความยินยอม-Consent-Form - MJU
22 พฤษภาคม 2566     |      856