งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต
Networking Systems and Internet Services
การใช้งาน E-mail มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การใช้งาน Email มหาวิทยาลัยแม่โจ้ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการเปิดให้บริการระบบ Email ไปใช้งานบน Office365 ซึ่งสามารถเข้าใช้งานได้ดังนี้เข้าเว็บไซต์ https://www.office.comกดลงชื่อเข้าใช้งาน Sign in2. ลงชื่อเข้าใช้งาน โดยกรอกข้อมูล Email ของบุคลากรหรือนักศึกษา ตามด้วย @mju.ac.th แล้วกด Next เช่น Username@mju.ac.th3. กรอกรหัสผ่านเข้าใช้งาน Email แล้วกด Sign in4. ระบบจะขอท่านบันทึกข้อมูลความปลอดภัยการใช้งาน Email กด Next 5. ระบบจะให้ทำการลงทะเบียน ยืนยันตัวตนผู้ใช้งาน Email ได้ 2 ทาง โดยให้ยืนยันตัวตนผ่านหมายเลขโทรศัพท์ หรือผ่าน E-mail สำรอง (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอง) กรณียืนยันตัวตนผ่าน Email สำรอง5.1 กรอก Email สำรอง (ควรเป็น Free Email) แล้วกด email me5.2 กรอกรหัส 6 หลักที่ได้รับจาก Email5.3 ระบบจะทำการบันทึก Email สำรองของผู้ใช้งาน สามารถกด Finish เพื่อใช้งาน Email ต่อไปได้กรณียืนยันตัวตนผ่านหมายเลขโทรศัพท์5.1 เลือก ประเทศไทย (+66) กรอกเบอร์โทรศัพท์มือถือ 10 หลัก ให้เลือกส่งรหัสทางข้อความ หรือ ผ่านการสนทนาทางโทรศัพท์ (แนะนำเลือกส่งรหัสผ่านข้อความ)5.2 กรอกรหัส 6 หลักที่ได้รับจากข้อความผ่านทางโทรศัพท์มือถือ กด Verify5.3 สามารถกด Finish เพื่อใช้งาน Email ต่อไปได้6. กรณีต้องการให้เว็บ Browser ลงชื่อเข้าใช้งานบัญชี Email นี้ไว้ ให้กด Yes(เหมาะสำหรับเครื่องส่วนบุคคล)หากไม่ต้องการให้บันทึก กด No” (เหมาะสำหรับเครื่องสาธารณะ)7. ระบบจะเข้าสู่หน้าแรกของ Office365 ต้องการใช้งาน Email เลือกที่ Outlook หรือใช้งานระบบอื่นๆ สามารถเลือกได้จาก tab ด้านข้าง8. หน้าแรกของ E-mail มหาวิทยาลัยแม่โจ้กรณีลืมรหัสผ่าน  ลืมรหัสผ่าน Email มหาวิทยาลัย (mju.ac.th)  ** หากมีปัญหาการใช้งาน สามารถแจ้งได้ที่ Line Official กองเทคโนโลยีดิจิทัล  LineID: https://lin.ee/gZStlIx
9 มีนาคม 2566     |      37775
ระบบเครือข่ายเสมือนส่วนตัว หรือ VPN (Virtual Private Network) สำหรับนักศึกษาปริญญาโท และปริญญาเอก ม.แม่โจ้
ระบบ VPN สามารถทำให้นักศึกษา และเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานนอกมหาวิทยาลัย ยังสามารถ login เข้ามาใช้เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยได้ VPN ย่อมาจาก Virtual Private Network เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อเครือข่ายนอกอาคาร (WAN - Wide Area Network) เป็นระบบเครือข่ายภายในองค์กร ซึ่งเชื่อมเครือข่ายในแต่ละสาขาเข้าด้วยกัน โดยอาศัย Internet เป็นตัวกลาง มีการทำ Tunneling หรือการสร้างอุโมงค์เสมือนไว้รับส่งข้อมูล มีระบบเข้ารหัสป้องกันการลักลอบใช้ข้อมูล เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งต้องการความคล่องตัวในการติดต่อรับส่งข้อมูลระหว่างสาขา มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับ Private Network          นอกจากนี้ ยังสามารถกำหนดหมายเลข IP เป็นเครือข่ายเดียวกัน และนักศึกษา และเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานนอกมหาวิทยาลัย ยังสามารถ login เข้ามาใช้เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยได้ทำไมถึงต้องใช้ VPN          เนื่อง จากปัจจุบันการติดต่อสื่อสารถือว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยถ้าเราต้องการการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยระหว่าง Network บริการที่ดีที่สุดคือ การเช่าสายสัญญาณ (leased line) ซึ่งจะทำการเชื่อมต่อระบบเน็ตเวิร์คของเราด้วยการใช้สายสัญญาณตรงสู่ปลายทาง ทำให้มีความปลอดภัยสูงเพราะไม่ต้องมีการใช้สื่อกลางร่วมกับผู้อื่น และมีความเร็วคงที่ แต่การเช่าสาสัญญาณนั้นใข้อเสียคือ ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการนั้นสูงมาก เมื่อเทียบกับความเร็วที่ได้รับ ซึ่งบริษัทขนาดเล็กนั้นคงไม่สามารถทำได้           เทคโนโลยี VPN ได้เข้ามาเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เนื่องจากได้ใช้สื่อกลางคือ Internet ที่มีการติดตั้งอยู่อย่างแพร่หลายเข้ามาสร้างระบบเน็ตเวิร์คจำลอง โดยมีการสร้างอุโมงค์ข้อมูล (Tunnel) เชื่อมต่อกันระหว่างต้นทางกับปลายทาง ทำให้เสมือนว่าเป็นระบบเน็ตเวิร์คเดียวกัน สามารถส่งข้อมูลต่างๆที่ระบบเน็ตเวิร์คทำได้ โดยข้อมูลที่ส่งนั้นจะถูกส่งผ่านไปในอุโมงค์ข้อมูล ทำให้มีความปลอดภัยสูง ใกล้เคียงกับ leased line แต่ค่าใช้จ่าในการทำ VPN นั้นต่ำกว่าการเช่าสายสัญาณมาก คู่มือติดตั้งระบบ VPN สำหรับ Ipad        คลิก คู่มือติดตั้งระบบ VPN สำหรับ PC          คลิก 
11 กรกฎาคม 2555     |      8664
มัลแวร์ใหม่เกิน 90% พุ่งเป้าถล่ม 'แอนดรอยด์'
แมคอาฟี่ (McAfee) บริษัทรักษาความปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์เผยรายงานสถานการณ์ภัยโจมตีบนอุปกรณ์พกพาประจำไตรมาส 3 ปี 2011 พบว่าซอฟต์แวร์ประสงค์ร้ายหรือมัลแวร์ (Malware) ในอุปกรณ์พกพามากกว่า 90% พุ่งเป้าโจมตีที่สมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) เบ็ดเสร็จจำนวนมัลแวร์ที่มุ่งถล่มแอนดรอยด์เพิ่มขึ้น 37% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ทำสถิติให้ปี 2011 เป็นปีที่มีปริมาณมัลแวร์เกิดขึ้นใหม่มากที่สุดในประวัติศาสตร์        ท่ามกลางกองทัพสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตแอนดรอยด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในตลาดโลก แมคอาฟี่เผยว่าซอฟต์แวร์ประสงค์ร้ายสำหรับอุปกรณ์พกพาที่ถูกสร้างใหม่ในไตรมาส 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2011) เกือบทั้งหมดนั้นวางเป้าหมายที่อุปกรณ์แอนดรอยด์ โดยสัดส่วนการโจมตีแอนดรอยด์มากกว่า 90% ในขณะนี้สูงกว่า 76% ซึ่งแมคอาฟี่เคยสำรวจได้เมื่อไตรมาส 2 ที่ผ่านมา (เมษายน-มิถุนายน) ในแง่ภาพรวมของตลาดมัลแวร์ แมคอาฟี่นั้นเคยประเมินไว้ช่วงปลายปี 2010 ว่าจำนวนมัลแวร์ในปี 2011 จะมีมากกว่า 70 ล้านโปรแกรม แต่ล่าสุด แมคอาฟี่ปรับเพิ่มตัวเลขเป็น 75 ล้านโปรแกรม ทำให้ปี 2011 เป็นปีที่มีจำนวนซอฟต์แวร์ประสงค์ร้ายเกิดใหม่มากที่สุดในประวัติศาสตร์มัลแวร์        แมคอาฟี่นั้นระบุว่า ผู้สร้างมัลแวร์มองเห็นความนิยมในอุปกรณ์แอนดรอยด์ และช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ทำให้แอนดรอยด์กลายเป็นแพลตฟอร์มเดียวที่มัลแวร์ส่วนใหญ่ที่เกิดใหม่ในไตรมาส 3 พุ่งเป้าโจมตี        ผลการสำรวจของแมคอาฟี่สอดคล้องกับผลสำรวจของจูปิเตอร์ (Jupiter Networks) ที่รายงานออกมาก่อนหน้านี้ว่าอุปกรณ์แอนดรอยด์กลายเป็นเป้าหมายใหญ่ของมัลแวร์ในปัจจุบัน โดยจูปิเตอร์ประเมินว่ามีจำนวนมหาศาลคิดเป็นเปอร์เซนต์สูงถึง 472% ทำให้จูปิเตอร์ประกาศเตือนผู้ใช้สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ให้สังเกตและตรวจสอบคำอธิบายแอปฯ รวมไปถึงคอมเมนต์ของผู้ใช้งานและคะแนนของแอปฯ ทุกตัวก่อนดาวน์โหลดให้ดี        ภัยโจมตีแอนดรอยด์ที่เพิ่มขึ้นนั้นถูกพบในเวลาเดียวกับที่ผู้ให้บริการอย่างกูเกิลยืนยันว่าบริษัทมีมาตรการที่แน่นหนาและมีความตื่นตัวในการตรวจสอบความเสี่ยงที่อาจสร้างความเสียหายแก่ผู้ใช้งานอยู่ตลอด ทั้งหมดนี้เป็นผลจากในช่วงที่ผ่านมา แอนดรอยด์มาร์เก็ต (Android Market) ตลาดกลางสำหรับดาวน์โหลดหรือซื้อแอปฯของชาวแอนดรอยด์นั้นเคยถูกโจมตี อย่างไรก็ตาม กระบวนการดังกล่าวยังคงมีช่องโหว่ และบ่อยครั้งที่กูเกิลไม่สามารถแจ้งเตือนผู้ใช้แอนดรอยด์มาร์เก็ต ว่าแอปฯใดมีมัลแวร์แฝงตัวอยู่ ทำให้ผู้ใช้หลงเข้าใจว่าแอปฯที่ดาวน์โหลดมาจากแอนดรอยด์มาร์เก็ตมีความปลอดภัย และไม่ตรวจสอบให้ดีก่อนจะดาวน์โหลดแอปฯเหล่านั้น ***SMS อันตรายสุด        แมคอาฟี่พบว่าหนึ่งในรูปแบบการล่อลวงยอดนิยมบนอุปกรณ์แอนดรอยด์คือการแนบโทรจันไปกับข้อความ SMS เพื่อให้โทรจันดังกล่าวเก็บข้อมูลส่วนตัวรวมถึงข้อมูลการเงินที่สำคัญ สำหรับรูปแบบกลลวงใหม่เพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้แอนดรอยด์ คือการสร้างมัลแวร์ที่บันทึกบทสนทนาและส่งไฟล์ไปยังแฮกเกอร์โดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัว        แมคอาฟี่ยังพบว่ารูปแบบการโจมตีดั้งเดิมยังคงเพิ่มขึ้นเช่นกัน ทั้งการสร้างโปรแกรมแอนตี้ไวรัสปลอม Fake Anti-Virus (AV), การใช้ชุดคำสั่งเปิดการทำงานโปรแกรมอัตโนมัติหรือ AutoRun และโทรจันขโมยรหัสผ่านนั้นมีสถิติการโจมตีมากกว่าไตรมาสที่ผ่านมา        นอกจากนี้ มัลแวร์ที่มุ่งโจมตีคอมพิวเตอร์แมคอินทอช (Mac) นั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ผ่านมาเช่นกัน แต่มีอัตราการเติบโตน้อยกว่าไตรมาส 2 ของปี ขณะเดียวกัน โลกออนไลน์ยังคงเป็นแหล่งที่นักโจมตีใช้เพื่อล่าเหยื่อเช่นเดิม แม้ไตรมาส 3 ที่ผ่านมา จำนวนเว็บไซต์ประสงค์ร้ายที่สร้างเพื่อกระจายมัลแวร์และล่อลวงจะลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 โดยปริมาณเว็บไซต์ประสงค์ร้ายที่เกิดใหม่ในเดือนกรกฏาคม-กันยายนที่แมคอาฟี่ตรวจพบคือ 6,500 แห่ง น้อยกว่า 7,300 แห่งที่เกิดใหม่ในช่วงก่อนเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา        ที่น่าสนใจคือ ปริมาณสแปมหรืออีเมลขยะนั้นลดลงต่ำสุดในไตรมาสนี้ (ในรอบ 4 ปีที่ผ่านมาหรือตั้งแต่ปี 2007) แต่แมคอาฟี่พบว่าสแปมเหล่านี้มีพัฒนาการและผลกระทบที่ร้ายแรงกว่าเดิม ขณะที่ภัยบ็อตเน็ต (botnet) หรือการควบคุมสั่งการเครื่องจากระยะไกลนั้นมีปริมาณลดลงในไตรมาสนี้ ทั้งที่เคยมีทิศทางเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในประเทศอย่างอาร์เจนตินา อินโดนีเซีย รัสเซีย และเวเนซุเอลาที่มา ASTV ผู้จัดการออนไลน์
12 กันยายน 2554     |      8776
ไอซีที อัปเดตโปรแกรมเฝ้าระวังภัยฯ
ก.ไอซีที ลุยปรับปรุงฐานข้อมูลในโครงการจัดการดูแลและเฝ้าระวังภัยแฝงจากการใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสม พร้อมเพิ่มระบบปฏิบัติการและเว็บเบราว์เซอร์ที่รองรับ ตอบสนองความต้องการของหน่วยงานสถานศึกษา และผู้ปกครองที่สนใจ        นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (รมว.ไอซีที) กล่าวว่า หลังจากที่กระทรวงไอซีที ได้ดำเนินโครงการจัดทำโปรแกรมเฮาส์คีปเปอร์ เพื่อป้องกันภัยแฝงจากการใช้อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ และเกมคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสม พบว่าได้รับการตอบรับจากหน่วยงาน สถานศึกษา คณาจารย์ พ่อแม่ ผู้ปกครอง และประชาชนที่สนใจเป็นจำนวนมาก โดยมีผู้แสดงความจำนงขอโปรแกรมไปใช้งานมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้        รวมทั้งยังมีการเรียกร้องขอให้มีการดูแลและปรับปรุงโปรแกรมให้ทันสมัย เพื่อที่ผู้ปกครองและโรงเรียนต่างๆ จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการป้องกันสื่อออนไลน์ที่ ไม่เหมาะสมและดูแลการใช้งานคอมพิวเตอร์ของเยาวชน        “กระทรวงฯ เห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวมีประโยชน์ต่อสังคมและประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโรงเรียน สถานศึกษา และเยาวชนที่เป็นผู้ใช้คอมพิวเตอร์ จึงได้จัดทำโครงการปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพ จัดการดูแลระบบ และเผยแพร่แนวทางป้องกันภัยแฝงจากการใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสมสำหรับประชาชนทั่วประเทศขึ้น"        โดยมุ่งหวังให้เกิดการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ความรู้ กระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวและสร้างภูมิคุ้มกันภัยที่แฝงมากับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต พร้อมทั้งขยายผลการดำเนินการให้ประชาชนโดยทั่วไปมีโอกาสได้เข้าถึงมากขึ้น        ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนมีเครื่องมือสำหรับใช้ป้องกันเยาวชนและตนเองจากเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมต่างๆ รวมถึงมีแหล่งเครื่องมือ และสามารถเข้าถึงช่องทางการดาวน์โหลดเครื่องมือป้องกันตนเองและบุตรหลานจากภัยแฝงทางอินเทอร์เน็ตได้ เพื่อให้เยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของประเทศเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ต่อไป การจัดทำโครงการดังกล่าวเป็นการปรับปรุงกระบวนการและขั้นตอนการดูแลเฝ้าระวังให้เหมาะกับการใช้งาน และมีฐานข้อมูลที่ทันสมัย โดยกระทรวงฯ ได้ปรับปรุงโปรแกรมเฮ้าส์คีปเปอร์ เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานมากขึ้น พร้อมเพิ่มสมรรถนะของกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงานให้ทันสมัย และเหมาะสมกับการใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (32bit) ได้แก่ XP, Vista และ Windows 7 พร้อมกันนี้ยังสามารถทำงานร่วมกับเบราวเซอร์ต่างๆ ในปัจจุบัน เช่น IE, Firefox และ Chrome ได้ รวมทั้งสามารถปรับปรุงข้อมูลรายการเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมเพิ่มเติมได้ด้วย        น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โปรแกรมดังกล่าวทำขึ้นเพื่อแจกจ่ายใช้งานจำนวน 10,000 ชุด และจะมีการจัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลความรู้สู่ประชาชน รวมทั้งกระตุ้นให้รู้ถึงภัยแฝงและการป้องกันตนจากการใช้งานคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสมสำหรับประชาชนและสถานศึกษาทั่วประเทศ โดยหวังว่าโครงการฯ นี้ จะช่วยให้เกิดเครือข่ายป้องกันเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมของภาคประชาชนและภาครัฐในรูปแบบสมัครใจ ซึ่งจะเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งและเป็นประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุด ขอขอบคุณ ผู้จัดการที่มา http://www.manager.co.th/cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9540000122424
1 มกราคม 2557     |      8666
Google เปิดตัวบริการออนไลน์รูปแบบใหม่ ในชื่อ ?Google Plus?
           เนื่องจากว่าปัจจุบันนี้เว็บไซต์สังคมออนไลน์อย่าง Social network กำลังเป็นที่นิยม ซึ่งหลังจากที่ปล่อยให้เว็บไซต์ Facebook  เป็นข่าวมาตลอดในปีที่ผ่านมา โดยเน้นทั้งการให้บริการทางด้านสังคมออนไลน์ที่สามารถทำงานได้ดีกว่า Hi5  รวมถึงการตลาดอย่าง Facebook Page ที่ทำให้เกิดการเติบโตอย่างรวดเร็วจนถึงขณะนี้มีผู้ใช้ Facebook มากถึง 700 กว่าล้านคนทั่วโลก  ทำให้เว็บไซต์ยักษ์ใหญ่ในวงการอินเตอร์เน็ต อย่าง Google เปิดตัวโปรเจคสังคมออนไลน์แบบใหม่ ในชื่อ Google Plus เมื่อวันที่ 29มิถุนายนที่ผ่านมา หวังชิงส่วนแบ่งการตลาดกับ Facebook และเป็นทางเลือกใหม่ในการแบ่งปันเรื่องราวผ่านสังคมออนไลน์โดยฟิเจอร์ที่ใหม่และแปลกตาของ Google นี้ ถือว่าเป็นที่น่าสนใจทั้งตัวผู้ใช้เอง และระดับองค์กรที่ทำงานเป็นทีม โดยเฉพาะจุดเด่นของ Google Plus ที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ชอบคือแบ่กลุ่มเพื่อนๆ ซึ่งทำได้ดีกว่า facebook มากสำหรับGoogle Plus มีฟิเจอร์ที่สำคัญ ดังนี้คือCircle หรือ แวดวง ก็คือการจัดกลุ่มหรือแบ่งกลุ่มสื่อสารเฉพาะกลุ่ม  เช่นหากต้องการชวนเพื่อนร่วมห้องเรียนไปทานข้าว ก็จะสามารถเลือกได้เฉพาะเพื่อนที่ต้องการชวนเท่านั้น โดยที่คนนอกกลุ่มจะไม่มีสิทธิ์รู้  หรือในบางครั้งเราต้องการอัพรูปส่วนตัวให้เพื่อนๆ แต่ไม่อยากให้เพื่อนบางคนได้เห็น  ตรงนี้ก็นับว่าเป็นจุดเด่นที่แก้ปัญหาได้ดีกว่า Facebook ด้วยSparks อ่านหัวข้อตามความที่เราสนใจ  เมื่อผู้ใช้เข้ามาอ่านก็ได้อ่านข้อมูลเฉพาะที่เราต้องการทั้งจากเพื่อนๆหรือจากผลลัพธ์การค้นหาของ Google ที่เกี่ยวข้อง  ดังนั้นคุณก็จะได้ติดตามข่าวสารที่คุณชอบได้ทันทีตลอดทั้งวันหลังจากนี้การแบ่งปันสิ่งดี ๆ ให้เพื่อน ๆ ในโลกออนไลน์ก็ทำได้ไม่ยากด้วย Sparks ซึ่งไม่ว่าจะเป็น วิดีโอหรือบทความที่คุณชอบและต้องการมีไว้ดู อ่าน และแบ่งปันให้คนอื่นอ่านเมื่อมีเวลาว่าง ก็สามารถทำได้ง่าย ๆHangouts บริการสนทนาแบบวีดีโอคอนเฟอร์เร้นท์ เห็นทั้งภาพและเสียงสนทนาระหว่าง สองต่อสอง หรือสนทนาแบบกลุ่มในแวดวง ( Circle) กับเพื่อนๆหลายคนในกลุ่มได้ โดยสิ่งที่ต่างจากบริการวีดีโอคอนเฟอร์เรนท์ทั่วไปก็คือสามารถชมวีดีโอ youtube ไปพร้อมๆกับเพื่อนๆได้ด้วย จากที่ทีมงานได้ทดสอบเพื่อนๆในวงและร่วมวง Hangouts สามารถรองรับได้สูงสุด 10 คน และทันทีที่พูดภาพก็สลับหน้าจอไปยังคนพูดไมค์นั้นทันที เหมาะมากสำหรับการประชุม แต่ไม่เหมาะสำหรับปราศรัยเลือกตั้งแน่นอนHuddle บริการสนทนาแนว Instant Meseageing  คล้ายๆ WhatsApp เลย สามารถส่งข้อความสนทนาแบบกลุ่มได้ แต่คุยได้เฉพาะสมาชิก Google Plus ด้วยกันเองต่อไปการส่งข้อความหาเพื่อนๆ เพื่อนนัดแนะไปกินข้าวหรือว่าดูหนังก็คงไม่ใช่เรื่องยากอะไร Huddleแชทช่วยจัดการให้ ด้วยการเปลี่ยนการแชททีละคนหลายๆ ครั้งให้เป็นการแชทเป็นกลุ่มเพียงครั้งเดียว ทุกคนจะได้รับข้อมูลตรงกันโดยไม่ต้องเสียเวลากับการต้องคุยซ้ำๆ หลายๆ คนInstant upload ดูแล้วคล้ายๆกับบริการอัพโหลดแชร์ภาพและวีดีโออย่าง twitpic , picplz หรือเว็บไซต์อื่นๆ ที่ดีคือหลังจากอัพโหลดแล้วจะต้องเลือก circle ก่อนถึงจะเข้าสู่การแชร์ภาพหรือวีดีโอได้ ซึ่งต่างจาก เว็บไซต์อื่นๆที่อัพขึ้นแล้วแชร์เลย สามารถหาโหลดได้ผ่านทางแอพ Google Plus บน Android โหลดผ่านทาง Android MarketGoogle ได้พยายามสังเกตถึงคุณสมบัติต่างไม่ว่าจะเป็น twitter และ facebook โดยเฉพาะเรื่อง facebook ที่มีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก Google ก็นำฟีเจอร์บางส่วนของ facebook มาพัฒนาต่อยอดในปัญหาเรื่องการจัดกลุ่มนี้ บวกกับบริการที่มีอยู่ของ Google บางส่วนเข้าไปด้วย  และคาดว่าจะมีบริการอื่นๆ Google ที่จะเปลี่ยนโฉมในเร็วๆนี้ตอบรับโปรเจคครั้งใหญ่อย่าง Google Plus เช่น Gmail กับ Calendar ด้วยสำหรับบุคคลที่สนใจอยากจะทดลองด้วยก็ไปดูรายละเอียด และลงทะเบียนของร่วมทดลองบริการที่  http://plus.google.comแต่ต้องรออนุมัติจากทาง Google อีกที ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงทดลอง  แม้ว่าจะเป็นส่วนน้อยมากที่จะได้ทดลองแต่อีกไม่นานก็จะมีการเปิดให้ผู้ใช้ gmail ทุกคนสามารถเข้าใช้บริการ Google Plus ได้ภายในเร็ววันนี้ แน่นอน และถึงแม้ว่าบริการนี้คนละแนวกับ facebook แต่เชื่อว่าจะมีหลายๆคนอยากใช้บริการนี้อย่างแพร่หลายแน่นอน
10 มีนาคม 2554     |      7940
เตือนภัยมัลแวร์แอนดรอยด์
กูเกิลประกาศลบโปรแกรมประสงค์ร้ายหรือมัลแวร์ออกจากร้านแอปพลิเคชัน แอนดรอยด์มาร์เก็ต (Android Market) อีกรอบ หลังจากผู้เชี่ยวชาญพบว่ามีแอปพลิเคชันสอดแนมแฝงตัวโดยใช้โปรแกรมเกมสุดฮ็อต Angry Birds เป็นเครื่องตบตา ใช้เล่ห์เสนอตัวเป็นแอปพลิเคชันที่ช่วงโกงให้เล่นเกมนกพิโรธได้ง่ายขึ้น ถือเป็นการลบมัลแวร์รอบที่ 3 ต่อเนื่องจากการลบมัลแวร์มากกว่า 80 แอปพลิเคชันที่กูเกิลตรวจพบในรอบปีนี้        Xuxian Jiang ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฝ่ายวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยรัฐนอร์ธแคโรไลนา (North Carolina State University) ประกาศพบมัลแวร์ใน 10 แอปพลิเคชันซึ่งเปิดให้ผู้ใช้อุปกรณ์พกพาระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ดาวน์โหลด ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยล่าสุดผู้ช่วยศาสตราจารย์รายนี้ได้พบมัลแวร์ซึ่งแฝงตัวในแอปพลิเคชันที่ อวดอ้างว่าสามารถช่วยให้เล่นเกมยอดฮิตจากค่าย Rovio อย่าง Angry Birds ได้ง่ายขึ้น จุดนี้มีการยืนยันว่าเกม Angry Birds นั้นไม่มีมัลแวร์แฝงแต่อย่างใด        Jiang นั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบมัลแวร์ซึ่งมีการประสานงานกับบริษัทแอ นตี้ไวรัสและสถาบันวิจัยอย่าง Lookout, Symantec, McAfee, CA, SmrtGuard, Juniper, Kinetoo, Fortinet และอื่นๆ สำหรับมัลแวร์ตัวใหม่ที่ Jiang และทีมตั้งชื่อว่า "แพลงตอน (Plankton)" นั้นไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเจาะระบบรูตของแอนดรอยด์ แต่ออกแบบมาเพื่อแฝงตัวทำงานอยู่ที่พื้นหลังหรือแบคกราวน์โดยที่เจ้าของ เครื่องไม่รู้ตัว        จุดนี้ Jiang ระบุว่าแพลงตอนสามารถทำงานต่อเนื่องนาน 2 เดือนโดยซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสในโทรศัพท์มือถือไม่สามารถตรวจจับได้ ความน่ากังวลของของแพลงตอนคือความเสี่ยงในการถูกขโมยตัวตนและการถูกล่อลวงออ นไลน์ เพราะจะสามารถเก็บข้อมูลความลับในเครื่องทุกอย่างแม้แต่บุ๊กมาร์คในเบรา ว์เซอร์ ประวัติการเปิดเว็บ รวมถึงข้อมูลเวลาใช้งานอินเทอร์เน็ตบนอุปกรณ์พกพาซึ่งสามารถส่งกลับไปที่ เซิร์ฟเวอร์ของผู้หวังร้ายได้อย่างอัตโนมัติ        ปัจจุบัน อุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์นั้นถูกจับตาเรื่องความ ปลอดภัยอย่างมาก เพราะอุปกรณ์ดังกล่าวถูกใช้เพื่อการรับส่งอีเมล ทำธุรกรรมการเงิน เครือข่ายสังคม รวมถึงกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัว โดยเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา กูเกิลได้ประกาศว่ากำลังตรวจสอบ 26 แอปพลิเคชันต้องสงสัยว่าจะเป็นมัลแวร์ หลังจากกูเกิลประกาศลบแอปพลิเคชันที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นมัลแว ร์จำนวน 50 แอปพลิเคชันในเดือนมีนาคมขอขอบคุณ ASTV Manager ที่มี http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9540000072569
7 มิถุนายน 2554     |      7970
วิธีการสร้าง Group Contacts ในเมลล์ mju
หลายท่านที่เคยประสบปัญหา รายชื่อผู้ติดต่อหายไป (จากที่เคยพิมพ์ตัวย่อแล้ว e-mail address เต็มจะขึ้นมาเอง) เวลาเปลี่ยน mail server ตัวใหม่ วันนี้ทางงานระบบเครือข่ายขอเสนอวิธีการแก้ปัญหานี้ คือ ให้ท่านทำการสร้าง Group Contacts ใน mailbox ของท่านเอง ซึ่งถือว่าเป็นการเก็บข้อมูลรายชื่อผู้ติดต่อ ทางถูกวิธี โดยปกติแล้วการเก็บบัญชีรายชื่อหรือที่อยู่ e-mail address ของผู้ที่ต้องการติดต่อ ควรเก็บไว้ใน Contacts โดยการสร้างเป็น Group Contacts ขึ้นมาเพื่อบันทึกเก็บไว้ใน mailbox ของท่าน เพื่อความสะดวกในการค้นหาครั้งต่อไป นี่คือวิธีการเก็บรายชื่อหรือที่อยู่ e-mail address ที่ถูกต้อง ซึ่งส่วนใหญ่ user จะไม่ได้ทำการสร้าง group Contacts โดยเวลาใช้จะอ้างอิงจาก temporary ของ mail server คือ ส่วนที่เวลาท่านส่งเมลล์แต่ละครั้ง ข้อมูลรายชื่อจะถูกเก็บไว้ใน temporary ของ mail server โดยอัตโนมัติ ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการบันทึกข้อมูลอย่างถูกต้อง เป็นเพียงแค่การจำค่าไว้แค่ชั่วคราว เหมือนกับว่า ท่านใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน เปิดหน้าเว็บ โดยที่ท่านพิมพ์ url ไปแค่ครั้งแรก แล้วครั้งต่อไปเครื่องของท่านจะทำการเก็บข้อมูล url นั้นไว้ใน temporary โดยอัตโนมัติ ซึ่งถือว่าเป็นการเก็บข้อมูลในระยะนึงเท่านั้น ไม่ถือว่าเป็นการบันทึกลงไปในเครื่อง ข้อมูล url นั้นอาจจะหายไปได้เมื่อมีการเขียนข้อมูลทับลงไปที่ Cache memory ของเครื่องในการนี้ทาง งานระบบเครือข่ายจึงขอเสนอ วิธีการสร้าง Group Contact เพื่อเป็นการบันทึกข้อมูลผู้ติดต่อใน mailbox ของท่านโดยท่านสามารถดาวน์โหลด วิธีการสร้าง Group Contact ตามลิงค์นี้ โดยแบ่งเป็น 2 เวอร์ชั่น คือ 1 เวอร์ชั่นเมนูภาษาไทย กับ เวอร์ชันเมนูภาษาอังกฤษ http://www.maejonet.mju.ac.th/box_show.php?id_box_sub=567
11 เมษายน 2554     |      7730
IT New Updates/ "เหตุใดจึงควรเลือก Windows 7"
เราออกแบบ Windows 7 โดยยึดตามคำติชมของลูกค้าเพื่อนำไปใช้ปรับปรุงสิ่งต่างๆ จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ ตั้งแต่การสลับไปมาระหว่างโปรแกรมต่างๆ ไปจนถึงการบันทึกรายการทีวี Windows 7 ทำให้การใช้งานพีซีและการเชื่อมต่อพีซีกับเครือข่ายทั่วโลกเป็นเรื่องง่ายช่วยให้คุณทำงานประจำวันได้ง่ายขึ้นWindows 7 ช่วยให้การทำงานพื้นฐานง่ายกว่าที่เคยเป็นมา ด้วย โฮมกรุ๊ป การใช้เพลง เอกสาร เครื่องพิมพ์ และสิ่งอื่นๆ ร่วมกันกับพีซีเครื่องอื่นที่กำลังเปิดใช้งาน Windows 7 ในบ้านของคุณนั้นเป็นเรื่องง่าย Windows Search ช่วยให้คุณไม่ต้องคอยไล่ดูโฟลเดอร์และโฟลเดอร์ย่อยต่างๆ เพื่อค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ ภาพตัวอย่างแถบงานที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น จะทำให้คุณได้เห็นภาพของสิ่งที่เปิดใช้งานอยู่ได้อย่างชัดเจน ส่วน รายการทางลัดจะแสดงแฟ้มที่ใช้งานก่อนหน้านี้ด้วยการคลิกขวาเพียงครั้งเดียวทำงานในแบบที่คุณต้องการเทคนิคดีๆ มากมายจะมีประโยชน์อะไรถ้าพีซีของคุณไม่สามารถทำงานได้ราบรื่นอย่างที่คุณต้องการ เราจึงออกแบบ Windows 7 เพื่อช่วยให้พีซีของคุณ พักเครื่องและกลับมาทำงานต่อได้รวดเร็วขึ้นWindows 7 รองรับความก้าวหน้าล่าสุดของฮาร์ดแวร์พีซี เช่น ระบบการคำนวณ 64 บิต และตัวประมวลผลแบบมัลติคอร์ อีกทั้ง การใช้งานหน่วยความจำที่ได้รับการปรับปรุงยังช่วยให้ฮาร์ดแวร์ของคุณทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพทำให้ใช้งานคุณลักษณะใหม่ๆ ได้เมื่อคุณมีพีซีที่ใช้งานง่ายขึ้นและรวดเร็วกว่าเดิมแล้ว หากประกอบด้วยคุณลักษณะใหม่ๆ ดีๆ ก็ยิ่งดีไม่น้อย เช่น คุณจะสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงาน หรือร้านกาแฟ โดยคลิกเพียงไม่กี่ครั้ง และด้วย Windows Touch (และฮาร์ดแวร์ที่เหมาะสม) อีกไม่นานคุณก็จะสามารถใช้นิ้วเพื่อเลือกดูแฟ้มต่างๆ จัดการรูปภาพ หรือแม้แต่ "ระบายสี" ได้
1 มกราคม 2557     |      6213
Network Alert /
บริษัทผลิตและจำหน่ายซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสอย่างไซแมนเทค (Symantec) ประกาศว่าสามารถตรวจจับภัยจากซอฟต์แวร์ร้ายหรือมัลแวร์ได้มากกว่า 286 ล้านโปรแกรมช่วงปี 2010 ที่ผ่านมา ถือเป็นตัวเลขที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับปีใดๆ ย้ำเห็นชัดว่าภัยออนไลน์จะพุ่งเป้าไปที่อุปกรณ์พกพาและเครือข่ายสังคมในปี นี้ รวมถึงกลการโจมตีแบบอัตโนมัติหลากรูปแบบ ไซแมนเทคนั้นประกาศผลสำรวจภัยออนไลน์ประจำปี 2010 ไว้ในรายงาน Internet Security Threat Report ซึ่งบริษัทจัดทำเป็นประจำทุกปีต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 16 แล้ว โดยนอกจากจำนวนมัลแวร์ที่เพิ่มขึ้น ความชำนาญและความสำเร็จของมัลแวร์ในปี 2010 ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน แม้จะมีการให้ความรู้เพื่อให้ชาวออนไลน์ลดพฤติกรรมเสี่ยงในการตกเป็นเหยื่อ อย่างจริงจังแล้วก็ตาม เจอร์รี่ อีแกน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย Symantec Research Labs ระบุว่าปี 2010 คือปีที่ทิศทางการโจมตีในเครือข่ายสังคมเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยจากเดิมที่ผู้ประสงค์ร้ายมักใช้เพียงข่าวหรือกระแสสังคมในการล่อลวงผู้ ใช้ แต่เครือข่ายสังคมทำให้ผู้ปล่อยมัลแวร์สามารถหากินบนความไว้วางใจของเพื่อน ฝูงคนรู้จักของเหยื่อเอง ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์สำเร็จสูง "เครือข่ายสังคมกลายเป็นรูปแบบการโจมตีที่ได้รับความสนใจมาก ขึ้น เพราะชาวออนไลน์มีความเชื่อใจในข้อความซึ่งดูเหมือนว่าเพื่อนฝูงส่งมาพูดคุย ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับอีเมลลวงในยุคก่อน" ไซแมนเทคพบว่าการโพสต์ลิงก์เว็บไซต์ ขนาดสั้น (short URL) ในเครือข่ายสังคมคือกลลวงที่สามารถล่อให้ผู้ใช้เข้าสู่เว็บไซต์ซึ่งฝัง มัลแวร์ได้สำเร็จมากที่สุด เนื่องจากชาวเครือข่ายสังคมนิยมโพสต์ลิงก์เว็บไซต์ขนาดสั้นนี้เพื่ออัปเดทข่าวกับเพื่อนฝูง จุดนี้ไซแมนเทคระบุว่าลิงก์เว็บไซต์แฝงมัลแวร์นั้นปรากฏในรูปลิงก์เว็บไซต์ ขนาดสั้นนี้ถึง 65% โดยมากกว่า 73% ถูกคลิก 11 ครั้งหรือมากกว่านั้น นอกจากเครือข่ายสังคม ไซแมนเทคยังพบการโจมตีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลผ่านช่องโหว่ในโปรแกรมภาษาจาวา (Java) เพิ่มขึ้น ข้อมูลระบุว่า มากกว่า 17% ของจุดอ่อนด้านความปลอดภัยซึ่งมีผลกระทบต่อโปรแกรมเสริมในโปรแกรมเว็บเบราว์ เซอร์ช่วงปี 2010 นั้นอยู่ที่จาวา สำหรับชุดโปรแกรมโจมตีอัตโนมัติซึ่งพุ่งเป้าที่เว็บไซต์ต่างๆนั้นคิด เป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของภัยโจมตีเว็บไซต์ทั้งหมด โดยจำนวนการโจมตีเว็บไซต์ในปี 2010 นั้นสูงกว่าปี 2009 ถึง 93% ที่ขาดไม่ได้คืออุปกรณ์พกพา ไซแมนเทคอธิบายว่าเพราะผู้บริโภคใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ในการเล่นอินเทอร์ เน็ตและทำงานด้านการประมวลผลแทนคอมพิวเตอร์มากขึ้น ทำให้นักก่อการร้ายไฮเทคมองตลาดนี้เป็นเค้กก้อนใหญ่ที่ไม่ควรพลาด แถมผู้ใช้ยังไม่มีความตระหนักรู้เรื่องภัยในอุปกรณ์พกพาเท่าภัยใน คอมพิวเตอร์ ทั้งหมดนี้ทำให้ไซแมนเทคพบว่านักก่อการร้ายไฮเทคใช้ ประโยชน์จากช่องโหว่ในโทรศัพท์มือถือมากกว่า 163 จุดในช่วงต้นปี 2011 ที่ผ่านมา จนทำให้โทรศัพท์หลายแสนเครื่องตกอยู่ในความเสี่ยง ไซแมนเทคชี้ว่าช่องโหว่ในโทรศัพท์มือถือ 163 จุดนี้เป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นกว่า 115 จุดซึ่งไซแมนเทคพบในปี 2009 ถึง 42% โดยเฉลี่ย ไซแมนเทคพบว่าชื่อหรือข้อมูลตัวตนมากกว่า 260,000 ไอเดนติตี้จะถูกขโมยต่อการถูกเจาะระบบ 1 ครั้งในปี 2010 โดยยอดภัยซอฟต์แวร์ประสงค์ร้ายหรือมัลแวร์ตลอดปีอยู่ที่ 286 ล้านมัลแวร์ซึ่งใช้ช่องโหว่ใหม่ 6,253 จุด (1 ช่องโหว่สามารถเป็นช่องทางปล่องมัลแวร์ได้หลายครั้งและหลายโปรแกรม) ซึ่งภัยมัลแวร์เหล่านี้ถูกใช้โจมตีมากกว่า 3 พันล้านครั้งในปีที่ผ่านมา ภัยเก่าแก่อย่างบ็อตเน็ต (Botnet) หรือเครือข่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกควบคุมโดยแฮกเกอร์นั้นยังเป็นปัญหา ใหญ่ในปี 2010 ไซแมนเทคพบบ็อตเน็ตมากกว่า 1 ล้านเครื่องที่ถูกควบคุมในช่วงปีขาลที่ผ่านมา ไซแมนเทคยังพบด้วยว่า นักเจาะระบบจะสามารถจำหน่ายหมายเลขบัตรเครดิตที่ขโมยมาได้ในราคา 7 เซนต์ถึง 100 เหรียญสหรัฐ ซึ่งจะถูกซื้อขายในตลาดใต้ดินทั่วโลก การสำรวจครั้งนี้ของไซแมนเทคดำเนินการบนพื้นที่มากกว่า 200 ประเทศ โดยข้อมูลบางส่วนมาจากลูกค้าซึ่งใช้ซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสของไซแมนเทคมากกว่า 133 ล้านระบบในปี 2010
5 กุมภาพันธ์ 2554     |      9206
ทั้งหมด 2 หน้า