งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต
Networking Systems and Internet Services
ธรรมะจรรโลงใจ / " การรักษาจิตคล้ายดูแลควาย "
 เวลาเลี้ยงควาย เราปล่อยควายให้เดินไปตามถนน เจ้าของก็เดินตามหลังควาย สบาย ๆ? สองข้างทางเป็นไร่นา บางครั้งควายเดินออกนอกถนน ไปกินข้าวในนาของเพื่อนบ้าน เจ้าของก็ต้องตีบ้าง กระตุกเชือกบ้าง ให้ควายกลับขึ้นมาบนถนนใหม่ เมื่อควายเรียบร้อย เดินบนถนนก็เดินตามหลังควายสบาย ๆ เมื่อควายเข้าไปในนากินต้นข้าว รีบดึงควายให้กลับออกมาบนถนน ทำอยู่อย่างนั้นเรื่อย ๆ ไป เจ้าของควาย คือ สติ ควาย คือ จิต ถนน คือ ลมหายใจ ถนนยาว ๆ คือ ลมหายใจยาว ๆ ต้นข้าว คือ นิวรณ์ 5 เอาสติผูกจิตไว้กับลมหายใจ พยายามกำหนดรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ติดต่อกันสม่ำเสมอ เหมือนเอาสติผูกจิตไว้กับลมหายใจ ความรู้สึกอยู่ที่ไหน จิตก็อยู่ที่นั่น เมื่อสติรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า จิตก็อยู่ที่นั่น ขาดสติเมื่อไร จิตก็คิดไปต่าง ๆ นานา ตามกิเลส ตัณหา ตามนิวรณ์?ก็รีบต่อสติ กำหนดรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า อานาปานสติ ขั้นที่ 1-2 เมื่อจิตคิดออกไป รีบเรียกมาอยู่ที่ลมหายใจออกยาว ลมหายใจเข้ายาว หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ สบาย ๆ การเจริญอานาปานสติเหมือนกับคนเลี้ยงควาย คอยควบคุมควายให้เดินบนถนน หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ สบาย ๆมีสติรู้อยู่กับลมหายใจ ให้ติดต่อกันตลอดสาย
1 มกราคม 2557     |      7757
ธรรมะจรรโลงใจ / "สติรักษาจิต "
ตั้งใจ กำหนดจิตให้ดี  เราปฏิบัติภาวนาต้องอาศัยสติเป็นของสำคัญ  ระลึกถึงจิตอยู่เสมอๆ  กำหนดไว้ที่จิต    ครั้นเห็นจิตของตนแล้ว  กำหนดจิตของตนไว้จึงจะรู้เรื่องในการเทศน์  จิตเท่านั้นแหละที่เราจะต้องรักษา  นอกจากจิตแล้วไม่มีอะไรหรอก  อวัยวะทั้งหมดทุกชิ้นส่วนของร่างกายนี้  มีจิตเป็นใหญ่    จิตนี้แหละพาวิ่งพาว่อนพาท่องเที่ยวไปมา  พาให้เดือดร้อนเป็นทุกข์  ก็เพราะจิตนั่นแหละ   ถ้าเรารักษาสำรวมจิต  เห็นว่าเป็นทุกข์เดือดร้อนวุ่นวายแล้วก็หยุดเสีย  มันก็ได้ความสุขเท่านั้นเอง          ที่เราไม่รู้จักเรื่องจิต  เราไม่มีสติรักษา  มันจึงส่งส่ายหาเรื่องทุกข์ต่างๆ  จนกระทั่งมันทุกข์แล้วจึงค่อยรู้เรื่อง  มันสุขแล้วจึงค่อยรู้เรื่องของจิต  ในเวลาที่มันส่งส่ายอยู่นั้นไม่รู้เรื่องของมันเลย  จึงว่าจิตอันเดียวเท่านั้นที่ต้องรักษา    การภาวนาทั้งหมดก็มารวมที่จิตนี้แห่งเดียว  รักษาอันเดียวเท่านั้นแหละ  ให้รักษาจริงๆจังๆ    ใน เวลานี้เราจะนั่งสมาธิหรือฟังเทศน์  เราจะสำรวมจิตให้อยู่ในขอบข่ายของสติ  สติเป็นคนคุม  เมื่ออยู่ในขอบข่ายของสติแล้วก็หมดเรื่องกัน          สติ คือ ผู้ระลึกถึงจิตอยู่เสมอๆ  นั่นเรียกว่าสติความระลึกได้    จิต คือ ผู้คิด ผู้นึก ผู้ส่งส่าย,   อาการเป็นอย่างนั้นเรียกว่าสติ    ถ้าไม่มีจิตมันก็ไม่มีสติ  ถ้าไม่มีสติมันก็ไม่มีจิต  แท้ที่จริงก็อันเดียวกันนั่นแหละ  แต่มันเป็นอาการ(ของจิต)คนละอย่างกัน(เจตสิก ๕๒)  หน้าที่คนละอันกัน          สติเหมือนกับพี่เลี้อง  จิตเหมือนกับลูกอ่อน  ควบคุมรักษากันอยู่ตลอดเวลา  ลูกอ่อนที่มันซุกซน  พี่เลี้องต้องระวังอย่างเข้มแข็ง  ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะหลุดพลัดโผไปตกถูกของแข็ง  หรือตกไปในที่ลุ่มทำให้เจ็บได้    ถึงอย่างไรก็ต้องรักษาสติตัวเดียวเท่านั้นแหละ  พี่เลี้องต้องรักษาอยู่ตลอดเวลา    กว่าจะพ้นอันตรายได้  มันใช้เวลาหน่อย  เลี้ยงเด็กมันก็หลายปีกว่าจะเติบโตขึ้นมาได้  ถึงเติบโตขึ้นมาแล้วก็ต้องระมัดระวังสิ่งอื่น เช่นมันซุกซน วิ่งเล่นอะไรต่างๆ ต้องระมัดระวัง  แต่จำเป็นเพราะมันยังเป็นเด็กอยู่    ระวังจนใหญ่โตเป็นหนุ่มเป็นสาวขึ้น  ก็ยังต้องระวังอยู่ตลอดเวลา  เมื่อทำชั่วประพฤติผิด  สติตัวนี้ใช้อยู่ตลอดเวลา  ใช้ตั้งแต่เด็กจนกระทั่งเติบโต  ใช้ตั้งแต่สติผู้คิดผู้นึกทีแรกโน่น  ตลอดจนมันส่งส่ายไปสารพัดทุกเรื่องทุกอย่าง  สติต้องรักษาอยู่ตลอดเวลา  ส่วนเด็กนั้นเรียกว่าเป็นของมีตนมีตัว มันของยากหน่อย  แต่เมื่อเราคุมอยู่แล้ว จิตกลายเป็น(เหมือน - webmaster)ของมีตัว ปรากฎเห็นชัดเลย  จิตอยู่หรือจิตไม่อยู่  จิตวิ่งว่อนเที่ยวไปในที่ต่างๆ  เห็นชัดเลยทีเดียว  เป็นตัวเป็นตนแท้ทีเดียว          ครั้น เรารักษาจิตได้แล้ว  ควบคุมจิตได้แล้ว  สติตัวนั้นตั้งมั่นแล้วมันจะรวมเข้ามาเป็นใจ  คือตรงกลางๆนั่นแหละ  ไม่มีสถานที่หรอก  กลางตรงไหน ก็อันนั้นเป็นใจ ตรงนั้นแหละ  ไม่ใช่อยู่นอกอยู่ใน ข้างบนข้างล่าง   ใจเป็นกลางๆ อยู่ตรงไหนก็นั่นแหละ  ตัวใจตรงนั้นแหละ  หัดสติควบ คุมจิตให้เข้าถึงกลางอยู่เสมอๆ  มันค่อยมีพลังสามารถที่จะคิดค้นในสิ่งต่างๆ  สามารถที่จะระงับดับทุกข์ทั้งปวง  มันเดือดร้อน จะได้ทิ้งได้  เดี๋ยวนี้เราไม่เข้าถึงตรงกลาง จึงละทุกข์ไม่ได้    สิ่งที่ทุกข์ ก็เดือดร้อนวุ่นวาย  สิ่งที่เป็นสุข ก็เพลิดเพลินลุ่มหลง  ไม่เป็นกลางลงไปได้สักที          ถ้า ถึงตรงกลางแล้วนั้น   มันเป็นทุกข์ก็รู้จักทุกข์  ก็ปล่อยวางทุกข์ได้   มันสุขสบายก็ไม่หลงเพลิดเพลินมัวเมา    มันก็เป็นกลางอยู่อย่างนั้น  มันไม่สุขไม่เดือดร้อนวุ่นวาย  ไม่เป็นทุกข์  สติตัวหนึ่ง  จิตตัวหนึ่ง  สติควบคุมจิต    เมื่อควบคุมได้แล้วมันเข้ามาเป็นใจตัวเดียว   ตัวใจเป็นของสำคัญที่สุด  จิตมันออกจากใจ  ถ้าไม่มีใจมันก็ไม่มีจิต  จิตอันใดใจอันนั้น  ใจอันใดจิตอันนั้น  ท่านก็เทศนาอยู่  แต่จิตก็หมายความถึงอันเดียวกันนั่นแหละ          แต่ ทำไมท่านจึงเรียกว่าใจ  ทำไมจึงเรียกว่าจิต   อธิบายให้ฟังว่าใจคือตรงกลางไม่มีส่งส่าย  ไม่มีคิดไปหาบาปอกุศล  ไม่คิดถึงบุญ  หรืออะไรทั้งหมด  ใจที่ตรงกลางๆนั่นแหละ  ไม่มีอะไรหรอก  ไม่คิด  ไม่นึก  ไม่ปรุง  ไม่แต่ง  แล้วก็ไม่เกิดปัญญา    ตรงนั้นไว้เสียก่อน  ให้มันอยู่ตรงกลางเสียก่อน  ปัญญาเกิดหรือไม่เกิดก็ช่างมัน    ที่จะถึงตรงกลางได้มันใช้ปัญญาไม่ใช่น้อย  คิดค้นต่างๆทุกอย่างทุกเรื่อง  คิดค้นมาพอแรงแล้ว ตัวปัญญาใช้มามากแล้ว  คราวนี้เมื่อใช้มันหมดทางไม่มีที่ไปแล้ว  มันจึงเข้ามาเป็นกลาง  ตัวกลางๆนั้น  แต่คนไม่เข้าใจว่ามีปัญญา    แท้ที่จริงปัญญาใช้มามากแล้ว  เข้าถึงตรงกลางแล้วก็เฉยอยู่นั้น          เรา อยากจะรู้จักตรงกลางคืออะไร  หัดอย่างนี้ก็ได้  ทดสอบทดลองดู  กลั้นลมหายใจสักพักหนึ่ง  ไม่มีอะไรหรอก  มีเฉยๆ รู้เฉยๆ ไม่คิดไม่นึก  แต่รู้สึกว่ามันไม่คิดไม่นึก  ไม่ส่งส่ายไปมาหน้าหลัง  ไม่คิดถึงเป็นบาปเป็นบุญอะไรทั้งหมด  ผู้รู้สึกว่าเฉยๆนั่นแหละ  ตัวนั้นแหละตัวกลางตัวใจ (webmaster- ภาวะนี้เกิดจากมีสติ ในการกลั้นลมหายใจอันทำงานอยู่ตลอดเวลาและจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตให้ คงอยู่  จิตจึงต้องมีสติที่ตั้งมั่นแน่วแน่ในการระงับลมนั้น  จึงไม่ส่งส่ายไปปรุง ไปแต่ง  ตั้งมั่นอยู่ในการระงับลมนั้นเป็นเอก)  แต่มันได้ชั่วขณะเดียวในเมื่อเรากลั้นลมหายใจ พอจับตัวมันได้ว่า  ตัวใจมันตัวนี้  คราวนี้มันส่งออกไป  ถ้า มันส่งส่ายเป็นจิต  คิดนึก  สติควบคุมดูแลรักษา  ต้องชำระสะสางสิ่งที่เป็นบาป  ละอกุศล  ปล่อยวางลงไป  สิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศลอันนั้นก็ทิ้งวาง ปล่อยวางลงไป ไม่เอา   บุญก็ไม่เอา บาปก็ไม่เอา  มันถึงเข้าถึงกลางได้  เอาบุญก็ไม่เข้าถึงกลาง เอาบาปก็ไม่เข้าถึงกลาง  เมื่อละทั้งสองอย่างแล้วจึงเป็นกลางได้   นั่นแหละใช้ปัญญาอุบายมากมาย  จนกระทั่งมาเป็นใจ          ธรรมดา จิตกับใจนี้มันเกี่ยวเนื่องกันอยู่  เข้ามาเป็นใจพักหนึ่งแล้วมันก็อยู่ไม่นาน  มันก็ออกไปอีก  วิ่งว่อนไปตามเรื่องของมัน  แต่เราตั้งสติกำหนดรู้ใจรู้จิตของมัน เรื่องมันวิ่งว่อนไปด้วยประการต่างๆ  มันซุกซน  รู้เรื่องของมัน    คำว่ารู้นั้น หมายความว่า  ละทิ้งในสิ่งที่มันไม่ดี  เมื่อละไปหมดแล้ว  มันก็กลับมาช่องกลางนั้นอีก  การหัดสมาธิภาวนา  ถ้าหัดอย่างนี้ได้บ่อยๆเสมอๆ  ไม่เตลิดเปิดเปิงหลงไปตามจิต  ไม่มีสถานี  ไม่หยุด ไม่หย่อน อันนั้นใช้ไม่ได้   พิจารณาจนหมดเรื่องแล้ว  ถ้ามันถูก มันกลับมาอีกหรอก มาเป็นใจ    ถ้าไม่ถูกก็เลยเตลิดเปิดเปิงไปใหญ่โตมโหฬาร          ถึงอย่างไรก็ขอให้ทำให้เข้าใจถึงใจอยู่เสมอๆ  ความสงบที่เข้าถึงใจที่เป็นหนึ่งนั้นเป็นการดีมาก   ถึงไม่ได้ปัญญาก็เอาเถอะ  เอาเพียงเท่านี้ก็เอาเสียก่อน  เอาที่ความสงบนั่นแหละ  ให้มั่นคงถาวรแล้วมันถึงเกิดเองหรอก  อย่ากลัวเลย  กลัวว่าจิตจะไม่คิดไม่นึก ไม่ปรุงไม่แต่ง  มันคิดมันนึกมันปรุงมันแต่ง  ก็รู้เท่ารู้เรื่องมันอยู่ถ้าหากมันเข้าถึงใจแล้ว  นี่การภาวนาต้องหัดอย่างนี้  หัดพิจารณาอานาปานสติก็ดี  มรณานุสติก็ดี  พุทโธ อะไรต่างๆหมด  ก็เพื่อให้เข้าถึงใจ  เพื่อให้คุมสติได้    ถ้าหากว่าคุมใจไม่ได้  คุมใจไม่อยู่  อะไรก็เอาเถิด ไม่เป็นผลประโยชน์อะไรเลย          ตัว ของเราทั้งหมดมีจิตอันเดียวเป็นของสำคัญอยู่ในตัวของเรา  คนมากมายหมดทั้งโลกนี้ก็จิตตัวเดียว  จิตคนละดวงๆเท่านั้นแหละ  มันวุ่นวายอยู่นี่แหละ  แต่ละคนๆ รักษาจิตของเราไว้ได้แล้ว  มันจะวุ่นอะไร  มันก็สงบหมดเท่านั้น  ต่างคนต่างรักษาใจของตน    ต่างคนมีสติรักษาใจเท่านั้นก็เป็นพอ    ที่ มันยุ่งมันวุ่นก็เพราะเหตุที่ไม่รู้ใจของตน  รักษาใจของตนไว้ไม่ได้  มีโลภโมโทสันสารพัดทุกอย่าง  วุ่นวี่วุ่นวายเกิดแต่ใจนี่ทั้งนั้น   แล้วใจมันได้อะไรล่ะ   โลภมันได้อะไรไปใส่ใจ  โลภมันไปกองอยู่ที่ใจมันได้อะไร  โทสะเอาไปไว้ที่ไหนล่ะ  ไปไว้ที่ใจมีไหมล่ะ    โมหะ ความหลงไปไว้ที่ใจมีไหม   ใจไม่เห็นมียุ้งมีฉางใส่  ใจไม่เห็นมีตนมีตัว  มัน ได้อะไร  มีแต่ความว่างเปล่า ไม่มีอะไรเลย    ผู้ที่ว่าได้ว่าดีนั้น มันดีตรงไหน  โลภโมโทสันได้มาแล้วว่าดีนั้น   โกรธ  โลภ หลง  คนนั้นคนนี้    เห็นตนว่าวิเศษวิโส  ว่าตนดี  มันดีอะไร  วิเศษอะไร  มีแต่ความเดือดร้อนวุ่นวาย          อย่าง ว่า เราได้ของเขามาอย่างนี้  เราโลภอยากได้ของเขา  ได้มามันมีอะไรในที่นั้น   ได้มาอยู่มากิน  ได้มาบริโภคใช้สอย  ใช้อะไรก็ตัวนี้ละใช้  มันใหญ่มันโตมันอ้วนมันพีขึ้นไหมล่ะตัวนี้  มันก็ไม่เห็นมีอะไร  มีแต่แก่เฒ่าชำรุดทรุดโทรมไปทุกวัน   อย่างว่า โทสะ มานะ ทิฏฐิเกิดขึ้นมา  ถือตนถือตัว  ถือเราถือเขา    มานะทิฏฐิเกิดขึ้นมาไม่ยอม  กระด้างถือตัว  มันได้อะไรกัน  ไม่เห็นมีอะไร    ตัวมันพองขึ้นโตขึ้นไหม  ตัวนั้นมันดีวิเศษขึ้นกว่าเก่าหรือ   มันเป็นคนสดคนสวยขึ้นกว่าแต่เก่าหรือ  หรือว่าเป็นอะไรไม่เห็นสดสวยอะไร  มีแต่หน้าบึ้งหน้าเบี้ยวหน้ายักษ์หน้ามาร  อยู่ดีๆจะไม่ดีกว่าหรือ    โมหะความลุ่มหลงก็เช่นกัน  มันจะเกิดความโลภ ความหลง  ก็โมหะมาก่อน   มีโมหะแล้วเกิด  โลภ  โกรธ  หลงขึ้นมา    ให้ พิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว  มันหมดเรื่องกัน  จะไปเกิดโมหะ  โทสะ  มานะทิฏฐิไม่มีเลย   เป็นของว่างเปล่าหมดทุกสิ่งทุกอย่าง   เราอยู่เฉยๆจะไม่ดีกว่าหรือ   ทำให้เข้าถึงใจตัวกลางตัวนั้น  จะเบิกบาน  สุขภาพก็ดี  แล้วก็ไม่มีเวรภัย  ไปไหนก็ไม่คับแคบ  ไม่รกโลกของเขา   คนโท สะ  มานะทิฏฐิจะไปไหนมันรกหมด  ไม่ยอมตนยอมตัวไปอยู่ที่ไหนมันคับบ้านคับเมืองหมด  ให้พิจารณาอย่างนี้แหละ  ครั้นถ้าพิจารณาอย่างนี้ถูกทางแล้ว  มันจะรวมเข้าเป็นใจ  เอาละ  พิจารณาเท่านั้นละ
1 มกราคม 2557     |      7483
ธรรมะจรรโลงใจ / "ความน่ากลัวของสังสารวัฏ"
บางครั้งในหมู่คนที่มีความสุขสบายในชีวิต เกิดความขี้เกียจเจริญสติ บางครั้งในหมู่คนที่ มีความสุขสบายในชีวิต พรั่งพร้อมด้วย ทรัพย์สินเงินทอง รูปร่างหน้าตา และสติปัญญา ครั้งแรกๆ ก็สนใจ ใคร่รู้ในการปฏิบัติธรรม แต่เมื่อปฏิบัติไปสักระยะหนึ่ง สมใจอยากแล้ว บางครั้งก็ละเลย เบื่อและเกียจคร้าน ในการปฏิบัติ ขอให้ท่านฉุกคิดขึ้นมาว่า โลกมีสิ่งที่ไม่น่ารัก ไม่น่าพอใจ มากมาย เรามีสิ่งที่เราเกลียด เช่น แมลงสาบ หนูสกปรก หมาขี้เรื้อน .... "ไม่มีสิ่งใดรับประกันได้เลยว่าเราไม่ต้องไปเกิดเป็นสิ่งเหล่านั้น" เว้นเรื่องชาตินี้ ชาติหน้าไปเสีย บางครั้งเราพบเห็นคนที่ประสบอุบัติเหตุ หน้าตาเละ เสียโฉม ตาบอด พิกลพิการ หรือบางคนยากจนค่นแค้น พ่อแม่หรือลูกเมียสร้างหนี้สินภาระไว้ให้มากมายมหาศาล บางคนพลั้งพลาด ถูกหลอกลวง เจ็บแค้นเจ็บปวด ทรมานแสนสาหัส ......"ไม่มีสิ่งใดรับประกันได้เลยว่า เราไม่ต้องประสบพบเจอกับเหตุการณ์เหล่านั้น"เว้นเรื่อง ไกลตัวที่ยังไม่มีไม่เกิด มาดูสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่เช่น ...บ้านอันแสนอบอุ่น ...ครอบครัวที่เรามีอยู่ ...เครื่องใช้อำนวยความสะดวกสบายและบันเทิงทั้งหลายทั้งปวง ...คอมพ์ตัวโปรดที่ใช้เล่นเน็ต หรือแม้แต่ลมหายใจแห่งชีวิตของเรา เมื่อวันใดวันหนึ่งมาถึง สิ่งเหล่านี้ก็ต้องพลัดพรากจากเราไป หรือเราเองนี่แหละที่ต้องพลัดพรากจากมันไป ......"ไม่มีสิ่งใดรับประกันได้เลยว่า ความพลัดพรากใดๆ จะไม่เกิดขึ้น"เว้นเรื่องชีวิต มนุษย์ ไปเสีย ด้วยจิตที่มีกำลังบุญอย่างใหญ่ หรือตั้งมั่นในฌานสมาบัติอันแก่กล้า มีความมั่นใจในอนาคตของตน ที่เห็นสุขคติและความสุข รออยู่เบื้องหน้า แต่ด้วยพระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้าที่รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ได้ทรงสอนไว้แล้วว่าแม้แต่เทวดา หรือ พรหม ใดๆ ก็มีความเสื่อมและต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏนี้ ไม่พ้นไปได้ นี่ไม่ใช่การคิดหรือเห็นโลกในแง่ร้าย แต่นี่คือความจริงของโลกที่เรามิอาจปฏิเสธ เราอาจจะพยายามหลีกเลี่ยง ไม่คิดถึง ไม่พูดไม่นึก พร้อมทั้งสร้างสิ่ง ที่จะสามารถรักษาสิ่งที่ดีดี เหล่านี้ไว้ให้มี นานที่สุด แต่ความเป็นจริงที่ซ่อนอยู่ ซึ่งเราพยายามจะ หลีกเลี่ยงไม่นึกถึงนั้น ก็ยังคงเป็นความจริงอย่างที่สุด ที่เรามิอาจหลีกเลี่ยง เป็นโชคอันมหาศาลอย่างที่สุดที่มี มหาบุรุษผู้เจนโลก ผู้หยั่งรู้แล้วซึ่งความเป็นไปทั้งปวง มาช่วยเหลือเรา ให้พ้นจากวงจรแห่งความไม่แน่นอน จากความมีความเป็น แล้วเราจะเสียเวลา และประมาทอยู่ทำไม??? "ในทางโลก เขาแข่งกันมี แต่ทางธรรม เรามุ่งที่ความไม่มี"
1 มกราคม 2557     |      7448
ธรรมะจรรโลงใจ /" ลด ละ เลิกบริโภค เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า และ เพื่อเมตตาธรรมบารมี "
ลด ละ เลิกบริโภคเนื้อสัตว์ เพื่อสุขภาพ ที่ดีกว่า และ เพื่อเมตตาธรรมบารมี สัตว์เล็กน้อย ใหญ่ ต่างรักตัวกลัวตาย อันตรายอาหารเนื้อสัตว์ ก่อให้เกิดโรคมะเร็งร้ายหลาย ๆ ชนิด ยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญ และ ทีมคณะแพทย์ชื่อดังระดับโลกที่ ทำการศึกษาวิจัยจากผู้ ป่วยกว่า 500000 คนท่วโลก ใช้เวลากว่า 7 ปี โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ แพทย์ กว่า 12000 คน น่ากลัวคาดว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่ ๆ เพิ่มอีกกว่า เนื้อสัตว์ เป็นบ่อเกิด ต้นตอของนานาโรคร้ายหลากหลายชนิด เช่นโรคมะเร็ง เต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และจากการวิจัยล่าสุดโดยมหาวิทยาลัยแพทย์ ฮาวาด์ แห่งสหรัฐ และ มหาลัยแพทย์ ลีด แห่ง ประเทศอังกฤษ เนื้อสัตว์ ยังเป็นต้นเหตุหลัก ๆ ของ มะเร็งต่อมลูกหมาก และ มะเร็งรังไข่ ข้อมูลโดยมหาลัยแพทย์ชื่อดังระดับโลก มหาลัยเทกซัส สหรัฐ มหาลัยชิคาโก สหรัฐ มหาลัยฮาวาย สหรัฐ มหาลัยฮาววาด สหรัฐ มหาลัยแพทย์ แห่งออสเตอเรีย มหาลัยคิวเบค แห่งแคนาดา มหาลัยออกฟอร์ด แห่งอังกฤษ มหาลัยลีด แห่งอังกฤษ มหาลัยแฟงค์เฟิต แห่งเยอรมัน โดยการสนับสนุนสถาบันวิจัย โรคมะเร็ง แห่งสหรัฐ National Cancer Research Institue - USA สถาบันโรคมะเร็ง แห่ง WHO The World Cancer Research Fund ( WCRF ) และวารสารสุขภาพชื่อดังระดับโลกกว่า 100 ฉบับรวมถึง เอกสารทางการแพทย์ จากมหาวิทยาลัยแพทย์ชื่อดังก้องโลก ไม่กินเนื้อสัตว์ แล้วเราจะตายหรือไม่ (พุทธศาสตร์+วิทยาศาสตร์ มุมมองความเห็นจากพระสงฆ์ไทย และจากพระ อาจารย์ บัญฑิต พระฝรั่งชาวอังกฤษ อดีตผู้อุปถาฐพระอาจารย์ สุเมโท พระฝรั่งตะวันตกพระลูกศิษย์ รุ่นบุกเบิก พระอาจารย์ ชา แห่งวัดป่านานาชาติ ขณะนี้จำพรรษาอยู่ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้ให้ข้อมูลว่าขณะนี้ประเทศอังกฤษ ประชากรกว่า40% หรือเกือบ 30 ล้านคน ได้ละเลิกการบริโภคเนื้อสัตว์ มาเป็นอาหารมังสะวิรัติ ปลอดเนื้อสัตว์ เพื่อสุขภาพ และ หวั่นเกรงมหันตภัยโรคร้าย จากเนื้อสัตว์ ที่เคยคุกคามฆ่าชีวิตชาวอังก ฤษเป็นจำนวนมากจากโรคมะเ ร็ง ไขมันอุดตัน โรคหัวใจ ปีละจำนวนมาก ๆ ต่อเนื่องด้วยโรควัวบ้าระบาด เมื่อ 6 ปีก่อน และอีก 3 ปีถัดมาโรคไข้หวัดนกระบาด ทำให้ชาวอังกฤษหวาดผวาภัยจากเนื ้อสัตว์
1 มกราคม 2557     |      6687
ธรรมะจรรโลงใจ / "การขอโทษ และ ให้อภัย"
การรู้จักขอโทษนั้นเป็นมารยาทอันดีงามสำหรับตัวผู้ทำเอง และเป็นการช่วยระงับหรือช่วยแก้โทสะของผู้ถูกกระทบกระทั่งให้เรียบร้อยด้วยดีในทางหนึ่ง หรือจะกล่าวว่าการขอโทษคือการพยายามป้องกันมิให้มีการผูกเวรกันก็ไม่ผิด เพราะเมื่อผู้หนึ่งทำผิด อีกผู้หนึ่งเกิดโทสะเพราะถือความผิดนั้นเป็นความล่วงเกินกระทบกระทั่งถึงตน แม้ไม่อาจแก้โทสะนั้นได้ ความผูกโกรธหรือความผูกเวรก็ย่อมมีขึ้น ถ้าแก้โทสะนั้นได้ก็เท่ากับแก้ความผูกโกรธหรือผูกเวรได้ เป็นการสร้างอภัยทานขึ้นแทน อภัยทานก็คือการยกโทษให้ คือการไม่ถือความผิดหรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษ อันอภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้ ยิ่งกว่าแก่ผู้รับ เช่นเดียวกับทานทั้งหลายเหมือนกัน คืออภัยทานหรือการให้อภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใสพ้นจากการกลุ้มรุมบดบังของโทสะ... โกรธแล้วหายโกรธเอง กับโกรธแล้วหายโกรธเพราะให้อภัย ไม่เหมือนกัน โกรธแล้วหายโกรธเองเป็นเรื่องธรรมดา ทุกสิ่งเมื่อเกิดแล้วต้องดับ ไม่เป็นการบริหารจิตแต่อย่างใด แต่โกรธแล้วหายโกรธเพราะคิดให้อภัย เป็นการบริหารจิตโดยตรง จะเป็นการยกระดับของจิตให้สูงขึ้น ดีขึ้น มีค่าขึ้น ผู้ดูแลเห็นความสำคัญของจิต จึงควรมีสติทำความเพียรอบรมจิตให้คุ้นเคยต่อการให้อภัยไว้เสมอ เมื่อเกิดโทสะขึ้นในผู้ใดเพราะการปฏิบัติล้วงล้ำก้ำเกินเพียงใดก็ตาม พยายามมีสติพิจารณาหาทางให้อภัยทานเกิดขึ้นในใจให้ได้ ก่อนที่ความโกรธจะดับไปเสียเองก่อน ทำได้เช่นนี้จะเป็นคุณแก่ตนเองมากมายนัก ไม่เพียงแต่จะทำให้มีโทสะลดน้อยลงเท่านั้น และเมื่อปล่อยให้ความโกรธดับไปเอง ก็มักหาดับไปหมดสิ้นไม่ เถ้าถ่านคือความผูกโกรธมักจะยังเหลืออยู่ และอาจกระพือความโกรธขึ้นอีกในจิตใจได้ในโอกาสต่อไป ผู้อบรมจิตให้คุ้นเคยอยู่เสมอกับการให้อภัย แม้จะไม่ได้รับการขอขมา ก็ย่อมอภัยให้ได้ ในทางตรงกันข้าม ผู้ไม่เคยอบรมจิตใจให้คุ้นเคยกับการให้อภัยเลย โกรธแล้วก็ให้หายเอง แม้ได้รับการขอขมาโทษ ก็อาจจะไม่อภัยให้ได้ เป็นเรื่องของการไม่ฝึกใจให้เคยชิน อันใจนั้นฝึกได้ ไม่ใช่ฝึกไม่ได้ ฝึกอย่างไดก็จะเป็นอย่างนั้น ฝึกให้ดีก็จะดี ฝึกให้ร้ายก็จะร้าย... ..พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร..
1 มกราคม 2557     |      22292
ธรรมะจรรโลงใจ /"อาหารใจ พระราชชัยกวี"
ความอิ่มเอิบด้วยอารมณ์ ทางรู้ เสียง กลิ่น รส สัมผัสนั้น เป็นอาหารฝ่ายโลก ส่วนความอิ่มเอิบด้วยปีติปราโมทย์ อันเกิดจาก ความที่ใจสงบ จากอารมณ์รบกวนนั้น เป็นอาหารฝ่ายธรรม อุดมคติของชีวิต คือ ความถึงที่สุดแห่งอารยธรรม ทั้งฝ่ายโลกและฝ่ายธรรม ถ้ามีเพียงอย่างเดียวชีวิตนั้น ก็มีความเป็นมนุษย์เพียงครึ่งเดียว หรือซีกเดียว การหาความสำราญให้แก่กายของเรา ได้ไม่สู้ยากนัก แต่หาความสำราญให้แก่ใจนั้น...ยากเหลือเกิน ความสำราญฝ่ายกายนั้นเห็นได้ง่าย รู้จักง่าย ความสำราญฝ่ายใจนั้นตรงกันข้ามทุกอย่าง แม้อย่างนั้นก็ไม่มีใครเชื่อเช่นนี้กี่คนนักเพราะเขาเชื่อว่า เมื่อกายสำราญแล้ว...ใจก็สำราญเอง ไม่มีความสำราญที่ไหนอีก พวกที่นิยมความสำราญกาย ในทางโลกกล่าวว่า “ใจอยู่ในกาย” แต่พวกที่นิยมความสำราญในทางธรรมกล่าวว่า “กายอยู่ในใจ” พวกแรกรู้จักโลกเพียงซีกเดียว พวกหลัง อยู่ในโลกนานพอจนรู้โลกทั้งสองซีก ขณะเมื่อพวกที่สำราญกาย กำลังปรนเปรอให้เหยื่อ แก่ความหิวของเขา อย่างเต็มที่อยู่นั้น พวกที่ชอบสำราญใจ กำลังเอาชนะความหิวของเขาได้ ด้วยการบังคับอินทรีย์ จนมันดับสนิท สงบเย็น อยู่ภายใต้อำนาจของเขาเอง พวกแรก เข้าใจเอาคุณภาพของการให้ “สิ่งสนองความอยาก” แก่ความหิวของตน ว่าเป็นความสำราญ พวกหลัง เอาคุณภาพของการที่ยิ่งไม่ต้องให้ “สิ่งสนองความอยาก” เท่าใดยิ่งดี ว่าเป็นความสำราญ พวกหนึ่งยิ่งแพ้ตัณหามากเท่าใดยิ่งดี อีกพวกหนึ่ง ยิ่งชนะตัณหามากเท่าใดยิ่งดี พวกที่ชอบสำราญกาย ย่อมพ่ายแพ้ตัณหาอยู่เองแล้ว โดยไม่รู้สึกตัว เขาทำเอง และชักชวนลูกหลาน ให้หาความสำราญกายอย่างเดียว เพราะไม่รู้จักสิ่งอื่นนอกจากนั้น พวกที่ตั้งหน้าแต่จะหาอะไรมาให้ได้ ตามที่ตนอยากนั้น ครั้นได้เครื่องสำราญกายมา ใจก็ยังไม่สงบสุข เพราะมันยังอยากได้ ของแปลก ของใหม่อยู่เสมอไป คือได้เพียงความสำราญกายชั่วแล่น เหมือนกินข้าวมื้อหนึ่ง ก็สงบความหิวไปได้ชั่วมื้อหนึ่ง พวกที่หลงความสำราญกาย เมื่อมีหม่นหมองใจเกิดขึ้น ก็มีแต่ซัดเอาว่า ตนเป็นคนมีกรรม หรือโชคร้าย ไม่เหมือนคนอื่นเขา ก็น้อยใจโชคตัวเองอย่างหาที่เปรียบมิได้ เมื่อยังไม่แสวงหาโชคโดยทางใด ก็ไม่ได้เสียแล้ว ก็เหมาเห็นไปว่า ในโลกนี้ไม่มีความยุติธรรม มีความดุร้าย คนที่ปล่อยตัวให้ใจหม่นหมองไป เพราะมัวเมาวัตถุ ในที่สุดก็ต้องมอบตัวให้แก่ธรรมชาติฝ่ายต่ำ ประกอบกรรมชนิดที่ โลกไม่พึงปรารถนา ต่อสู้สิ่งที่ตนเรียกว่าโชคชะตาไปเรื่อย ๆ อย่างดีที่สุดที่คนพวกนี้จะทำได้ ก็เพียงแต่ เป็นผู้ทนระทมทุกข์อยู่ ด้วยการแช่งด่าโชคชะตาของตนเองเท่านั้น ในสโมสรหรือสมาคม ของพวกที่แสวงกันแต่ความชำราญทางกาย ซึ่งกำลังร่าเริงกันอยู่นั้น พวกเทพยดาย่อมรู้ดีว่า เป็นการเล่นละครย้อมสีหน้าก็มี หลงละเมอทำ ๆ ไป ทั้งที่ตัวเองหลอกตัวเองให้เห็นว่าเก๋ ว่าสุขก็มาก บางคน ต้องร้องไห้ และหัวเราะ สลับกันทุกวัน ๆ วันละหลาย ๆ ครั้ง จิตใจฟูขึ้นและเหี่ยวห่อลง ขึ้น ๆ ลง ๆ ตามที่กระเป๋าพองขึ้นหรือยุบลง หรือตามแต่จะได้เหยื่อที่ถูกใจ และไม่ถูกใจ ใจของพวกนี้ ยังเหลืออยู่นิดเดียวเสมอ เท่าที่เขารู้สึก จึงทำให้เขาเข้าใจว่า “ใจอยู่ในกาย” คือแล้วแต่กายหรือสำคัญอยู่ที่กาย เพราะต้อง ต่อเมื่อเขาได้รับความสำราญกายเต็มที่แล้วต่างหาก ใจของเขาจึงจะเป็นอย่างที่เขาถือว่า “เป็นสุข” แม้บางคราว คนพวกนี้จะเอ่ยถึงความสำราญใจกันบ้าน ก็เพียงการหลงตู่เอาความสำราญฝ่ายกายขึ้นมาทดแทนเท่านั้น คำว่า “สำราญใจ” ของเขา เป็นคนละอย่างจากความสำราญในฝ่ายใจอันแท้จริง จะสำราญได้อย่างไร ในเมื่อถูกทำให้พองขึ้น ยุบลง พองขึ้น ยุบลง อยู่เสมอ ความพองขึ้นก็ตาม ยุบลงก็ตาม ย่อมเป็นสิ่งทรมานใจให้เหน็ดเหนื่อยเท่ากัน เพียงแต่เป็นรูปร่างที่ต่างกันเท่านั้น สำหรับผู้นิยมทางฝ่ายสำราญกายนั้น ลาภ ยศ สรรเสริญ และหาความเพลิดเพลิน ทำใจให้พองเบ่งเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกสบประมาท และหาความเพลินมิได้ ทำให้ใจยุบเหี่ยว แต่ทั้งสองอย่างนี้ทำความหวั่นไหวโยกโคลง หนักอกหนักใจให้แก่จิตใจเท่ากัน เมื่อเขาได้สมอยาก เขาก็ได้ความหวั่นไหว เมื่อไม่ได้ ก็ได้ความหวั่นไหว เมื่อมืดมนหนักเข้าก็แน่ใจลงไม่เสียว่า ความอร่อย หรือขณะที่อร่อยนั้นแหละ เป็น “นิพพาน” ของชีวิต แต่ที่จริง เขาผู้นั้นยังไม่ได้ถอยห่างออกมาจากกองทุกข์แม้แต่นิดเดียว มันเป็นเพียงความสำคัญผิดที่จะมัดตรึงตัวเอง ให้ติดจมอยู่กับบ่อโคลนนั่นตลอดเวลาเท่านั้น ผู้ที่มีดวงตาแห่งปัญญา จงพิจารณาสืบไปเถิดว่า ความสำราญทางฝ่ายโลก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าฝ่ายกาย หรือวัตถุนั้น คือ อะไร? เมื่อได้หมกมุ่นมัวแต่จะแสวงอาหารให้แก่กายท่าเดียวแล้วจะเป็นอย่างๆ? ถ้ารู้จักความสุขเฉพาะในด้านนี้ด้านเดียว มันเป็นการรู้จักโลกเพียงซีกเดียวอย่างไร คนที่รู้จักโลกดีแล้วนั้น ย่อมบูชาความสำราญทางธรรมหรือการฝ่ายใจอันแท้จริงเป็นสำคัญ และถือเอาส่วนกาย หรือวัตถุ เป็นเพียงเครื่องอำนวยความสะดวก ในฐานะเป็นคนรับใช้ สำหรับคอยรับใช้ในการแสวงหาความสำราญในฝ่ายจิตเท่านั้น ผู้ที่รู้จักโลกดีทั้งสองด้าน ย่อมมีอุดมคติว่า “กายอยู่ในใจ” คือแล้วแต่ใจ กายเป็นของนิดเดียว และยังจำต้องอาศัยใจซึ่งทรงอำนาจสิทธ์ขาด ทั้งมีคุณภาพที่สูงสุดอยู่ทุก ๆ ประการ และทุก ๆ เวลา แสวงหาอาหารให้ดวงใจดีกว่า ความเจริญงอกงามทางฝ่ายใจนั้น ยังไปได้ไกล อีกมากมายนัก กว่าจะถึงพระนิพพานเมื่อไรนั่นแหละจึงจะหมดขีดขึ้นของทางไป และเมื่อลุถึงแล้ว ก็ยังเป็นอุดมสันติสุข อยู่ตลอดอนันตกาลอีกด้วย ไม่มีใครเคยทำให้เกิดความอิ่มความพอ ในเรื่องทางโลกีย์วิสัยได้เลย แม่ในอดีต ในปัจจุบัน และอนาคต เพราะว่าทางฝ่ายนี้ต้องการ “ความไม่รู้จักพอ” นั้นเอง เป็นเชื้อเพลงอันสำคัญแห่งความสำราญ ถ้าพอเสียเมื่อใดก็หมดความสำราญ ใครจะขวนขวายอย่างไร ก็ไม่อาจได้ผลสูงไปกว่า “การสยบซบซึมอยู่ท่ามกลางกองเพลิงแห่งการถูกปลุกเร้าของตัณหา” ซึ่งเมื่อใดม่อยหรี่ลง ก็จำต้องหาเชื้อเพลิง มาเพิ่มให้ใหม่อีก และไม่มีเวลาที่จะรู้จักอิ่มรู้จักพอ การแสวงหาอาหารทางฝ่ายใจ เพื่อดวงใจนั้นเป็นสิ่งที่มีค่า น่าทำกว่า เป็นศิลปะกว่า เป็นอุดมคติที่สูงกว่า ทำยากหรือน่าสรรเสริญกว่า หอมหวนกว่า เยือกเย็นกว่า ฯลฯ กว่าการแสวงหาทางกาย เพื่อกายโดยทุก ๆ ปริยาย บันทึกแห่งกำลังใจ นักวัตถุนิยม เห็นกายเป็นใหญ่ ย่อมเสียสละได้ทุกอย่าง เพื่อให้กายหรือโลกของตนอิ่มหมีพีมัน ส่วนนักจิตนิยม เห็นแก่จิตเป็นใหญ่ ย่อมเสียสละได้ทุกอย่างเหมือนกัน เพื่อแลกเอาความสงบเยือกเย็นของจิต ผู้แสวงหาความสำราญทางกายนั้น การแสวงของเขา จำเป็นอยู่เองที่จะต้องกระทบกับผู้อื่น เพราะความสำราญกายนี้ เป็นของต้องเนื่องด้วยการเสียสละของผู้อื่น หรือการสนับสนุนของสิ่งอื่น ที่แวดล้อมอยู่โดยรอบ เมื่อมีความเห็นแก่ตัวอยู่ ก็ต้องมีการกระทบกันเป็นธรรมดา การสงคราม ก็มีการปะทะของคนหลายคน ที่ต่างฝ่ายต่างมีความเห็นแก่ตัว เพื่อความสำราญทางโลกียวิสัยนั้นเอง สงครามโลกนั้นก็เป็นเพียงความเห็นแก่ตัว ของคนหลายชาติรวมกันเท่านั้น ไม่ต่างอะไรกันเลย การแสวงหาความสุขทางฝ่ายจิตนั้น จะไม่กระทบกระทั่งใครเลยแม้แต่น้อย เพราะเหตุว่า มีอะไร ๆให้แสวงหาอยู่ในตนผู้เดียวเสร็จ ไม่ต้องเนื่องด้วยผู้อื่น และมีแต่จะเสียสละให้ผู้อื่น การกระทบกระทั่งระหว่างบุคคล หรือแม้การกระทบกระทั่งระหว่างส่วนรวม ซึ่งเรียกว่าสงครามก็ตาม ไม่สามารถเกิดจากผู้แสวงหาความสุขทางจิต เช่นเดียวกับที่ไฟไม่สามารถเกิดจากความเย็น การแสวงหาอาหารทางฝ่ายกาย ง่ายหรือตื้นเป็นต้นเหตุแห่งสงครามการแสวงหาอาหารทางฝ่ายใจ ยากหรือลึก และเป็นต้นเหตุแห่งสันติภาพ แต่กระนั้น มนุษย์ในโลกนี้ ส่วนมากก็ปล่อยตนไปตามสัญชาตญาณ หรือธรรมดาฝ่ายต่ำมากเกินไปจนเห็นมีแต่ผู้ถือลัทธิวัตถุนิยมกันเกลื่อนโลก ยิ่งนานวันเข้าเพียงใด วิธีแสงหาอาหารทางใจก็ยิ่งลบเลือนหายไปจากความทรงจำ และการเอาใจใส่ของมนุษย์มากขึ้นเพียงนั้น ในที่สุด ก็ไม่มีอะไรเหลืออยู่ในมันสมองของมนุษย์ นอกจากความเป็นทาสกามหรือความเห็นแก่ตัวนั่นแหละคือสมัยที่ไฟประลัยกัลป์จะล้างโลก ผู้แสวงหาความสุขทางใจในโลกนี้มีอยู่เพียงไม่กี่คนก็ตาม ก็เป็นเหมือนลูกตุ้มที่ค่อยถ่วงโลก มิให้หมุนไปถึงยุคมิคสัญญี พินาศด้วย ไฟประลัยกัลป์เร็วเกินไปเพียงนั้น พวกแสวงหาสุขทางฝ่ายจิต ควรจะพูดกับผู้อื่นได้โดยชอบธรรมว่า “เรายอมรับว่า เป็นลูกตุ้มจริง แต่ว่าเป็นลูกตุ้มที่ถ่วง มิให้พวกท่าน วิ่งเข้าไปสู่กองไฟเร็วเกินไป ถ้าพวกข้าพเจ้า เป็นอย่างท่านไปเสียด้วย เชื่อแน่ว่าโลก คงจะแตกดับ เร็วกว่าที่พวกข้าพเจ้าจะแยกเป็นอยู่เช่นนี้” พระพุทธองค์ ทรงเป็นนายกแห่งสมาคมผู้แสวงสุขทางใจเพียงพระองค์เดียวและสมัยเดียว ก็ชื่อว่าเป็นโลกนาถ ที่พึ่งของโลก หลายสมัย เพราะว่าเป็นอิทธิพลแห่งธรรมะ ที่พระองค์ทรงเปิดเผยไว้ในโลก ได้ถ่วงโลกไว้มิให้หมุนไปหาความแตกดับ จนแม้ที่สุด แต่คนที่ไม่เคยได้ยินชื่อของพระองค์ ก็ยังพลอยมีส่วนได้รับผลนั้นด้วย เมื่อโลกละทิ้งการแสวงหาอาหารทางใจ มารับเอาแต่อาหารทางกายมากขึ้นเช่นทุกวันนี้ พระพุทธองค์ก็ทรงช่วยอะไรไม่ได้ เพราะโลกเป็นฝ่ายที่ทิ้งหลักการของพระองค์เสียเอง ตราบใดที่พุทธบริษัททุกคน ยังภักดีต่อการแสวงหาความสุขทางใจกันอยู่ นับว่า ตระกูลของพระองค์ยังไม่ขาดทายาทเสียทีเดียว และจะยังเป็นเหมือนลูกตุ้มน้อย ๆที่เหลืออยู่เพื่อความปลอดภัยของตัวมันเอง และเพื่อโลกด้วย แม้ขณะที่พวกอื่นเขาอาจกำลังจงเกลียดจงชังพวกนี้อยู่ พุทธบริษัทต้องถือว่ากายอยู่ในใจ อาหารใจสำคัญยิ่งกว่า อาหารทางกาย และยังคงภักดีต่อลัทธิแสวงสุขทางใจอยู่เสมอ การเป็นพุทธบริษัทต่อปากหรือพิธีนั้น ไม่ทำให้เป็นพุทธบริษัทได้เลย พุทธบริษัทที่แท้ จะกลายเป็นนักวัตถุนิยม หรือลัทธิหลงชาติ เพราะเห็นแก้วัตถุไปไม่ได้ พุทธบริษัทที่รี ๆ ขวาง ๆ นั้น ยิ่งร้ายไปกว่า ผู้ที่ไม่ได้เป็นพุทธบริษัท เมื่อเกิดมิคสัญญี พุทธบริษัทที่แท้จริงเท่านั้น ที่จะเป็นผู้เหลืออยู่ แม้นี้ก็เป็นอานิสงส์ แห่งการนิยมอาหารทางใจ โลกกับธรรม จะเป็นอันเดียวกันไม่ได้ โดยที่โลกเป็นฝ่ายวัตถุนิยม ธรรมเป็นฝ่ายนิยม “ความเป็นอิสระเหนือวัตถุ” และความเป็น อิสระเหนือวัตถุนี้เอง คือ..อาหารของดวงใจ การต้องการอาหารทางฝ่ายโลก ใจต้องการอาหารฝ่ายธรรม ผู้ที่เห็นว่าใจเป็นใหญ่ หรือเป็นสิ่งที่อิงอาศัยของกายย่อมแสวงหาอาหารให้กาย เพียงสักว่าให้มันเป็นอยู่ได้เท่านั้น เวลานอกนั้นใช้เพื่อการแสวงหาอาหารให้แก้ใจอย่างเดียว อันความเป็นอิสระเหนือวัตถุนั้น เห็นได้ยาก ตรงที่ตามธรรมดา ก็ไม่มีใครนึกว่า ตนได้ตกเป็นทาสของวัตถุแต่อย่างใด ใคร ๆ ก็กำลังหาวัตถุมากินมาใช้ มาประดับเกียรติยศของตน และบำเรอคนที่ตนรัก และถือว่าทำอย่างนั้นตนได้เป็นนาย มีอิสระเหนือวัตถุแล้ว ส่วนความหม่นหมองใจที่เกิดขึ้น มากมายหลายประการนั้น หามีใครคิดไม่ว่า นั้นเป็นอิทธิพลของวัตถุ ที่มันกำลังครอบงำย่ำยีตนเล่นตามความพอใจของมัน ดวงใจได้เสียความสงบเย็น ที่ควรจะได้ไปจนหมด ก็เพราะความโง่เง่าของของเจ้าของเอง ที่ไปหลงบูชาวัตถุจนทำให้กลายเป็นของมีพิษขึ้นมา ดวงใจที่สงบเย็นแท้จริง ก็ไม่อาจฟักตัว เจริญงอกงามขึ้นมา เพราะขาดการบำรุงด้วยอาหาร โดยที่เจ้าของไม่เคยคิดว่า มันจะต้องการอาหารเป็นพิเศษยิ่งกว่ากาย เมื่อใดขาดอาหารใจ แม้แต่ที่เป็นเบื้องต้นเสียเช่นนี้แล้ว ก็ย่อมไม่งอกงามพอที่จะแจ่มใส ส่องแสงให้ผู้นั้นมองเห็น และถือเอาอุดมคติ แห่งความสุขทางใจ ได้ชีวิตเป็นของมือมนต้องร้องไห้ ทั้งที่ไม่รู้ว่ามีอะไรมาทำเอาเด็ก ๆ ที่เกิดมา ไม่อาจสำนึกได้เองในปริยายเช่นว่านี้ การศึกษาธรรมะเท่านั้นจะช่วยได้ในเบื้องต้น การศึกษาจนรู้ธรรมะทางฝ่ายหลักวิชา เป็นอาหารของดวงใจในขั้นแรก ขั้นกลางคือการย่อยวิชาหลักนั้น ๆ ออกด้วยมันสมองของตนเอง ครั้นได้ความโปร่งใจความเยือกเย็นอะไรมา นั่นเป็นอาหารขั้นปลาย เมื่อได้ส่งเสริมให้เจริญ จนสามารถทำพระนิพพานให้ปรากฏ จึงจะนับว่าถึงที่สุด ปริยัติธรรมในส่วนหลักวิชานั้น ช่วยสะกิดใจให้รู้สึกในเบื้องต้นว่า เรามีกายสองซีก คือ ซีกรูปกายและธรรมกาย รูปกาย..เจริญได้ด้วยการมีบิดามารดา เป็นแดนเกิดเติบโตขึ้นได้ด้วยปัจจัย เช่น ข้าวปลาอาหาร ส่วนธรรมกายนั้น มีกายวาจาใจ ที่สุจริตผ่องใส เป็นที่ตั้ง ที่ปรากฏ มีผลของความสุจริต อิสระ เป็นอาหารที่จะบำรุงให้เติบโตสืบไป ปริยัติธรรม ยังทำให้เรารู้สึก สืบไปเป็นลำดับว่า ถ้าบำรุงกันแต่รูปกายอย่างเดียว มันก็อ้วนพีแต่ซีกเดียว อีกซีกหนึ่ง ซึ่งเป็นซีกใจจะยังคงเหี่ยวแห้งอยู่ ผลที่ได้คือ ร่างกายที่สมบูรณ์ แต่ใจเต็มไปด้วยความหม่นหมอง และผ่ายผอม คนเราเมื่อยังเด็ก ความหม่นหมองมิปรากฏนักเพราะผู้เลี้ยงดูให้ และกายก็ยังมิได้ขยายตัวเต็มที่ จนสามารถรับความรู้สึกสุดขีด ได้ทุกอินทรีย์ (คือเต็มที่ทั้ง ทางตา ทางหู ฯลฯ ทางใจ) ครั้นเมื่อกายเจริญเต็มที่เข้า ความหม่นหมองก็เกิดมากขึ้น เพราะขาดดุลยภาพ กล่าวคือ ทางรูปกายโตใหญ่ขึ้น แต่ทางธรรม ไม่เจริญให้เสมอคู่เคียงกัน โดยสรุปปริยัติธรรมช่วยให้เราทราบว่า เราจะต้องประพฤติธรรม เพื่อฝ่ายธรรมกายของเรา มิฉะนั้น เราจะตายด้านไปซีกหนึ่ง ปฏิบัติ คือ ตัว การปฏิบัติ นั้นได้แก่การบังคับอินทรีย์เพื่อเอาชนะอินทรีย์ ชนะได้เท่าใด ความเยือกเย็นพร้อมทั้งความรู้แจ้ง ก็เกิดขึ้นเท่านั้น ความเยือกเย็นเกิดจากความอินทรีย์สงบลง ความเห็นแจ้งความจริง ในตัวเองปรากฏ เพราะไม่ถูกม่านแห่งความกลัดกลุ้ม ทางอินทรย์ปิดบัง เช่นแต่ก่อน วิธีเอาชนะอินทรีย์ ตามหลักแห่งพุทธศาสนาได้แก่ การบังคับตัวเองให้งดเว้นจากสิ่งชั่ว ให้ทำแต่สิ่งที่ดีเข้าแทน และต่อจากนั้น พยายามหาวิธีชำระจิต ให้เป็นอิสระจากต้นเหตุแห่งความหม่นหมอง ทั้งที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ๆ และที่ไม่ง่าย คือที่เคยชินอยู่ในสันดาน อันเป็นเหมือนเชื้อที่ก่อเกิดของกิเลสได้ทุกเวลา กล่าวอีกอย่างหนึ่ง วิธีเอาชนะอินทรีย์ ได้แก่การบังคับกายและวาจา ให้อยู่ในอำนาจ เรียกว่า “ศีล” บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจ เรียกว่า “สมาธิ” และใช้จิตที่อยู่ในอำนาจแล้ว ให้เข้าถึงความจริงที่ยากที่ลึก จนปรากฏแจ่มแจ้งเรียกว่า “ปัญญา” กล่าวคือ ปัญญาชนิดที่ สามารถควบคุมอินทรีย์ ให้เป็นไปแต่ในทางถูกอย่างเดียว การบังคับหรือควบคุมอินทรีย์ ทำให้ดวงใจได้รับความสะบักสะบอมน้อยลง วัตถุหรืออารมณ์ทั้งหลาย มีพิษสงน้อยเข้าหรือหมดไป เพราะค่าที่เราสามารถบังคับตัวเอง ไว้ในภาวะที่จะไม่หลงใหลไปตาม ทั้งในทางชอบและทางชัง เมื่อเราได้รับความพักผ่อนผาสุก เนื่องจาก การบังคับอินทรีย์ของเราเช่นนี้แล้ว เชื่อว่าเราได้รับอาหารของดวงใจ ในส่วนการปฏิบัติ อันเป็นอุปกรณ์ให้ได้รับอาหารชั้นสูงสืบไป ปฏิเวธธรรม หรือธรรมในส่วนการรู้แจ้งแทงตลอด ในสิ่งที่เคยหลงใหล ไม่รู้เท่าทันมาก่อน เป็นความรู้ชนิดที่จะตัดรากเหง้า ความหม่นหมองของดวงใจ เสียโดยประการทั้งปวง เช่น ความสงสัย ความเข้าใจผิด แล้วทำความโปร่งใจ เยือกเย็นใจ ให้เกิดขึ้น ในระดับสูงสุด ปริยัติธรรม..เป็นเพียงการรู้อย่างคาดคะเนด้วยเหตุผลล่วงหน้าไปก่อน ส่วนปฏิเวธธรรม..เป็นผลที่ปรากฏแก่ใจ สมจริง ตามที่เรียนรู้ทางหลักวิชา ส่วนการปฏิบัติ..เป็นการแทงตลอดม่านอวิชชา คือ ความโง่หลง ซึ่งข้อนี้เป็นของเฉพาะตัวอย่างยิ่ง เมื่อใจได้อาหารเป็นลำดับมา จนลุถึงพระนิพพาน คือการดับกิเลสสิ้นเชิงแล้ว ต่อจากนั้นก็เป็นใจที่มีรสของพระนิพพานเป็นอาหาร เมื่อเราอาบน้ำ เราได้รับความเย็นของน้ำ หรือรู้สึกเย็นเพราะน้ำ เมื่อใจจุดลุถึงพระนิพพาน มันย่อมเยือกเย็น เพราะความเย็นของ พระนิพพานนั่นเอง ความเยือกเย็นอันนี้ เป็นยอดอาหารชั้นพิเศษของดวงใจ อาหารของดวงใจมีหลายชั้น มีรสชาติต่าง ๆ กัน เพราะฉะนั้นในยุคหนึ่ง ๆ ย่อมจะมีผู้แสวงและกำลังเสพอยู่ในขึ้นต่าง ๆ เป็นธรรมดา ดังเราจะเห็นได้แม้ในโลกนี้ว่า บางคนหาได้ตกโลกเต็มที่ หรือจมมิดเหมือนบางคนไม่ ถ้าจะสมมติภาพขึ้นริมฝั่งทะเล จะเห็นว่า...บางพวกตกน้ำจมมิดอยู่ บางพวกชูศีรษะร่อนขึ้นเหนือน้ำได้ มองดูรอบ ๆ สังเกตหาฝั่งบกอยู่ บางพวกมองเห็นฝั่งแล้ว บางพวกกำลังว่ายน้ำมุ่งหน้าเข้าหาฝั่ง บางพวกใกล้ฝั่งเข้ามามากแล้ว บางพวกถึงที่ตื้นยืนถึง เดินตะคุ่ม ๆ เข้ามาแล้ว บางพวกเดินท่องน้ำเพียงแต่เข่าเข้ามาแล้ว บางพวกนั่งพักอย่างสบาย หรือเที่ยวไปอย่างอิสระบนบก เราเองจะอยู่ในจำพวกไหน ? ย่อมไม่มีใครรู้ได้เท่าตัวเราเอง ตลอดเวลา ที่พวกมนุษย์ยังคงได้รับรสจากพุทธวจนะอยู่เพียงใด คงจะมีสักพวกหนึ่ง โดยเฉพาะ ก็คือพวกที่มีอาหารกายสมบูรณ์ จนอึดอัด เพราะความซ้ำซาก และหมดทางไปในเบื้องสูงเข้าแล้ว เขาจักเกิดมีความสนใจในคุณภาพอันสูงสุดของโลกุตตราหาร หยิบเอาลัทธิ “มโนนิยม” ขึ้นมาพิจารณาดูบ้างเป็นแน่เพราะยังมีทางไปได้สูงอีกมากนัก
1 มกราคม 2557     |      10662
ธรรมะจรรโลงใจ / "ธรรมโนโลยี โดยพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี"
ทางด้านการภาวนา การภาวนานี้แปลว่าเจริญ คือใช้สติปัญญาให้เกิดขึ้น อันดับแรก ทำจิตให้เป็นสมาธิ ในเมื่อจิตเราพอใจในการให้ทาน พอใจในการรักษาศีล การพอใจและการนึกถึงอยู่เขาเรียกว่าสมาธิ เมื่อ สมาธิเกิดขึ้นปัญญาก็เกิด นี่ตัวภาวนานะ ตัวปัญญาก็เกิดว่าเรารักษาศีลเพราะอะไร ก็เพราะว่าเราเกิดมาแล้วไม่ได้อยู่ตลอดกาลตลอดสมัย ร่างกายของคนทุกคนและสัตว์ก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีเกิดขึ้นในเบื้องต้น และก็มีความแปรปวนในท่ามกลางมีการแตกสลายคือในที่สุด ในที่ความตายก็เข้ามาถึงเรา อันนี้เป็นมรณานุสสติกรรมฐาน ทำทีเดียวได้หลายอย่าง ในเมื่อเราคิดอย่างนี้แล้วว่า ถ้าเราตายไปชาตินี้เราเป็นคนให้ทาน ทานจะเป็นปัจจัยให้เราได้มีความสุขในด้านทรัพย์สิน เราเป็นคนมีศีล ศีลจะทำให้เรามีความสุขในด้านร่างกายและความเป็นอยู่ตามที่กล่าวมาแล้ว การเจริญภาวนาเป็นเหตุทำให้คนมีปัญญา ถ้าปัญญาเราน้อยก็สามารถเกิดเป็นเทวดานางฟ้าก็ได้ เป็นพรหมก็ได้ตามความพอใจ ถ้ามีปัญญามีมากถึงที่สุดก็ไปนิพพานได้ ก็รวมความว่าทั้งสามอย่างนี้ให้มีไว้ในใจไว้เสมอ ทีนี้มาว่าถึงภาวนา จะใช้อะไร เมื่อ กี้ว่าภาวนาว่า พุทโธ เป็นการนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ การนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ การนึกถึงพระพุทธเจ้านี่บรรดาพุทธบริษัท ทุกคนนึกถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน เวลานี้พระพุทธเจ้าอยู่ที่นิพพาน ความรู้ทั้งหมดที่เราใช้เป็นของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ถ้าเรานึกพระพุทธเจ้า ก็ชื่อว่าเราเชื่อพระพุทธเจ้า มีศรัทธาท่าน มีความเชื่อท่าน ในเมื่อมีความเชื่อมีความศรัทธาในท่าน เราก็ปฏิบัติตามท่าน 1.การให้ทาน เราทำแล้ว 2.การสมาทานศีล เราทำแล้ว 3.การเจริญภาวนา เราทำแล้ว และถ้าบุญบารมีของท่านยังอ่อนต้องเร่ ร่อนไปในวัฏสงสาร อย่างน้อยที่สุดก็เกิดเป็นคนรวย เป็นคนสวย เป็นคนมีปัญญา หรือมิฉะนั้นก็เป็นเทวดา เป็นนางฟ้า เป็นพรหม แต่ว่าเราเกิดทุกชาติเราจะไม่พลาดพระพุทธเจ้า ไม่พลาดจากพระพุทธศาสนา จะมีการต่อบุญบารมีกันเรื่อยที่มา   http://www.kammatan.com/board/index.php?PHPSESSID=055f9c56c79c534798833732909d806a&topic=114.0
1 มกราคม 2557     |      8233
ธรรมะสอนใจ/ ว.วชิรเมธี? เตือนโจ๋ไทย รักด้วยสมอง
“ว.วชิรเมธี” เตือนโจ๋ไทย รักด้วยสมอง อย่ายึดกามารมณ์ หวั่นผิดหวังจนเกิดโศกนาฏกรรม ทำร้ายคนรักเผยแพร่คลิป สาดน้ำกรด แนะเรียนรู้บันได 4 ขั้นของความรักเป็นเครื่องชี้นำ วันนี้ (13 ก.พ.) พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ผอ.สถาบันวิมุตยาลัย กล่าวเตือนเด็กและเยาวชนวันวาเลนไทน์ ว่า ความรักนั้นเป็นได้ทั้งความสุข และความทุกข์ เป็นทั้งความหวังและสิ้นหวัง เป็นทั้งอนาคต และความมืดมิด ถ้าเรารักด้วยสมองความรักจะนำสิ่งดีๆ มาให้เรา ถ้าเรารักจนขึ้นสมองความรักจะนำสิ่งเลวร้ายมาให้แก่เรา ดังนั้น ความ รักจะเป็นสิ่งที่ล้ำเลิศ หรือความทุกข์ตรม ขึ้นอยู่กับว่า รักด้วยสมองหรือรักแบบขึ้นสมอง วันหนึ่งเมื่อไม่สมหวังในความรักไม่ได้หมายความว่า จะไม่สมหวังในการดำเนินชีวิต พระมหาววุฒิชัย กล่าวต่อว่า ต้องไม่ยึดติดว่า ความรักมีเพียงมิติเดียว คือ ความรักเชิงชู้สาวเท่านั้น แต่ความรักมีหลายมิติ เปรียบเสมือนบันไดต้องเดินขึ้นไปทีละขั้น จนถึงความหมายของความรัก นั่นคือ ความสุข ถ้ารักแล้วมีความทุกข์ พัฒนาการของความรักยังไม่สมบูรณ์ ซึ่งขั้นบันไดแห่งความรักนั้น มี 4 ขั้น 1. รักตัวกลัวตาย รักชนิดนี้ถ้ามีมากๆ จะทำให้เกิดความเห็นแก่ตัว 2.รักใคร่ปรารถนา อิงกับสัญชาตญาณการสืบพันธุ์ ความรักชนิดนี้มีมากจะทำให้เกิดความลุ่มหลง กามารมณ์ หนุ่มสาวจะยึดความรักชนิดนี้เป็นที่พึ่งของชีวิต ยึดติดความใคร่มาใช้ในนามของความรัก จนกลายเป็นความโลภ คือ อยากจะครอบครองใครสักคนให้อยู่ในความควบคุมของเรา พอควบคุมไม่ได้ความรักก็กลายเป็นความร้ายเป็นโศกนาฏกรรม เช่น ทำร้ายคนรัก เผยแพร่คลิปคนรัก สาดน้ำกรดคนรัก เป็นต้น 3.รักเมตตาอารี ให้เห็นคนทั้งโลกว่า เป็นมิตรแก่เรา และ4.รักมีแต่ให้ รักปัญญาชนไม่คิดจะทำร้ายใคร ไม่หวังผล ซึ่งความรักจะต้องพัฒนาจนปลายทางของความรักแท้ คือ ความกรุณารักที่จะเป็นผู้ให้ “เนื่อง ในวันวาเลนไทน์ที่จะถึงนี้ อาตมาขอให้เด็กและเยาวชน คนไทยทั้งหลาย ยึดความรักที่อาตมากล่าวมาทั้งหมด เป็นแนวทางปฏิบัติ เรียนรู้พัฒนาความรัก ไม่ใช่ไปจมติดกับความรัก” พระมหาวุฒิชัย กล่าวขอขอบคุณ ASTV ผู้จัดการ
1 มกราคม 2557     |      7282
IT New Update /กูเกิลปิดบริการ Google Video
กูเกิลประกาศปิดบริการอัปโหลดวิดีโอออนไลน์ "Google Video" เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ระบุว่ามีนโยบายลบไฟล์วิดีโอที่ยังค้างอยู่ในเซิร์ฟเวอร์อย่างเต็มรูปแบบหลังจากหยุดให้บริการอัปโหลดวิดีโอตั้งแต่ปี 2009 แต่ัยังใจดีคงบริการเสิร์ชวิดีโอไว้เช่นเดิม เพื่อให้ชาวออนไลน์มีเครื่องมือค้นหาวิดีโอในเว็บไซต์ทั่วไปได้ Google Video นั้นเป็นบริการลักษณะเดียวกับ YouTube เว็บไซต์วิดีโอออนไลน์ชื่อดังซึ่งกูเกิลซื้อกิจการไปเมื่อปี 2006 ซึ่งเป็นเวลาเพียง 1 ปีให้หลังจาก Google Video เริ่มเปิดตัวเมื่อปี 2005 โดยการประกาศครั้งนี้เป็นการประกาศเตือนให้ผู้บริโภคซึ่งเคยใช้บริการ Google Video ย้ายไฟล์วิดีโอไปเผยแพร่บน YouTube แทน ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ไม่น่าแปลกใจเนื่องจาก YouTube นั้นเป็นเว็บไซต์วิดีโอออนไลน์ที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 144.1 ล้านยูนีคไอพีต่อเดือน (ตามสถิติของบริษัทวิจัย ComScore) การซื้อกิจการทำให้กูเกิลมี YouTube เป็นตัวตายตัวแทน Google Video กูเกิลจึงไม่มีความจำเป็นในการให้บริการวิดีโอออนไลน์แยกต่างหากเพิ่มอีก กูเกิลส่งอีเมลแจ้งสมาชิกบริการ Google Video ว่าตั้งแต่สิ้นเดือนเมษายนเป็นต้นไป ผู้ใช้จะไม่สามารถเปิดไฟล์วิดีโอย้อนหลังได้ โดยหลังการหยุดให้บริการอัปโหลดไฟล์ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2009 กูเกิลกำลังทยอยลบไฟล์ที่ยังค้างอยู่ในโฮสต์ขณะนี้ อย่างไรก็ตาม กูเกิลจะยังคงคุณสมบัติด้านการค้นหาวิดีโอออนไลน์ในบริการ Google Video เอาไว้เช่นเดิม เพราะเชื่อว่าจะสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีค้นหาวิดีโอออนไลน์ได้ต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักค้นหาข้อมูลออนไลน์ในอนาคต กำหนดปิดบริการเต็มรูปแบบที่กูเกิลวางไว้จะเริ่มในวันที่ 29 เมษายน 2011 โดยขณะนี้ กูเกิลได้เพิ่มปุ่มดาวน์โหลดในหน้าสถานะวิดีโอเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถตามเก็บไฟล์วิดีโอได้สะดวกขึ้น และปุ่มดาวน์โหลดจะไม่สามารถใช้การได้ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคมเป็นต้นไป ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ถูกนำไปเชื่อมโยงกับข่าวลือที่ระบุว่า กูเกิลกำลังเตรียมลงทุนมูลค่ากว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการสร้างคอนเทนต์เพื่อเผยแพร่บน YouTube โดยเฉพาะ จนทำให้หลายฝ่ายตั้งตารอว่าสถานีรายการบน YouTube จะสามารถแจ้งเกิดได้ยิ่งใหญ่เพียงใดขอขอบคุณ ASTV ผู้จัดการที่มา http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9540000047347
1 มกราคม 2557     |      7884
Network Alert /
บริษัทผลิตและจำหน่ายซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสอย่างไซแมนเทค (Symantec) ประกาศว่าสามารถตรวจจับภัยจากซอฟต์แวร์ร้ายหรือมัลแวร์ได้มากกว่า 286 ล้านโปรแกรมช่วงปี 2010 ที่ผ่านมา ถือเป็นตัวเลขที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับปีใดๆ ย้ำเห็นชัดว่าภัยออนไลน์จะพุ่งเป้าไปที่อุปกรณ์พกพาและเครือข่ายสังคมในปี นี้ รวมถึงกลการโจมตีแบบอัตโนมัติหลากรูปแบบ ไซแมนเทคนั้นประกาศผลสำรวจภัยออนไลน์ประจำปี 2010 ไว้ในรายงาน Internet Security Threat Report ซึ่งบริษัทจัดทำเป็นประจำทุกปีต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 16 แล้ว โดยนอกจากจำนวนมัลแวร์ที่เพิ่มขึ้น ความชำนาญและความสำเร็จของมัลแวร์ในปี 2010 ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน แม้จะมีการให้ความรู้เพื่อให้ชาวออนไลน์ลดพฤติกรรมเสี่ยงในการตกเป็นเหยื่อ อย่างจริงจังแล้วก็ตาม เจอร์รี่ อีแกน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย Symantec Research Labs ระบุว่าปี 2010 คือปีที่ทิศทางการโจมตีในเครือข่ายสังคมเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยจากเดิมที่ผู้ประสงค์ร้ายมักใช้เพียงข่าวหรือกระแสสังคมในการล่อลวงผู้ ใช้ แต่เครือข่ายสังคมทำให้ผู้ปล่อยมัลแวร์สามารถหากินบนความไว้วางใจของเพื่อน ฝูงคนรู้จักของเหยื่อเอง ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์สำเร็จสูง "เครือข่ายสังคมกลายเป็นรูปแบบการโจมตีที่ได้รับความสนใจมาก ขึ้น เพราะชาวออนไลน์มีความเชื่อใจในข้อความซึ่งดูเหมือนว่าเพื่อนฝูงส่งมาพูดคุย ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับอีเมลลวงในยุคก่อน" ไซแมนเทคพบว่าการโพสต์ลิงก์เว็บไซต์ ขนาดสั้น (short URL) ในเครือข่ายสังคมคือกลลวงที่สามารถล่อให้ผู้ใช้เข้าสู่เว็บไซต์ซึ่งฝัง มัลแวร์ได้สำเร็จมากที่สุด เนื่องจากชาวเครือข่ายสังคมนิยมโพสต์ลิงก์เว็บไซต์ขนาดสั้นนี้เพื่ออัปเดทข่าวกับเพื่อนฝูง จุดนี้ไซแมนเทคระบุว่าลิงก์เว็บไซต์แฝงมัลแวร์นั้นปรากฏในรูปลิงก์เว็บไซต์ ขนาดสั้นนี้ถึง 65% โดยมากกว่า 73% ถูกคลิก 11 ครั้งหรือมากกว่านั้น นอกจากเครือข่ายสังคม ไซแมนเทคยังพบการโจมตีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลผ่านช่องโหว่ในโปรแกรมภาษาจาวา (Java) เพิ่มขึ้น ข้อมูลระบุว่า มากกว่า 17% ของจุดอ่อนด้านความปลอดภัยซึ่งมีผลกระทบต่อโปรแกรมเสริมในโปรแกรมเว็บเบราว์ เซอร์ช่วงปี 2010 นั้นอยู่ที่จาวา สำหรับชุดโปรแกรมโจมตีอัตโนมัติซึ่งพุ่งเป้าที่เว็บไซต์ต่างๆนั้นคิด เป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของภัยโจมตีเว็บไซต์ทั้งหมด โดยจำนวนการโจมตีเว็บไซต์ในปี 2010 นั้นสูงกว่าปี 2009 ถึง 93% ที่ขาดไม่ได้คืออุปกรณ์พกพา ไซแมนเทคอธิบายว่าเพราะผู้บริโภคใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ในการเล่นอินเทอร์ เน็ตและทำงานด้านการประมวลผลแทนคอมพิวเตอร์มากขึ้น ทำให้นักก่อการร้ายไฮเทคมองตลาดนี้เป็นเค้กก้อนใหญ่ที่ไม่ควรพลาด แถมผู้ใช้ยังไม่มีความตระหนักรู้เรื่องภัยในอุปกรณ์พกพาเท่าภัยใน คอมพิวเตอร์ ทั้งหมดนี้ทำให้ไซแมนเทคพบว่านักก่อการร้ายไฮเทคใช้ ประโยชน์จากช่องโหว่ในโทรศัพท์มือถือมากกว่า 163 จุดในช่วงต้นปี 2011 ที่ผ่านมา จนทำให้โทรศัพท์หลายแสนเครื่องตกอยู่ในความเสี่ยง ไซแมนเทคชี้ว่าช่องโหว่ในโทรศัพท์มือถือ 163 จุดนี้เป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นกว่า 115 จุดซึ่งไซแมนเทคพบในปี 2009 ถึง 42% โดยเฉลี่ย ไซแมนเทคพบว่าชื่อหรือข้อมูลตัวตนมากกว่า 260,000 ไอเดนติตี้จะถูกขโมยต่อการถูกเจาะระบบ 1 ครั้งในปี 2010 โดยยอดภัยซอฟต์แวร์ประสงค์ร้ายหรือมัลแวร์ตลอดปีอยู่ที่ 286 ล้านมัลแวร์ซึ่งใช้ช่องโหว่ใหม่ 6,253 จุด (1 ช่องโหว่สามารถเป็นช่องทางปล่องมัลแวร์ได้หลายครั้งและหลายโปรแกรม) ซึ่งภัยมัลแวร์เหล่านี้ถูกใช้โจมตีมากกว่า 3 พันล้านครั้งในปีที่ผ่านมา ภัยเก่าแก่อย่างบ็อตเน็ต (Botnet) หรือเครือข่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกควบคุมโดยแฮกเกอร์นั้นยังเป็นปัญหา ใหญ่ในปี 2010 ไซแมนเทคพบบ็อตเน็ตมากกว่า 1 ล้านเครื่องที่ถูกควบคุมในช่วงปีขาลที่ผ่านมา ไซแมนเทคยังพบด้วยว่า นักเจาะระบบจะสามารถจำหน่ายหมายเลขบัตรเครดิตที่ขโมยมาได้ในราคา 7 เซนต์ถึง 100 เหรียญสหรัฐ ซึ่งจะถูกซื้อขายในตลาดใต้ดินทั่วโลก การสำรวจครั้งนี้ของไซแมนเทคดำเนินการบนพื้นที่มากกว่า 200 ประเทศ โดยข้อมูลบางส่วนมาจากลูกค้าซึ่งใช้ซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสของไซแมนเทคมากกว่า 133 ล้านระบบในปี 2010
5 กุมภาพันธ์ 2554     |      9330
ธรรมะจรรโลงใจ / "ปัญหาเกี่ยวกับศีล"
ปัญหาเกี่ยวกับศีล * เมื่อรับศีลแล้ว กระทำผิดศีล ทั้งมีเจตนาบ้าง ไม่เจตนาบ้าง จะเป็นบาปหรือไม่ * การรับประทานมังสวิรัติดีหรือไม่ * คฤหัสถ์ที่มีความจำเป็นต้องดื่มสุราเพื่อเข้าสังคมควรทำอย่างไร * คฤหัสต้องทำธุรกิจการค้า วิธีจะรักษาศีลข้อมุสาวาทาให้บริสุทธิ์ทำได้อย่างไร * ศีล ๕ หรือศีลข้ออื่นๆ เกี่ยวข้องกับการทำสมาธิหรือไม่อย่างไร ปัญหาเกี่ยวกับสมาธิและการเจริญปัญญา * การสอนกรรมฐานในปัจจุบัน สำนักต่างๆ ยังมีการขัดแย้งในระเบียบวิธีเกี่ยวกับการปฏิบัติ จะเลือกแนวทางไหนดี * จุดหมายปลายทางที่ถูกต้องของการปฏิบัติสมาธิคืออะไร * การปฏิบัติที่ได้ชื่อว่าถูกต้องมีอะไรเป็นเครื่องวัด * การทำสมาธิช่วยล้างบาปที่เคยทำไม่ดีได้หรือไม่ * ภาวนาไปจิตเบื่อหน่าย จิตเศร้าหมอง จะทำอย่างไร * สภาวะของจิตที่เป็นสมาธิจะมีรูปร่างอย่างไร * สมาธิต่อเนื่องวิปัสสนาทำอย่างไร * สมาธิส่งเสริมปัญญาจะปฏิบัติอย่างไร เมื่อรับศีลแล้ว กระทำผิดศีล ทั้งมีเจตนาบ้าง ไม่เจตนาบ้าง จะเป็นบาปหรือไม่ การรับศีลไปแล้วทำผิดบ้างถูกบ้าง แต่ว่าไม่ได้เจตนา เป็นแต่เพียงขาดการสำรวม ขาดสติ ทำให้ศีลเศร้าหมองนิดหน่อย ทีนี้การที่มารับศีลแล้วรักษาให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ไม่ได้ มีขาดตก บกพร่องบ้าง ถ้าข้อเปรียบเทียบก็เหมือนกันกับว่า ผู้ที่มีเสื้อใส่แต่เป็นเสื้อขาด ก็ยังดีกว่าผู้ที่ไม่มีเสื้อจะใส่เสียเลย การสมาทานศีลนี้ ถึงแม้ว่าจะขาดตกบกพร่องบ้างก็ยังดี อันนั้นเป็นเรื่องวิสัย ธรรมดาของปุถุชนก็ย่อมมีการบกพร่องบ้าง ในเมื่อฝึกไปจนคล่องตัวแล้ว มันก็สมบูรณ์ไปเอง ดีกว่าไม่ทำเลย การรับประทานมังสวิรัติดีหรือไม่ การปฏิบัติงดเว้นจากการรับประทานเนื้อสัตว์นี้เป็นข้อปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ขอสนับสนุน แต่ปัญหาสำคัญว่าผู้ปฏิบัติแล้วอย่าเอาความดีที่เราปฏิบัติไปเที่ยวข่มขู่คนอื่น การปฏิบัติอันใดปฏิบัติแล้วอย่าถือว่าข้อวัตรปฏิบัติของตนดีวิเศษ แล้วเที่ยวไปข่มขู่คนอื่นนั้น มันกลายเป็นบาป เป็นฉายาแห่งมุสาวาท ไม่ควรทำ คฤหัสถ์ที่มีความจำเป็นต้องดื่มสุราเพื่อเข้าสังคมควรทำอย่างไร ถ้าหากเรามุ่งรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ เราก็หาทางหลีกเลี่ยงสังคมขี้เหล้าทั้งหลาย เพราะว่าในสังคมพวกขี้เหล้ามันไม่เกิดผลดี มีแต่ทำความเสียหาย แต่ในสังคมที่เป็นกิจลักษณะ เช่น งานเลี้ยงที่เกี่ยวกับการงานซึ่งเราจำเป็นต้องอนุโลมตามเพื่อไม่ให้ขัดสังคม เราก็นึกขอขมา พระรัตนตรัย แล้วก็ขอปลงศีล ๕ เอาไว้ก่อน เมื่อเสร็จธุระแล้ว ปกติถ้าไม่มีงานสังคมเราก็งดเว้น เด็ดขาด... เราก็ตั้งใจสมาทานศีลใหม่ แล้วก็เริ่มรักษาศีลต่อไป ถ้าหากว่าเราจำเป็นต้องดื่มก็ให้มีสติ จิบๆ พอเป็นกิริยา อย่าให้มันมากเกินไปถึงกับหัว ราน้ำ... เพราะเราเป็นผู้น้อยมีความเกรงอกเกรงใจผู้ใหญ่ เมื่อผู้ใหญ่ท่านทำ เราไม่เดินตามหลัง ท่านๆ ก็ตำหนิ แต่ถ้าเราเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ เราจะไม่ดื่มเลย... ถ้าหากว่าในบรรดาเพื่อนฝูงที่รู้จัก เขาเคารพต่อพระธรรมวินัย พอเขารู้ว่าเราไม่ดื่มเขาก็ไม่รบกวนหรอก อย่างดีเขาก็พูดประชดประชันนิดหน่อย คฤหัสถ์ต้องทำธุรกิจการค้า วิธีจะรักษาศีลข้อมุสาวาทให้บริสุทธิ์ทำได้อย่างไร ถ้าสมมติว่าเราไปซื้อของมาขาย เราขายของให้ลูกค้า ลูกค้าถามว่า “ทำไมขายแพง” “ต้นทุนมันสูง” คิดค่าเสียเวลา ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าขนส่ง ค่าเสียภาษี ดอกเบี้ย บวกเข้าไป ค่าของที่มาตกค้างอยู่ในร้านค้า ทุนมันก็เพิ่มขึ้นๆ ยิ่งค้างอยู่นานเท่าไร มันก็ยิ่งเพิ่มขึ้นๆ ซื้อมาทุน ๑๐ บาท ก็ตีราคาทุน ๑๒ บาทก็ได้ไม่ใช่โกหก เพราะว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ...นักการค้าต้องเป็นคนฉลาด คนรักษาศีลก็ต้องเป็นคนฉลาด แต่ถ้าหากว่าเรามีเจตนาจะโกหกเขา มันก็ผิดศีลข้อมุสาวาท ศีล ๕ หรือศีลข้ออื่นๆ เกี่ยวข้องกับการทำสมาธิหรือไม่อย่างไร ศีล ๕ หรือศีลอื่นๆ มีความเกี่ยวพันต่อการปฏิบัติสมาธิอย่างมาก ศีลเป็นการปรับพื้นฐาน ปรับโทษทางกายวาจา ซึ่งเปรียบเสมือนเปลือกไข่ ส่วนใจเปรียบเหมือนไข่แดง การทำสมาธิ เหมือนการนำไข่ไปฟัก จึงต้องรักษาเปลือกไม่ให้มีรอยร้าว รอยแตก เราจึงจำเป็นต้องรักษาศีล ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ จึงจะได้ผลในทางสมาธิ ทีนี้ถ้าหากจะถามว่าคนที่มีศีล ๕ จะสามารถปฏิบัติ ให้ถึงมรรคผล นิพพานได้ไหม เป็นข้อที่ควรสงสัย อย่างพระเจ้าสุทโธทนะ นางวิสาขา ก็มีศีล ๕ แล้วปฏิบัติ ก็บรรลุมรรค ผล นิพพานได้… เพราะฉะนั้นศีล ๕ นั้นก็เป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิ เกิด สติปัญญา เกิดมรรคผล นิพพานได้ ปัญหาเกี่ยวกับสมาธิและการเจริญปัญญา การสอนกรรมฐานในปัจจุบัน สำนักต่างๆ ยังมีการขัดแย้งในระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติ จะเลือกแนวทางไหนดี ธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้าสอนให้คนมีความรักกัน มีความสามัคคีกัน แต่พุทธบริษัทเรานี่ยังสอนธรรมะเพื่อความแตกสามัคคี จึงเห็นว่ายังไม่เหมาะสม... ขอให้ทัศนะว่า การขัดแย้ง ขัดแย้งกันเพียงวิธีการเท่านั้นเอง แต่โดยสภาพความเป็นจริง การปฏิบัติธรรมเกี่ยวกับเรื่องสมาธิ ใครจะปฏิบัติแบบไหน อย่างไรก็ตาม ผลเกิดขึ้นแล้วเป็นอย่างเดียวกันหมด ดังนั้น เพื่อไม่ให้สับสน หรือเพื่อความเข้าใจง่ายสำหรับผู้มุ่งปฏิบัติ อาตมาขอแนะนำแนวการปฏิบัติไว้ ๓ ประการ ๑. หลักของการบริกรรมภาวนา ใครจะยกเอาอะไรมาบริกรรมภาวนาก็ได้ ในขั้นต้นเราหาอุบายที่จะผูกจิตให้ติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเหนียวแน่นเสียก่อน เมื่อจิตของเราไปติดกับสิ่งนั้นอย่างเหนียวแน่น จดจ้องอยู่กับสิ่งนั้น ความสนใจสิ่งอื่นก็เป็นว่าเลิกละไป เมื่อจิตไปยึดอยู่เพียงสิ่งเดียว ถ้าหากว่าท่านสามารถทำได้ ลองพิจารณาดูซิว่า การที่ไปยึดกับสิ่งๆ เดียว มันก็เป็นอุบายให้จิตสงบยิ่งขึ้นไปจนกระทั่งไม่นึกถึงสิ่งนั้น จนสภาพจิตกลายเป็นตัวของตัวเองไม่ยึดกับสิ่งใด ทีนี้หากท่านจะถามว่า จะใช้คำไหนเป็นคำบริกรรมภาวนา ไม่มีจำกัด จะเป็นคำอะไรก็ได้ พุทโธ ธัมโม สังโฆ หรือหากว่าจิตใจ ไปติดอยู่กับหลานน้อยๆ คนหนึ่ง นึกถึงชื่อไอ้หนูมันมาบริกรรมภาวนาก็ได้ อย่างเวลานี้มาทำงานแต่เป็นห่วงบ้าน ก็เอาเรื่องบ้านมาบริกรรมภาวนาก็ได้ เพราะอะไรที่เรารัก เราชอบ เราติดอยู่แล้วมันเป็นอุบายให้จิตของเราติดเร็วยิ่งขึ้น จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทรงสอนเราเพื่อไม่ให้ยึดในสิ่งใดๆ ทั้งนั้น แต่เพื่อเป็นอุบายที่จะสร้างพลังจิต เพื่อการปล่อยวางสิ่งทั้งปวง เราต้องฝึกหัดจิตของเราให้ติดอยู่กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างเหนียวแน่น ให้มีหลักเกาะ มีที่พึ่ง ให้มีวิหารธรรมเสียก่อน เมื่อจิตของเราติดกับสิ่งนั้นๆ มันก็ติดเพื่อความปล่อยวาง สังเกตดูเมื่อเราบริกรรมภาวนาจนกระทั่งจิตสงบลงแล้ว มันหาได้นึกถึงคำบริกรรมภาวนาไม่ มันไปนิ่งสว่างอยู่เฉยๆ อันนั้นคือมันปล่อยวางแล้ว ทีแรกมันติดก่อน พอติดแล้วมันมีอิสรภาพอย่างแท้จริง เป็นสมาธิอย่างแท้จริง ๒. หลักการพิจารณาค้นคว้าหาเหตุผล ตามคัมภีร์วิสุทธิมรรคก็ดี คัมภีร์พระอภิธรรมก็ดี และในคัมภีร์พระไตรปิฎกก็ดี ท่านได้วางหลักการแห่งการพิจารณาไว้ในรูปแบบต่างๆ ในขั้นต้นก็สอนให้พิจารณากายคตาสติ สอนให้พิจารณาธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ สอนให้พิจารณาความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา สอนให้พิจารณารูป นาม ทีนี้ถ้าต่างว่าเราไม่เอาสิ่งที่ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์มาเป็นเครื่องพิจารณา จะขัดกับแนวปฏิบัติไหม... เรามีกายกับใจ กายกับใจประกอบด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ สิ่งเหล่านี้เป็นสภาวธรรม... ดังนั้น วิชาความรู้ที่ท่านเรียนมา อะไรก็ได้ ท่านหยิบยกเอามาเป็นอารมณ์พิจารณา เช่น อย่างในขณะที่ท่านต้องใช้วิชาการที่ท่านเรียนมาให้เกิดประโยชน์แก่การทำงาน ท่านอาจจะวิตกเอาหัวข้อนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งมาตั้งเป็นหัวข้อไว้ในจิตของท่าน แล้วตั้งปัญหาถามตัวเองว่าสิ่งนี้คืออะไร สิ่งนี้คือสิ่งนั้น สิ่งนั้นคืออะไร ถามตอบดูตัวเองไปโดยความตั้งใจ ทำสติให้แน่วแน่ อย่าสักแต่ว่าคิด... การคิดแต่ละจังหวะนั้น ทำสติให้รู้ชัดเจนในความคิดของตัวเอง เอาความคิดนั้นเป็นอารมณ์ เป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติ สิ่งที่เราเห็นด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เราทำสติกับทุกสิ่งทุกอย่าง ทำสติตลอดเวลา โดยธรรมชาติของจิต ถ้าเราตั้งใจทำอะไรสักอย่างหนึ่งให้เป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติ หนักๆ เข้าจิตของเราจะเกิดมีความสงบ มีปีติ มีความสุขได้เช่นกันมีหลักฐานที่จะพึงกล่าวในพระไตรปิฎก คนถากไม้นั่งถากไม้อยู่ เอาการถากไม้เป็นอารมณ์พิจารณาพระกรรมฐาน พิจารณาได้สำเร็จแล้วเป็นพระอรหันต์ คนปั้นหม้อ เอาการปั้นหม้อเป็นอารมณ์พิจารณากรรมฐาน เสร็จแล้วปลงปัญญาลงสู่พระไตรลักษณ์ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ คนทอหูก นั่งทอหูกอยู่ พิจารณาการทอหูกเทียบกับชีวิตของเราที่หดสั้นเข้าไปทุกที ปลงปัญญาลงสู่พระไตรลักษณ์เป็นพระอรหันต์ การถากไม้ การปั้นหม้อ การทอหูก เป็นอารมณ์กรรมฐานทำให้ผู้ปฏิบัติพิจารณาได้สำเร็จพระอรหันต์ฉันใด แม้วิชาความรู้หากเราเรียนมาทุกสาขาวิชาการ เราเอามาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ก็ย่อมสำเร็จมรรค ผล นิพพานได้เหมือนกัน เพราะสิ่งนั้นเป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติ ๓. หลักการทำสติตามรู้สถานการณ์และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความคิดของตนเอง ถ้าท่านผู้ใดเห็นว่าการค้นคิดพิจารณาไม่คล่องตัว แม้เราจะตั้งใจคิดพิจารณาแต่ความคิดอื่นเข้ามารบกวน เราไม่สามารถควบคุมจิตของเราให้ค้นคิดอยู่ในสิ่งๆ เดียวได้ เพราะวิสัยของเราย่อมคิดอยู่โดยปกติ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ให้ทำสติรู้ลงที่จิต คอยจ้องดูว่าความคิดอะไรจะเกิดขึ้น พอมีความคิดอะไรเกิดขึ้น เราทำสติตามรู้ รู้ตามไปเรื่อยๆ จิตมันคิดเรื่องดีเรื่องชั่วเรื่องสารพัดสารเพ อะไรก็แล้วแต่ปล่อยให้มันคิดไป แต่หน้าที่ของเราทำสติตามรู้อย่างเดียว... เมื่อสติตามรู้ความคิดทันแล้ว ความสงบจะเกิดขึ้น เมื่อความสงบเกิดขึ้นแล้ว ก็มีปีติ มีความสุข มีความเป็นหนึ่งเช่นเดียวกับการบริกรรมภาวนาได้ จุดหมายปลายทางที่ถูกต้องของการปฏิบัติสมาธิคืออะไร ความประสงค์ของผู้ทำสมาธิว่าจะทำสมาธิเพื่ออะไร แยกตามกิเลสของคน - บางท่านทำสมาธิเพื่อให้เกิดอิทธิฤทธิ์ - บางท่านทำสมาธิเพื่อให้รู้ยิ่งเห็นจริงในเรื่องราวต่างๆ - บางท่านทำสมาธิ ไม่ต้องการอะไร ขอให้จิตสงบ ให้รู้ความเป็นจริงของจิตเมื่อประสบกับอารมณ์อะไรเกิดขึ้น เพื่อจะอ่านจริตของเราให้รู้ว่าเราเป็นราคจริต โทสจริต โมหจริต วิตกจริต พุทธจริต ศรัทธาจริต อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อจะดูให้รู้แจ้ง เพื่อจะเป็นพื้นฐานที่เราจะแก้ไขดัดแปลงจิตของเรา เมื่อเรารู้ชัดลงไปแล้ว เรามีกิเลสตัวไหน เป็นจริตประเภทไหน เราจะได้แก้ไขดัดแปลงตัดทอนสิ่งที่เกิน แล้วเพิ่มสิ่งที่หย่อนให้อยู่ในระดับพอดีพองาม เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา ในการปฏิบัติ ถ้าจะว่ากันโดยสรุปแล้วเราต้องการสร้างสติให้เป็นมหาสติ เป็นสติพละ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติวินโย ไม่ได้มุ่งถึงสิ่งที่เราจะรู้จะเห็นในสมาธิ การภาวนา แม้จะเห็นนิมิตต่างๆ ในสมาธิ หรือรู้ธรรมะซึ่งผุดขึ้นเป็นอุทานธรรม สิ่งนั้นไม่ใช่เป็นเปอร์เซ็นต์ที่เราเก็บเอาเป็นผลงานที่เราปฏิบัติได้ เพราะสิ่งนั้นเป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติ เป็นอารมณ์กรรมฐานที่เกิดขึ้นในสมาธิ และเป็นสัญลักษณ์ของปัญญาที่เกิดขึ้นในสมาธิ ซึ่งเรียกว่า สมาธิปัญญา... พลังของสมาธิสามารถทำให้เกิดสติปัญญาเกิดความรู้เห็นอะไรต่างๆ แปลกๆ สิ่งที่ไม่เคยรู้ก็รู้ สิ่งที่ไม่เคยเห็นก็เห็นแต่สิ่งนั้น พึงทำความเข้าใจว่าไม่ใช่ของดีที่เราจะเก็บเอาไว้เป็นสมบัติให้กำหนดเป็น เพียงแต่ว่าสิ่งนั้นเป็นเพียงเครื่องรู้ของจิตเครื่องระลึกของสติ เป็นอารมณ์กรรมฐานที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เป็นอุบายสร้างสติให้เป็นมหาสติปัฏฐาน การปฏิบัติที่ได้ชื่อว่าถูกต้องมีอะไรเป็นเครื่องวัด มีศีล ๕ เป็นเครื่องวัด ปฏิบัติอันใดไม่ผิดศีล ๕ ข้อใดข้อหนึ่ง นั้นแหละเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง ทีนี้ สำหรับความรู้ความเห็น ความรู้อันใดเกิดขึ้น ยึดมั่น ถือมั่น มีอุปาทาน ทำให้เกิดปัญหาว่านี่คืออะไร นั่นคือตัวนิวรณ์ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ความรู้ที่เกิดขึ้นแล้ว จิตไม่ยึด ไม่สร้างปัญหาให้ตัวเองเดือดร้อนเพราะรู้แจ้งเห็นจริง มีแต่ปล่อยวาง ความรู้นั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ ...สิ่งหนึ่งซึ่งนักปฏิบัติควรจะสังเกตทำความเข้าใจ ถ้าเราฝึกปฏิบัติแล้ว เราเกิดศรัทธาอยากปฏิบัติ ถ้าวันใดไม่ได้ปฏิบัติวันนั้นนอนไม่หลับ แสดงว่าท่านได้ศรัทธาพละ ในเมื่อท่านได้ศรัทธาพละ ท่านอยากปฏิบัติ ท่านก็ได้ความเพียร ในเมื่อท่านได้ความเพียร ท่านก็มีความตั้งใจคือสติ เมื่อมีสติก็มีความมั่นใจคือสมาธิ ในเมื่อมีความมั่นใจคือสมาธิ ท่านก็มีสติปัญญาพอที่จะคิดค้นหาลู่ทางในการปฏิบัติ นี่ให้ฝึกสังเกตอย่างนี้ อย่าไปกำหนดหมายเอาว่า ภาวนาแล้วจะต้องเห็นภูตผีปีศาจ ผีสาง เทวดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ สิ่งเหล่านี้แม้จะรู้เห็นก็เป็นแค่เพียงอารมณ์ของจิตเท่านั้น ไม่ใช่ของดีวิเศษ ทีนี้เราจะกำหนดหมายเอาที่ตรงไหน กำหนดหมายเอาตรงที่ว่า รู้ว่านี่คือจิตของเรา จิตของเรามีความเป็นธรรมไหม จิตของเราเที่ยงไหม จิตของเราดูดดื่มในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ไหม เมื่อออกจากสมาธิไปแล้ว จิตของเรามีเจตนาที่จะงดเว้นจากความชั่วประพฤติความดีไหม มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองไหม ซื่อสัตย์สุจริตต่อหมู่คณะและครอบครัวไหม ดูกันที่ตรงนี้ ถ้าใครภาวนาแล้วเบื่อหน่ายต่อครอบครัว อยากหนีไปบวช มิจฉาทิฏฐิกำลังจะกินแล้ว ใครภาวนามีสมาธิดีแล้วเบื่อหน่ายงาน อยากทิ้งการทิ้งงานหนีออกไป อันนั้น ความผิดกำลังจะเกิดขึ้น ถ้าใครภาวนาเก่งแล้ว สมมติว่าครูบาอาจารย์มีลูกศิษย์รักลูกศิษย์มากขึ้น ลูกศิษย์ภาวนาเก่งแล้วรักครูบาอาจารย์ เคารพครูบาอาจารย์มากขึ้น สามีภรรยาภาวนาเก่งแล้วรักกันยิ่งขึ้น รักลูกรักครอบครัว รู้จักประหยัด รู้จักสิ่งที่ควรไม่ควรดียิ่งขึ้น อันนี้จึงจะได้ชื่อว่าเป็นการภาวนาได้ผลดี การทำสมาธิช่วยล้างบาปที่เคยทำไม่ดีได้หรือไม่ ในศาสนาพุทธไม่มีการทำดีเพื่อล้างบาป ขอให้ทำความเข้าใจว่าไม่มีการทำบุญเพื่อล้างบาป แต่การทำบุญหรือทำดีเพื่อหนีบาปนั้นเรามีหนทางที่จะทำได้ คือพยายามทำความดีให้มากขึ้น มากขึ้น ให้คุณความดีเป็นเครื่องอุ่นใจ เป็นวิหารธรรม เครื่องอยู่ของใจ ใจมันก็ปราโมทย์บันเทิงอยู่กับความดี เมื่อมันไปอยู่กับความดี มันก็ไม่คิดถึงบาปในอดีตที่ทำมาแล้ว ทีนี้เมื่ออารมณ์บาปไม่ไปรบกวน เราก็มีโอกาสได้ทำความดีเพิ่มมากขึ้น ถ้าหากความดีนั้นมีอำนาจเหนือบาป มีผลแรงกว่าบาป จิตของเราหนีบาปไปไกล เมื่อเวลาตายไปแล้ว ก็ไปสู่สุคติ ถ้าไม่ไปสู่สุคติแล้วเรามาเกิดใหม่ ถ้าหากว่าเราไม่ทำความดีเพิ่มเติม บาปมันก็มีโอกาสให้ผล บาปเล็กๆ น้อยๆ มันไม่หายไปไหนหรอก ทีนี้ถ้าหากเรากลัวบาป จะตัดกรรมตัดเวร ถ้าหากพระองค์ใดไปแนะนำว่าทำบาปแล้วไปตัดเวรตัดกรรมอย่าไปเชื่อ มันตัดไม่ได้ เวรนี่อาจตัดได้ แต่กรรมคือการกระทำนั้นมันตัดไม่ได้ ที่ว่าเวรนี่ตัดได้ เช่นอย่างเราอยู่ด้วยกันทำผิดต่อกัน เมื่อปรับความเข้าใจกันได้แล้ว เราขอโทษซึ่งกันและกัน ต่างฝ่ายต่างยกโทษให้กัน เวรที่จะตามคอยจองล้างจองผลาญกันมันก็หมดสิ้นไป แต่ผลกรรมที่ทำผิดต่อกันนั้นมันไม่หายไปไหนหรอก แต่ถ้าหากว่าเราพยายามทำดีให้มันมากขึ้นๆ เรารู้สำนึกว่าสิ่งที่ทำไปนั้นมันไม่ดี เราเลิก เราประพฤติแต่ความดี …บาปที่ทำแล้วมันแก้ไม่ได้ แต่นิสัยชั่วที่เราประพฤติอยู่นั้นมันแก้ได้ ท่านให้แก้กันที่ตรงนี้ ภาวนาไปจิตเบื่อหน่าย จิตเศร้าหมอง จะทำอย่างไร ความเบื่อเป็นอาการของกิเลส ในเมื่อมันเกิดเบื่อ พิจารณาความเบื่อ เอาความเบื่อเป็นอารมณ์ ถามตัวเองว่าทำไมมันจึงเบื่อ เมื่อได้คำตอบแล้ว ถามต่อไปอีกว่าทำไมๆ เพราะอะไรๆ ไล่มันไปจนมันจนมุม เอาความเบื่อเป็นอารมณ์ เอาความเบื่อเป็นเครื่องรู้ เราก็พิจารณาหาเหตุผลความเบื่อให้ได้ การพิจารณาเช่นนี้ก็คือการพิจารณาวิปัสสนากรรมฐาน จิตเศร้าหมองก็พยายามภาวนาให้มากขึ้น พิจารณาให้มากขึ้น ในเมื่อจิตรู้แจ้งเห็นจริงแล้วมันจะหายเบื่อและหายเศร้าหมอง สภาวะของจิตที่เป็นสมาธิจะมีรูปร่างอย่างไร ภาวะที่จิตเป็นสมาธิ ไม่มีรูปร่าง มีแต่ความรู้สึกทางกาย ทางจิต จิตเป็นสมาธิทำให้กายเบา กายสงบ สงบจากทุกขเวทนาความปวดเมื่อย จิตเบาหมายถึงจิตปลอดโปร่ง จิตสงบหมายถึงจิตไม่ดิ้นรน ไม่วุ่นวาย ไม่มีความยินดี ไม่มีความยินร้าย มีแต่ความปีติ มีความสุขเกิดจากสมาธินั้น ถ้าจะนับสมาธิในขั้นนี้ยังเป็นอุปจารสมาธิ ถ้าหากว่าจิตตั้งมั่นคงได้นาน จิตยังมีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ก็เป็นสมาธิขั้นปฐมฌาน สมาธิต่อเนื่องวิปัสสนาทำอย่างไร คำว่าวิปัสสนานี้ มีอยู่ ๒ ขั้นตอน ขั้นต้นคือวิปัสสนาที่ใช้สติปัญญากำหนดพิจารณาเอาด้วยความตั้งใจ เช่น เราพิจารณาร่างกายให้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือพิจารณารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ น้อมไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ใช้ความรู้สึกนึกคิดที่เราเรียนรู้มานั้นมานึกเอา เรียกว่าการเจริญวิปัสสนาแบบใช้สติปัญญาธรรมดาๆ… โดยความรู้สึกนึกคิดเอาเองนี่แหละ เป็นการตกแต่งปฏิปทาเพื่อให้จิตสงบเป็นสมาธิ เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้วเกิดวิปัสสนาขึ้นมาโดยอัตโนมัติ จะปฏิวัติไปสู่ภูมิรู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จงทำความเข้าใจว่าถ้าสมาธิหรือสมถะไม่เกิดขึ้น ท่านจะเจริญวิปัสสนาอย่างไร ท่านจะไม่ได้วิปัสสนาเพราะวิปัสสนามีมูลฐาน เกิดจากสมถะคือสมาธิ ถ้าสมถะคือสมาธิไม่เกิดขึ้น ท่านจะได้แค่วิปัสสนาแบบนึกคิดเอาเอง เป็นวิปัสสนาภาคปฏิบัติเท่านั้น ยังไม่ใช่วิปัสสนาที่แท้จริง สมาธิส่งเสริมปัญญาจะปฏิบัติอย่างไร เมื่อจิตอยู่ในฌานขั้นที่ ๔ กายหายไปแล้ว ลมหายใจก็หายไปแล้ว ยังเหลือแค่จิตซึ่งเป็นนามธรรมปรากฏเด่นชัดอยู่เพียงดวงเดียว จิตก็ได้แต่ความนิ่งสว่างอยู่อย่างเดียว อาการแห่งความคิดต่างๆ ไม่เกิดขึ้นในขณะนั้น แล้วจิตก็รู้อยู่เพียงแค่รู้ รู้อยู่แค่เพียงความสงบ รู้อยู่แค่เพียงความเป็นกลางของจิตเท่านั้น ปัญญาความรู้ยังไม่เกิด แต่เป็นฐานที่สร้างพลังของจิต เมื่อจิตสงบอยู่ในสมาธิขั้นนี้นานๆ เข้าและบ่อยครั้งเข้า ทำให้จิตของเราเกิดมีพลังงานคือมีสมาธิความมั่นคง สติสัมปชัญญะค่อยดีขึ้นบ้าง ในเมื่อผู้ปฏิบัติทำจิตได้สงบขนาดนี้แล้ว เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิแล้วอย่าไปยินดีและพอใจเพียงแต่ความสงบอย่างเดียว ส่วนมากนักปฏิบัติเมื่อทำจิตให้สงบเป็นสมาธิได้ พอถอนจิตออกจากสมาธิมาเพราะความดีใจในความสงบของจิตในสมาธิ พอรู้สึกตัวขึ้นมาแล้วกระโดดโลดเต้นลุกออกจากที่นั่ง อันนี้ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ถ้าขืนทำอย่างนี้จิตมันก็ได้แต่ความสงบนิ่งเป็นสมาธิอย่างเดียว ปัญญาความรู้จะไม่เกิด วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ควรทำอย่างนี้ เมื่อจิตสงบดีจนกระทั่งตัวหาย เมื่อจิตถอนจากสมาธิมา พอสัมผัสรู้ว่ามีกายเท่านั้นจิตย่อมมีความคิดทันที ผู้ภาวนาอย่าเพิ่งรีบด่วนออกจากที่นั่งสมาธิเป็นอันขาด ให้ตั้งใจกำหนดทำสติตามรู้ความคิดนั้นๆ ไป ถ้าหากปฏิบัติอย่างนี้ภูมิจิตของท่านจะก้าวสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาได้เร็ว เพราะเมื่อจิตผ่านการสงบนิ่งมาแล้ว เมื่อเกิดความคิดอันใดขึ้นมา ความคิดมันจะแน่วแน่ คิดถึงสิ่งใดก็จะรู้ชัดเจน เพราะสติมันดีขึ้น เมื่อสติดีขึ้น ความคิดที่คิดขึ้นมา จิตก็จะมีสติตามรู้ความคิดไปเรื่อยๆ เมื่อผู้มาทำสติถ้ากำหนดตามรู้ความคิดที่เกิดดับๆ อยู่ ผลลัพธ์ก็คือว่าจะทำให้ผู้ปฏิบัติรู้พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือรู้ว่าความคิดย่อมมีเกิดขึ้น ทรงอยู่ ดับไปๆ นอกจากจะรู้พระไตรลักษณ์คือ อนัจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว ยังจะต้องรู้ทุกขอริยสัจจ์ เพราะความคิดเท่านั้นที่จะมาแหย่ให้เราเกิดความสุขความทุกข์ เกิดความยินดียินร้าย เมื่อเรากำหนดสติตามรู้อย่างไม่ลดละ เราก็จะรู้พระไตรลักษณ์ รู้ทุกขอริยสัจจ์ที่จะพึงเกิดขึ้นกับจิต
4 พฤษภาคม 2554     |      4308
ธรรมะจรรโลงใจ / "ความมุ่งหมายของการฟังธรรม"
ความมุ่งหมายของการฟังธรรม ความมุ่งหมายของการฟังธรรมนั้น มีอยู่ ๕ ประการ คือ * ฟังธรรมเอาบุญ * ฟังธรรมเอาความรู้ * ฟังธรรมเพื่อเป็นอุปนิสัย * ฟังธรรมเพื่อปฏิบัติ * ฟังธรรมเพื่ออุทิศส่วนบุญ ๑. ฟังธรรมเอาบุญ หมายความว่า ฟังธรรมแล้วได้บุญ บุญแปลว่า ชำระ คือ ชำระกายวาจาใจให้สะอาด เพราะกายวาจาใจของคนเราเปื้อนบาป จึงจำเป็นต้องชำระด้วยน้ำ คือ บุญ ดุจชำระเสื้อผ้าที่สกปรกด้วยผงซักฟอกฉะนั้น บาปนั้นมีอยู่ ๓ ขั้น คือ บาปอย่างหยาบ ๑ บาปอย่างกลาง ๑ บาปอย่างละเอียด ๑ บาปอย่างหยาบ คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ล่วงออกมาทางกาย เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดประเวณี และล่วงออกมาทางวาจา เช่น พูดเท็จ พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ เป็นต้น ต้องชำระด้วยบุญขั้นต้นคือ ศีล บาปอย่างกลาง คือ นิวรณ์ทั้ง ๕ ได้แก่ กามฉันทะ พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ๑ พยาบาท ใจโกรธ ใจขุ่น ๑ ถีนมิทธะ ง่วงเหงาหาวนอน ๑ อุทธัจจะกุกกุจจะ ฟุ้งซ่านรำคาญ ๑ วิจิกิจฉา สงสัยลังเลใจ ๑ บาปทั้ง ๕ นี้ ต้องชำระด้วยบุญอย่างกลาง คือ สมาธิ บาปอย่างละเอียด คือ อนุสัย ได้แก่กิเลสที่นอนดองอยู่ในใจ ดุจขี้ตะกอนอยู่ก้นตุ่มฉะนั้น มีอยู่ ๑๒ ตัว คือโลภะ ๘ โทสะ ๒ โมหะ ๒ อันเป็นส่วนละเอียดติดมาแต่ภพก่อนชาติก่อน ต้องชำระด้วยบุญขั้นละเอียด คือ วิปัสสนาปัญญา ในขณะที่ท่านทั้งหลายกำลังฟังธรรมอยู่ในขณะนี้ กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ ของแต่ละท่านก็บริสุทธิ์เพราะอำนาจแห่งศีล ศีลแปลว่ารักษากายวาจาให้เรียบร้อย ศีลนี่แหละเป็นบุญขั้นต้น เป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นแม่ของคุณงามความดีทั้งหลาย และเป็นประมุขของกุศลธรรมทั้งปวง จะฟังรู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่องก็ตาม ถ้าตั้งใจฟังแล้วได้บุญทั้งนั้น เพราะจิตดวงนี้เป็นมหากุศล ถ้าตายลงในขณะนี้ก็มีผลให้ไปมนุษย์ก็ได้ ไปเกิดสวรรค์ก็ได้ เช่น แม่ไก่ฟังธรรมถูกฆ่าตาย ได้ไปเกิดเป็นพระราชธิดา กบฟังธรรมถูกฆ่าตายได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรชื่อว่า มัณฑูกเทพบุตร ค้างคาว ๕๐๐ ตัว ฟังพระอภิธรรม ตายแล้วได้ไปเกิดในสวรรค์ ผลสุดท้ายได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ได้ออกบวชเป็นพระ ได้ฟังพระอภิธรรม ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด อย่างนี้เรียกว่า ฟังเอาบุญ ๒. ฟังธรรมเอาความรู้ หมายความว่า ฟังแล้วต้องจำได้ ใครจำได้มากเท่าไร ก็เป็นความรู้ของคนนั้น ถ้าจำไม่ได้ต้องจดไว้ บันทึกไว้ หรืออัดใส่เทปไว้ เปิดฟังบ่อยๆ ฟังจนจำได้ สมดังคำโบราณท่านสอนลูกหลานไว้ว่า “เห็นแล้วจดไว้ ทำให้แม่นยำ เหมือนทราบแล้วจำ ไว้ได้ทั้งมวล เมื่อหลงลืมไป จักได้สอบสวน คงไม่แปรปรวน จากที่จดลง” ๓. ฟังธรรมเพื่อเป็นอุปนิสัย หมายความว่า ในขณะที่ฟังอยู่นั้น ได้ยินบ้างไม่ได้ยินบ้าง มีเสียงอื่นรบกวน ทำให้หนวกหูบ้าง ง่วงนอนบ้าง กำลังทำกิจอย่างอื่น เช่น ล้างถ้วยล้างชามบ้าง โขลกหมากบ้าง ถึงอย่างนั้นก็ยังเป็นบุญอยู่ ตัวอย่าง ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ งูเหลือมตัวหนึ่งได้ยินเสียงพระนักอภิธรรมกำลังท่องอายตนะกถาอยู่ ถือเอานิมิตในเสียงนั้น ตายแล้วได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อพระพุทธเจ้าของเราปรินิพพานแล้ว ได้มาบังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ออกบวชเป็นอาชีวกชื่อว่า ชนะโสณะ ได้ฟังธรรมย่อๆในหัวข้อว่า "อายตนะ" จากพระอุปคุตตเถระ ก็เกิดความเลื่อมใสอย่างแก่กล้า ขอบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา เรียนพระกรรมฐาน เจริญวิปัสสนา จนได้บรรลุมรรคผลนิพพานเป็นพระอรหันต์ ๔. ฟังธรรมเพื่อปฏิบัติ หมายความได้ ๒ อย่าง คือ ฟังแล้วจำไว้ มีโอกาสเมื่อใดก็นำไปปฏิบัติได้เมื่อนั้น นี้อย่างหนึ่ง ถ้าเป็นนักปฏิบัติวิปัสสนา สามารถฟังไปปฏิบัติไปพร้อมกันได้เลย เพราะในขณะที่ได้ยินเสียงพระแสดงธรรมอยู่นั้น ขันธ์ ๕ เกิดแล้ว อารมณ์ของวิปัสสนาเกิดแล้ว คือเสียงกับหูเป็นรูปขันธ์ ได้ยินเสียงธรรมะแล้วสบายใจ เป็นเวทนาขันธ์ จำได้เป็นสัญญาขันธ์ แต่งให้เห็นว่าดีหรือไม่ดีเป็นสังขารขันธ์ ได้ยินเป็นวิญญาณขันธ์ ย่อให้สั้นๆก็ได้แก่รูปกับนาม รูปนามนี้แหละเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ดังนั้น นักปฏิบัติวิปัสสนาจึงลงมือปฏิบัติได้ทันที โดยตั้งสติไว้ที่หู ตัวอย่าง พาหิยะทารุจีริยะ ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าที่ตรัสว่า "ได้ยินก็สักว่าแค่ได้ยิน" ไม่ช้าท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ๕. ฟังธรรมเพื่ออุทิศส่วนบุญ หมายความว่า เราตั้งใจฟังธรรมได้บุญแล้ว ก็อุทิศส่วนบุญนั้นให้แก่ บิดามารดา ครู อาจารย์ ท่านผู้มีบุญคุณ ท่านผู้มีพระคุณ.ที่มา พระธรรมเทศนาอริยธนกถา โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ กรุงเทพมหานคร ๒๕๒๔, อนุสรณ์ คุณหญิงเจือ นครราชเสนี
4 พฤษภาคม 2554     |      4504
ทั้งหมด 11 หน้า