งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต
Networking Systems and Internet Services
ธรรมะจรรโลงใจ / " ยึดติด "
สุด .. ได้เลขท้าย ๓ ตัวมาจากหลวงพ่อ เลยแทงไป ๑๕ บาท ปรากฏว่าถูกเผง ได้มา ๖๐๐ บาท เขาดีใจมาก เที่ยวอวดใครต่อใครในหมู่บ้านว่าถูกหวย แต่พอรู้ว่า คอนซึ่งเป็นเพื่อนบ้าน ก็แทงหวย ๓ ตัวถูกเหมือนกัน แต่ได้เงินมากกว่าคือ ๒ , ๐๐๐ บาท เพราะแทงมากกว่า สุดเลยยิ้มไม่ออก หงอยไปทั้งวัน แถมยังโมโหตัวเองที่แทงน้อยไป ใจ .. ไปเที่ยวไนท์บาซ่า เห็นผ้าพื้นเมืองลายงาม ราคา ๕๐๐ บาท แต่เธอต่อได้ ๓๕๐ บาทจึงคว้าผ้าผืนนั้นกลับโรงแรมด้วยความดีใจ แต่พอรู้ว่าไก่เพื่อนร่วมห้องก็ซื้อผ้าแบบเดียวกันมา แต่ได้ราคาถูกกว่า คือ ๓๐๐ บาท ใจก็หุบยิ้มทันที ไม่รู้สึกโปรดปรานผ้าของตนอีกต่อไป แม้เราจะมี " โชค " หรือได้ของดีที่ถูกใจ แต่หากไปเปรียบเทียบกับของคนอื่นเมื่อใด สุขก็อาจกลายเป็นทุกข์ทันที หากรู้ว่าคนอื่นได้มากกว่า ได้ของดีกว่า หรือได้ของที่ถูกกว่า ส่วนของดีที่เราได้มากลับด้อยคุณค่าไปถนัดใจ บางครั้งอาจทำให้เราทุกข์กว่าตอนที่ยังไม่ได้ของนั้นมาด้วยซ้ำ ที่จริงไม่ต้องไปเทียบกับของคนอื่นก็ได้ เพียงแค่เห็นของรุ่นใหม่วางขายหรือโฆษณาตามสื่อต่างๆ ก็เกิดความไม่พอใจในของเดิมที่มีอยู่ทันที ทั้งๆ ที่มันก็ยังใช้ได้ดี ไม่มีปัญหาอะไรรบกวนใจ ยกเว้นข้อเดียวคือ มันสู้ของใหม่ที่วางขายไม่ได้ ทั้งๆ ที่มีของดีอยู่กับตัว แต่คนเราแทนที่จะพอใจกลับรู้สึกเป็นทุกข์ เพียงเพราะใจไปจดจ่ออยู่กับสิ่งดีกว่า (หรือมากกว่า) ที่ตัวเองยังไม่มี แต่เมื่อใดก็ตามที่ของชิ้นนั้นเกิดมีอันเป็นไป เช่นทำตกหล่นหรือถูกขโมยไป เราก็จะกลับมาเห็นคุณค่าของมัน และนึกเสียใจที่เสียมันไป จะกินจะนอนก็ยังนึกถึงมันด้วยความเสียดาย ทั้งหมดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นใน กรณีที่เป็นสิ่งของเท่านั้น แต่ยังเกิดกับกรณีที่เป็นคนด้วย เช่น คนรัก หรือแม้แต่พ่อแม่และลูก ผู้คนจำนวนมากไม่เห็นคุณค่าหรือมีความสุขกับคนใกล้ชิด เพราะไปนึกเปรียบเทียบคนอื่นว่าเขามีพ่อแม่ คนรัก หรือลูกที่ดีกว่าเรา แต่วันใดที่เราเสียเขาไป เราถึงจะกลับมาเห็นคุณค่าของเขา และเศร้าโศกเสียใจจนถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับเลยทีเดียว เฝ้าหวนคำนึงถึงวันคืนเก่าๆ ที่เขาเคยอยู่กับเรา คนเรามักทุกข์เพราะจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ยังไม่มี หรืออาลัยในสิ่งที่สูญเสียไป พูดให้ครอบคลุมกว่านั้นก็คือ ทุกข์เพราะใจยังติดยึดอยู่กับอนาคตและอดีต อนาคตและอดีตที่ว่ามิได้หมายถึง สิ่งดีๆ ที่ยังไม่มีหรือที่เสียไปเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสิ่งไม่พึงปรารถนาที่ (คาดว่า) รออยู่ข้างหน้า เช่นอุปสรรค และสิ่งไม่พึงปรารถนาที่พานพบ คำต่อว่า หรือการกระทำที่น่ารังเกียจ คำตำหนิติเตียนไม่ว่าจะรุนแรงแค่ไหน แต่ก็ทำอะไรเราไม่ได้ หากเราไม่เก็บเอาคิดซ้ำคิดซาก คำพูดเหล่านั้นผ่านพ้นไปนานแล้ว แต่ที่ยังบาดใจเราอยู่ก็เพราะเราไม่ยอมปล่อยวางมันต่างหาก ยิ่งคิดคำนึงถึงมันมากเท่าไรก็ยิ่งซ้ำเติมตัวเองมากเท่านั้น การเอาเปรียบ กลั่นแกล้ง ทรยศ หักหลัง ก็เช่นกัน แม้เป็นอดีตไปนานแล้ว แต่เราก็ยังทุกข์อยู่กับเหตุการณ์ดังกล่าว ไม่ใช่เพราะเขายังทำเช่นนั้นกับเราอยู่ แต่เป็นเพราะเราชอบย้อนภาพอดีต กลับมาฉายซ้ำในใจอย่างไม่ยอมเลิกรา ย้อนแต่ละทีก็เหมือนกับกรีดแผลลงไปที่ใจ หยุดย้อนอดีตเมื่อใดใจก็หายเจ็บเมื่อนั้น อดีตเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ส่วนอนาคตยังมาไม่ถึง แต่จะมาถึงหรือไม่ ไม่มีใครรู้ได้! แต่บ่อยครั้งเรากลับยึดมั่นสำคัญหมายอย่างเป็นจริงเป็นจัง ว่ามันจะต้องเกิด ขึ้นแน่ เท่านั้นยังไม่พอถ้าเป็นเรื่องแง่ลบด้วยแล้ว เรามักจะวาดภาพไปในทางเลวร้าย แล้วก็ยึดมันเอาไว้ไม่ให้คลาดไปจากใจ ทั้งๆ ที่ยิ่งคิดก็ยิ่งทุกข์ ชายผู้หนึ่งเดินขึ้นตึกไปหาหมอ เพื่อฟังผลตรวจโรค พอหมอบอกว่า พบก้อนมะเร็งระยะที่สองในปอดของเขา เขาก็ถึงกับทรุด เข่าอ่อนเดินไม่ได้ กลับถึงบ้านก็กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ซึมไปเป็นเดือน ส่วนหญิงผู้หนึ่ง ป่วยกระเสาะกระแสอยู่นานหลายสัปดาห์ แล้ววันหนึ่งหมอก็บอกว่า เธอเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายที่ตับ จะอยู่ได้ไม่เกิน ๓ เดือน ปรากฏว่าผ่านไปแค่ ๑๒ วัน เธอก็สิ้นใจ ทั้งสองกรณีไม่ได้ทรุดฮวบเพราะโรคมะเร็งเล่นงาน แต่เป็นเ พราะใจเสีย ทันทีที่ได้ยินข่าวร้าย ใจก็นึกภาพอนาคตของตัวเองไปในทางเลวร้าย ยิ่งผู้ป่วยรายที่สองด้วยแล้ว เธอนึกไปถึงวันตายของตัวเองเลยทีเดียว แถมยังปรุงแต่งไปในทางที่มืดมน เท่านั้นไม่พอเธอยังหมกมุ่นกับภาพดังกล่าวไม่หยุดหย่อน ทั้งๆ ที่มันยังไม่เกิดขึ้น ผลก็คือถูกความทุกข์ท่วมทับจนมิอาจทานทนต่อไปได้ บ่อยครั้งเราเป็นทุกข์เพราะเรื่องที่ยังมาไม่ถึง เช่น การสอบไม่ติดหรือตกงาน โดยตัวมันเองไม่ก่อปัญหาแก่เรา มากเท่ากับใจที่ปรุงแต่งไปล่วงหน้า ว่านับแต่นี้ไปชีวิตจะลำบากยากแค้นเพียงใด แล้วจะอยู่ดูโลกนี้ต่อไปได้อย่างไร แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็อาจพบว่าที่แท้เราตีตนก่อนไข้ไปเอง เพราะปัญหาต่างๆ ที่ตามมาไม่ได้หนักหนาสาหัสอย่างที่คิด สามารถแก้ไขให้ลุล่วงไปได้ในที่สุด อย่างไรก็ตาม เราไม่ได้ปรุงแต่งเหตุการณ์ที่ยังมาไม่ถึงเท่านั้น กับสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า บางครั้งเราก็ปรุงแต่งให้เลวร้ายเกินจริง เช่น อยู่รีสอร์ตคนเดียวกลางดึก ได้ยินเสียงผิดปกติ ก็ปรุงแต่งไปทันทีว่าถูกผีหลอก หรือไม่ก็มีคนจะมาทำร้าย เห็นคู่รักกำลังคุยอย่างสนิทสนมกับชายหนุ่มในร้านอาหาร ก็คิดไปทันทีว่า เธอกำลังนอกใจ การคิดปรุงแต่งที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงนั้น เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ แต่เมื่อใดที่เราหลงยึดว่ามันเป็นเรื่องจริง เราก็กำลังก่อทุกข์ให้กับตัวเอง แถมยังสามารถสร้างปัญหาให้แก่คนอื่นได้ด้วย วัยรุ่นนั่งกินอาหารอยู่หน้าร้าน เผอิญขี้นกหล่นใส่หัว แต่เขากลับคิดว่าเจ้าของร้านถ่มน้ำลายใส่หัว จึงทะเลาะกับเจ้าของร้านอย่างรุนแรง สักพักก็ออกจากร้านแล้วกลับมาพร้อมกับพวกอีกหลายคน ควักปืนออกมายิงกราด ถูกภรรยาเจ้าของร้านซึ่งกำลังท้อง ๕ เดือนตายคาที่ กลายเป็นฆาตกรที่ถูกตำรวจหมายหัวทันที การยึดติดสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นเอง เป็นที่มาอีกประการหนึ่งของความทุกข์ ทีแรกเราเป็นฝ่ายปรุงแต่งมันขึ้นมา แต่เผลอเมื่อใดมันก็กลับมาเป็นนายเรา สามารถผลักใจของเราไปสู่ความทุกข์ และชักนำชีวิตของเราไปในทางเสื่อมได้ง่ายๆ กี่ครั้งกี่หนที่เราทำร้ายตัวเองและทำร้ายซึ่งกันและกัน เพียงเพราะหลงเชื่อ ความคิดที่เราปรุงแต่งขึ้นมา พูดอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่า สิ่งที่ไม่ได้ปรุงแต่งขึ้นมาเอง แต่เป็นความจริงแท้ๆ จะไม่ก่อปัญหา ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายสิ่งหลายอย่างที่สร้างความทุกข์แก่เรา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ อยู่ในขณะนี้ เช่น รถเสีย เงินไม่พอใช้ ทะเลาะกับคนรัก ลูกคบเพื่อนไม่ดี งานไม่ก้าวหน้า แต่ถ้าเรามัวแต่นึกถึงเรื่องเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไร ก็กวาดเอาปัญหาต่างๆ มาครุ่นคิดด้วย ทั้งๆ ที่ไม่เกี่ยวกันเลย เช่น กำลังทำงานอยู่ ก็ไปกังวลถึงรถ ถึงลูก ถึงพ่อแม่ แล้วยังห่วงคู่รักอีก อย่างนี้แล้วจะไม่ทุกข์ได้อย่างไร ปัญหาเป็นเรื่องที่ต้องแก้ ไม่ได้มีไว้ให้กลุ้ม ! แต่เมื่อใดที่เรากวาดเอาปัญหาต่างๆ มาทับถมจิตใจ ทั้งๆ ที่ยังไม่ถึงเวลา (หรือไม่ใช่เวลา) ที่จะแก้ไข ก็เตรียมตัวกลุ้มได้เลย นี้เป็นการยึดติดอีกแบบหนึ่ง อันที่จริงแม้มีปัญหาแค่เรื่องเดียว แต่ถ้าหมกมุ่นอยู่กับมันตลอดเวลา ก็ทำให้คลั่งได้ ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องเล็กแต่ก็กลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ง่ายๆ เช่น หมกมุ่นกับสิวไม่กี่เม็ดบนใบหน้าวันแล้ววันเล่า ก็อาจทำให้เจ็บป่วยหรือถึงกับทำร้ายตัวเองได้ การยึดเอาปัญหาต่างๆ มาทับถมใจ บางครั้งก็ไปไกลถึงขนาดไปกวาดเอาปัญหาของคนอื่น มาเป็นของเราเสียเอง เช่น เพื่อนมาปรึกษาปัญหาชีวิต ก็เลยเอาปัญหาของเขามาเป็นของตนด้วย จนกินไม่ได้นอนไม่หลับ เท่านั้นยังไม่พอบางคนถึงกับแบกปัญหาของประเทศมาไว้กับตัว เลยเป็นเดือน! เป็นแค้นกับสถานการณ์บ้านเมือง ทะเลาะกับใครไปทั่วที่คิดต่างจากตน สุดท้ายก็เลยกลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาบ้านเมืองไป การยึดติดที่ลึกไป กว่านั้นคือ การยึดติดในตัวตน สาเหตุที่เราทะเลาะกับคนที่คิดไม่เหมือนเรา ก็เพราะเรายึดติดในความคิดของเรา ความสำคัญมั่นหมายว่านี้เป็น " ความคิดของฉัน " สะท้อนถึงความยึดติดในตัวตน หรือที่ท่านพุทธทาสเรียกว่า ยึดติดใน " ตัวกู ของกู " นอกจากความคิดแล้ว เรายังยึดติดสิ่งต่างๆ อีกมากมายว่า เป็นตัวฉันของฉัน อาทิ สิ่งของ บุคคล ชุมชน ประเทศ ศาสนา มีอะไรมากระทบกับสิ่งนั้น ก็เท่ากับว่ากระทบ " ตัวฉัน " ด่าว่ารถของฉัน ก็เท่ากับด่าฉันด้วย วิจารณ์ศาสนาของฉันก็เท่ากับวิจารณ์ฉันด้วย เป็นเพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งของสูญหาย คนรักจากไป เราจึงอดหวนนึกถึงไม่ได้ เพราะใจยังยึดว่าเป็นของฉันอยู่ จึงยังมีเยื่อ! ใยที่ดึงให้ใจย้อนระลึกถึงอยู่เสมอ เวลาให้ของแก่ใครไป ความยึดติดในของชิ้นนั้นก็ยังมีอยู่ จึงเฝ้าดูว่าเขาจะใช้ของชิ้นนั้นหรือไม่ ถ้าไม่ใช้ก็รู้สึกเป็นทุกข์ที่เขาไม่ได้ใช้ของ " ของฉัน " ญาติโยมหลายคนจึงไม่สบายใจที่พระไม่ได้ฉันอาหารที่ตนถวาย ยึดติดในตัว ตนอีกอย่างคือการยึดมั่นสำคัญหมายว่า ฉันเก่ง ฉันหล่อ ฉันเป็นส.ส. ฯลฯ ไปไหนก็อดตัวพองไม่ได้ อยากแสดงบารมีให้ใครรู้ว่า " นี่กูนะ " อยู่ที่ใดก็ต้องการให้คนชื่นชม สรรเสริญ เคารพ นบไหว้ แต่ถ้าไม่ได้รับการปฏิบัติดังกล่าว ก็จะโมโหขุ่นเคือง จนอาจคำรามว่า " รู้ไหมว่ากูเป็นใคร ?" ยิ่งเจอคำวิจารณ์ด้วยแล้ว ยิ่งทนไม่ได้เข้าไปใหญ่ การยึดติดใน " ตัวกู ของกู หรือนี่กู! นะ " เป็นรากเหง้าแห่งความทุกข์ นานัปการ นำไปสู่การกระทบกระทั่งขัดแย้งและทำร้ายกัน ขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดความเครียดบีบคั้นภายใน เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ใช่แต่เท่านั้น แม้ได้สิ่งที่พึงปรารถนา ก็ยังทุกข์เพราะได้ไม่สมใจ หรือทุกข์ที่คนอื่นได้มากกว่า ที่น่าแปลกก็คือเราไม่ได้ยึดเอาแค่สิ่งดีๆ ที่ถูกใจ ว่าเป็นตัวกูของกูเท่านั้น สิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูกใจ เราก็ยังยึดเป็นตัวกูของกูอีกเช่นกัน เช่น ความเจ็บปวด เมื่อเกิดกับกาย แทนที่จะเห็นว่า กายปวดเท่านั้น กลับไปยึดเอาว่า " ฉันปวด " ความปวดเป็นของฉัน เมื่อความโกรธเกิดขึ้นกับใจ ก็ยึดมั่นสำคัญหมายว่า " ฉันโกรธ " ความโกรธเป็นของฉัน ความยึดมั่นดังกล่าวรุนแรงชนิดที่ใจไม่ยอมไปไหน มัวจดจ่อวนเวียนอยู่กับความปวดหรือความโกรธนั้นๆ อย่างเดียว ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะความเผลอของใจ รู้ทั้งรู้ว่ายึดแล้วทุกข์แต่ก็ยังยึดเพราะขาดสติ ถ้าใจมีสติ ก็จะไม่เผลอยึดต่อไป ความปวดความโกรธยังมีอยู่ก็จริง แต่คราวนี้มันทำอะไรจิตใจไม่ได้ เพราะใจไม่โดดเข้าไปให้ความปวดความโกรธเผาลน เหมือนกองไฟที่ยังลุกไหม้อยู่ แต่ตราบใดที่เราไม่โดดเข้าไปในกองไฟ หากถอยออกมาห่างๆ เป็นแค่ผู้สังเกตเฉยๆ ไฟก็ทำอะไรเราไม่ได้ สติช่วยให้ใจแยกออกมาอยู่ห่างๆ จากความเจ็บปวดแ! ละอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น กลายเป็น " ผู้ดู " มิใช่ " ผู้ปวด " หรือ " ผู้โกรธ " จากความยึดติดกลายเป็นการปล่อยวาง การปล่อยวางดังกล่าว คือ หัวใจของการเป็นอิสระจากความทุกข์ทั้งหลาย เพราะกล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว ความทุกข์ทั้งมวลเกิดจากความยึดติด ยึดติดอดีตกับอนาคต ยึดติดสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นเอง ยึดติดปัญหาต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต รวมทั้งยึดเอาปัญหาต่างๆ มาเป็นของตน ที่สำคัญคือ การยึดติดในตัวตน เมื่อใดที่ปล่อยวางจากความยึดติดดังกล่าวได้ ความทุกข์ก็ไม่อาจทำอะไรเราได้อีกต่อไป สติช่วยให้เรารู้ตัวเมื่อเผลอไปอาลัยอาวรณ์ในอดีต หรือวิตกกังวลกับอนาคต พาจิตกลับมาอยู่กับปัจจุบันเมื่อรู้ตัวว่า เผลอไปจมอยู่กับเหตุร้ายที่ผ่านไปแล้ว คอยทักท้วงใจไม่ให้หลงเชื่อความคิดปรุงแต่ง เพราะตระหนักว่า ความจริงอาจไ! ม่เป็นอย่างที่คิด ในยามที่เผลอกวาดเอาปัญหาต่างๆ มาทับถมใจจนหนักอึ้ง สติช่วยให้เราแก้ปัญหาเป็นเปลาะๆ เป็นเรื่องๆ ไม่เอาปัญหาใดมาครุ่นคิดหากยังไม่ถึงเวลา (หรือไม่ใช่เวลา) ที่จะแก้ เวลาพักผ่อน ก็พักผ่อนเต็มที่ เมื่อถึงเวลาแก้ปัญหา ก็ใช้ปัญญาอย่างเต็มที่ ไม่มามัวตีโพยตีพาย หรือน้อยเนื้อต่ำใจว่า "ทำไมถึงต้องเป็นฉัน ?" ความทุกข์นั้นไม่ได้อยู่ที่ว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับเรา แต่อยู่ที่ว่าเรามีท่าทีหรือรู้สึกอย่างไรกับมันต่างหาก แม้ปัญหาจะหนัก แต่ถ้าเริ่มต้นจากการยอมรับมันว่า เป็นความจริงที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ปฏิเสธผลักไสมันหรือก่นด่าชะตากรรม ตั้งสติให้ได้แล้วหาทางแก้ไขมัน แต่ขณะที่มันยังไม่หายไปไหน ก็ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน ไม่หวนนึกถึงอดีตอันผาสุก หรือปรุงแต่งอนาคตไปในทางเลวร้าย ขณะเดียวกันก็ไม่หมกมุ่นอยู่กับปัญหา หากปล่อยวางมันบ้าง ความสุขก็หาได้ไม่ยาก นายทหารผู้หนึ่งไปเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ในฐานที่ทรงเคยเป็นอุปัชฌาย์ของตนมาก่อน พอ! ไปถึงประโยคแรกที่กราบทูลก็คือ " หนักครับ ช่วงนี้แย่มากเลยครับ " ว่าแล้วเขาก็ทูลเล่าปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามาในชีวิต สมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงฟังอยู่นาน แทนที่จะตรัสแนะนำหรือปลอบใจ พระองค์กลับรับสั่งให้เขานั่งคุกเข่า ยื่นมือสองข้าง แล้วพระองค์ก็เอากระดาษแผ่นหนึ่งวางบนฝ่ามือของเขา " นั่งอยู่นี่แหละ อย่าไปไหนจนกว่าข้าจะกลับมา " รับสั่งเสร็จพระองค์ก็เสด็จเข้าไปในตำหนัก นายทหารนั่งในท่านั้นอยู่นาน จาก ๑๐ นาทีเป็น ๒๐ นาที สมเด็จพระสังฆราชก็ยังไม่เสด็จออกมา เขาเริ่มเหนื่อย มือและขาเริ่มสั่น กระดาษชิ้นเล็กๆ หนักขึ้นเรื่อยๆ จนประคองแทบไม่ไหว พอสมเด็จพระสังฆราชเจ้าเสด็จกลับมา ก็ทรงถามว่า " เป็นไง ?" คำตอบของเขาคือ " หนักครับ พระเดชพระคุณ เมื่อยจนจะทนไม่ไหว " " อ้าว ทำไมไม่วางมันลงเสียละ ?" สมเด็จรับสั่ง " ก็ไปยอมให้มันอยู่อย่างนั้น มันก็หนักอยู่ยังงั้นนะซี มันจะเป็นอื่นไปได้ยังไง " กระดาษที่เบาหวิว แต่หากถือไว้นานๆ ไม่ยอมปล่อย ก็กลายเป็นของหนักไปได้ แต่ปัญหาถึงจะใหญ่โตเพียงใด ถ้าไม่ยึดถือเอาไว้ ก็ไม่ทำให้เรา! ทุกข์ได้ ใช่หรือไม่ว่าหินก้อนใหญ่จะกลายเป็นของหนัก และสร้างทุกข์ให้แก่เราก็ต่อ เมื่อเราแบกมันเอาไว้เท่านั้น เมื่อมีสติรักษาใจ รู้เท่าทันความคิด ไม่เผลอยึดติดจนจิตหนักอึ้ง แม้งานจะยาก อุปสรรคจะเยอะ ก็ยังเป็นสุขอยู่ได้
1 มกราคม 2557     |      8788
ธรรมะจรรโลงใจ / "ภรรยา 4 คนคนไหนจะสำคัญที่สุดในชีวิคเรา"
ภรรยา 4 คน ชายคนหนึ่งมีภรรยา อยู่ 4 คน ดังต่อไปนี้ ภรรยาคนที่ 1 เขารักที่สุด ไปไหนมาไหนด้วยกัน ตามใจตลอดอยากได้อะไร  เขาหาให้ทุกอย่าง  ภรรยาคนที่ 2 เขารักมาก เขาจะทำทุกสิ่ง ทุกอย่างเพื่อภรรยาคนนี้  และจะไปหาภรรยาคนนี้เสมอ ภรรยาคนที่ 3 เขารักรองลงมา ดูแลเอาใจใส่พอควร แวะไปหาบางเป็นครั้งคราว  ภรรยาคนที่ 4 เขาไม่เคยสนใจ ไม่เคยดูแลเอาใจใส่ ไม่เคยไปหา ไม่คิดถึงเลย ด้วยซ้ำ ต่อมาชาย คนนี้ไปกระทำความผิดร้ายแรง และถูกจับ ต้องถูกประหารชีวิต ก่อนที่จะถูกประหาร เขาขอร้องว่า เขาขอกลับบ้าน เพื่อไปร่ำลาภรรยาสุดที่รักซักครั้ง  ผู้คุมเห็นใจจึงอนุญาต  เมื่อกลับมาถึงบ้าน เขารีบตรงไปหาภรรยาคนที่ 1  เล่าเหตุการณ์ต่างๆ ให้ฟัง  และถามภรรยา คน ที่ 1 ว่า " ถ้าเขาต้องตายภรรยาคนที่ 1  จะทำอย่าง ไร? "  ภรรยาคนที่ 1 ตอบน้ำเสียงที่เย็นชาว่า  “ถ้าเธอตาย เราก็จบกัน”  คำตอบที่ได้รับ  เหมือนสายฟ้าที่ผ่าเปรี้ยง!! ลงมาที่เขาอย่างจัง  เขารู้สึกเจ็บปวด และเสียใจเป็นอย่างยิ่ง นึกเสียดาย ว่าเขาไม่ควรทุ่มเทให้ภรรยาคนนี้เลย จากนั้นเขาก็ ไปหา ภรรยาคนที่ 2  ด้วยอาการเศร้าโศก เล่า เรื่องราวต่างๆ ให้ ฟัง  และถามคำถามเดิมกับภรรยาคนที่ 2 ว่า " ถ้าเขาต้องตาย ภรรยาคน ที่ 2  จะทำอย่างไร? " ภรรยาคนที่ 2 ก็ ตอบอย่างหน้าตาเฉย ว่า  " ถ้าเธอตาย ฉันจะมีใหม่ "  เหมือนสายฟ้า!! ผ่าลงมาซ้ำที่เขา อย่างจัง  เขารู้สึกเสียใจมาก และนึกเสียดายว่าที่ผ่านมา เขาไม่ควร ทุ่มเทให้ภรรยาคนนี้เช่นกัน เขาเดินคอตกมาหาภรรยาคนที่ 3  เล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ ฟัง  และถาม ภรรยา คนที่ 3 ว่า "ถ้าเขาต้องตาย ภรรยาคน ที่ 3  จะทำอย่างไร? " ภรรยาคนที่ 3 ตอบว่า  "ถ้าเธอตาย ฉันจะไปส่ง "  ทำให้เขาคลายความ เศร้าโศกขึ้นมาได้บ้าง  อย่างน้อยก็ ยังมีภรรยาที่จริงใจกับเขา  ก่อนกลับไปรับโทษ เขานึกขึ้นมาได้ว่ามีภรรยาอีกคน ซึ่งไม่เคยไปหาเลย จึงไปหา ภรรยาคนที่ 4 และถามว่า  " ถ้าเขาต้องตาย ภรรยาคนที่ 4  จะทำอย่าง ไร?" ภรรยาคนที่ 4 ตอบว่า  " ถ้าเธอตาย ฉันจะตามไป ด้วย "  แทนที่เขาจะดีใจกลับนึกเสียใจหนักขึ้นไปอีก  เพราะ...มัน สายเกินไปเสียแล้ว ช่วงที่เขามีชีวิตอยู่ เขาไม่เคยเห็นค่าของภรรยาคนนี้ แต่ภรรยาคนนี้ไม่คิดที่จะทิ้งเขา จะติดตามเขาไปอยู่ด้วย  แล้วชายคนนี้ก็กลับไปรับโทษประหาร และเมื่อเขาตาย ภรรยาคนที่ 4 ก็ตายตามไป ด้วย..... เราทุกคนก็ มีภรรยา 4 คน นี้ มีคำถามว่า ภรรยาทั้ง 4 คนเป็นใคร? คิดกันก่อนนะ แล้วค่อยเฉลย... ทีนี้เรามาดูกันว่า  ภรรยาคน ที่ 1, 2, 3 และ 4  เป็นใครกันบ้าง ภรรยาคน ที่ 1  ร่างกายของเรา เพราะเวลาเรามีชีวิตอยู่  เราจะบำรุงบำเรอด้วยของสิ่งทุกอย่าง  อยากได้อะไรก็หาให้  แต่พอเราตายมันกลับไม่ไปกับเรา  เมื่อเราตาย ร่างกายมันก็มีค่าเท่ากับท่อนไม้ ท่อนหนึ่งเท่านั้น ภรรยาคน ที่ 2  ทรัพย์สมบัติ เพราะเวลาเรามีชีวิตอยู่  เราจะทำทุกอย่าง เพื่อให้ได้มันมา  แต่พอเราตาย มันกลับไม่ไปกับเรา  แต่ไปเป็นของคนอื่น ภรรยาคนที่ 3  พ่อแม่ ลูกเมีย ญาติ พี่น้อง เพราะพอเราตาย  เขาจะทำศพให้เรา ทำบุญไปให้ แปลว่า เขาแค่ไปส่งเราเท่านั้น  ภรรยาคนที่ 4  บุญกับบาป เมื่อเราตายไป  เราไม่สามารถเอาอะไรไปด้วยได้  มีเพียงแค่บุญกับบาปเท่านั้น ที่จะตามเราไป .....  
1 มกราคม 2557     |      15145
ธรรมะจรรโลงใจ / "คำกลอนธรรมดี ๆ จาก ท่านพุทธทาส"
คำกลอนธรรมดี ๆ จาก ท่านพุทธทาส  กรรมดี ดีกว่ามงคล สืบสร้าง กุศล ดีกว่า นั่งเคล้า ของขลัง พระเครื่อง ตะกรุด อุทกัง ปลุกเสก แสนฉมัง คาดมั่ง แขวนมั่ง รังรุง ขี้ขลาด หวาดกลัว หัวยุ่ง กิเลส เต็มพุง มงคล อะไร ได้คุ้ม อันธพาล ซื้อหา มาคุม เป็นเรื่อง อุทลุม นอนตาย ก่ายเครื่อง รางกอง ธรรมะ ต่างหาก เป็นของ เป็นเครื่อง คุ้มครอง เพราะว่า เป็นพระ องค์จริง มีธรรม ฤามี ใครยิง ไร้ธรรม ผีสิง ไม่ยิง ก็ตาย เกินตาย เหตุนั้น เราท่าน หญิงชาย เร่งขวน เร่งขวาย หาธรรม มาเป็น มงคล กระทั่ง บรรลุ มรรคผล หมดตัว หมดตน พ้นจาก เกิด แก่ เจ็บ ตาย บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ใจกาย อุปัทวะ ทั้งหลาย ไม่พ้อง ไม่พาน สถานใด เหนือโลก เหนือกรรม อำไพ กิเลสา- สวะไหน ไม่อาจ ย่ำยี บีฑา ฯ (พุทธทาส ภิกขุ http://www.thai.net/watthasai/kamma01.html กรรมดี ดีกว่ามงคล สืบสร้าง กุศล ดีกว่า นั่งเคล้า ของขลัง พระเครื่อง ตะกรุด อุทกัง ปลุกเสก แสนฉมัง คาดมั่ง แขวนมั่ง รังรุง ขี้ขลาด หวาดกลัว หัวยุ่ง กิเลส เต็มพุง มงคล อะไร ได้คุ้ม อันธพาล ซื้อหา มาคุม เป็นเรื่อง อุทลุม นอนตาย ก่ายเครื่อง รางกอง ธรรมะ ต่างหาก เป็นของ เป็นเครื่อง คุ้มครอง เพราะว่า เป็นพระ องค์จริง มีธรรม ฤามี ใครยิง ไร้ธรรม ผีสิง ไม่ยิง ก็ตาย เกินตาย เหตุนั้น เราท่าน หญิงชาย เร่งขวน เร่งขวาย หาธรรม มาเป็น มงคล กระทั่ง บรรลุ มรรคผล หมดตัว หมดตน พ้นจาก เกิด แก่ เจ็บ ตาย บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ใจกาย อุปัทวะ ทั้งหลาย ไม่พ้อง ไม่พาน สถานใด เหนือโลก เหนือกรรม อำไพ กิเลสา- สวะไหน ไม่อาจ ย่ำยี บีฑา ฯ (พุทธทาส ภิกขุ http://www.thai.net/watthasai/kamma01.html
1 มกราคม 2557     |      8481
ธรรมะจรรโลงใจ / "เทวดาในเมืองมนุษย์"
ธรรมดาสัตว์ที่ไปเกิดในนรกก็มีแต่ไฟ  มีแต่ทุกข์  มันไม่สามารถที่จะพิจารณาให้เห็นทุกข์ได้                ทั้งๆ ที่อยู่ในกองทุกข์  มันก็ร้องแต่ว่าทุกข์  แต่ว่ามันก็ไม่มีสติปัญญาที่จะไปดับทุกข์ได้  เพราะว่ามันเต็มปรี่ไปด้วยทุกข์ทั้งนั้น                ส่วนเหล่าเทวาที่ได้ไปเกิดในชั้นเทพ  ก็มีแต่ความสนุกสนาน  มีกามคุณเป็นที่เป็นทิพย์  ก็พากันมัวเมาเพลิดเพลินไป  เลยไม่มีโอกาสที่จะเกิดความเข้าใจไปรู้เรื่องของอนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตาได้  นอกเสียจากเทวดาพวกที่เป็นพระอริยบุคคลเท่านั้นจึงจะรู้ได้                ดูพวกเทวดาในเมืองมนุษย์เป็นตัววอย่างบ้างก็ได้  หนุ่มสาวที่กำลังอยู่ในวัยสวยวัยงาม  ปราดเปรียวเพรียวลม  ถ้าจะไปบอกว่า  ความสวย  ความงามของเขานั้น  ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์และก็ไม่ใช่ตัวตน  พวกเขาก็คงไม่ยอมรุ้ประสีประสาด้วยเหมือนกัน                มนุษย์ธรรมดานี่ยังหลงใหลอยู่ในความสวยงาม  ก็ล้วนเห่อเหิมเพิ่มเชื้อ  เชื่อมั่นอยู่กับตัวตนกันอยุ่ทั้งนั้น  นี่ก็หลงกันอยู่เท่าไหร่แล้ว                ความหลงเช่นนี้มันเป็นธรรมดากันไปหมดสิ้นแล้ว  มีแต่จะหลงตามๆ  กันหนักเข้า                แถมยังว่าโลกเจริญ  มันก็เจริญไปด้วยความหลง  ไม่ใช่เจริญด้วยความรุ้ชัด  ที่จะมองเห็นความเสื่อมสิ้น  ไม่ค่อยมีใครจะรู้ได้                จะพากันมองไปทางวัตถุด้วยกันทั้งนั้น  หรือไม่ก็เป็นทางกามคุณทั้งหมด  หลงใหล  ใฝ่ฝัน  มัวเมากันไปแต่ภายนอกตัวของตัวก็ไม่เคยจะเหลียวมามอง                ไม่มีกำลังพอจะเข้าใจว่ารูปไม่เที่ยงเป็นอย่างไร  เวทนาไม่เที่ยงอย่างไร  แยกแยะไม่ได้  อ่อนนิ่มกันไปหมด                เพราะว่ามีแต่แรหลงมัวเมา  เพลิดเพลินไปตามอารมณ์อยุ่ท่ามกลางความหลง  เกินกว่าจะเชื่อความจริง                อยู่ด้วยความหลง  ดำรงชีวิตด้วยความหลง  ตายไปกับความหลง  แม้จะเกิดใหม่อีก็ยังคงมีความหลงอยู่เหมือเดิม  คงจะต้องวนเวียนซ้ำๆ  ซากๆ  อยู่ในวัฎสงสาร  นานจนกว่าจะยอมรู้ความจริงและช่วยตนได้  ซึ่งไม่รุ้ว่าจะยายนานอีกเพียงใด                ดูเพียงเผินๆ  แล้ว  เทวดาน่าจะสุข  แต่พระพุทธองค์ท่านกล่าวว่า  “สุขนั้นไม่ยั่งยืนจะเวียนไปสู่ความทุกข์”  ดังนั้นถ้าจะบอกว่า  เทวดานั้นก็คือ  สัตว์นรกที่ถูกปลดปล่อยมาชั่วขณะ  ก็คงไม่ผิด                และถ้าตามดูให้ดีก็จะเห็นว่า  เทวดาในเมืองมนุษย์นี้  ไม่ช้าเกินรอ  ก็จะพากันกลับตกลงไปในนรกโลกันต์ให้เห็นนั้นมีอยู่มากมายไม่น้อยเลย                การปฏิบัติที่เป็นไปให้รู้จักทุกข์ในอริยสัจจ์  เพื่อความบริสุทธิ์เท่านั้นที่พอจะช่วยได้!
1 มกราคม 2557     |      7021
ธรรมะจรรโลงใจ / " การรักษาจิตคล้ายดูแลควาย "
 เวลาเลี้ยงควาย เราปล่อยควายให้เดินไปตามถนน เจ้าของก็เดินตามหลังควาย สบาย ๆ? สองข้างทางเป็นไร่นา บางครั้งควายเดินออกนอกถนน ไปกินข้าวในนาของเพื่อนบ้าน เจ้าของก็ต้องตีบ้าง กระตุกเชือกบ้าง ให้ควายกลับขึ้นมาบนถนนใหม่ เมื่อควายเรียบร้อย เดินบนถนนก็เดินตามหลังควายสบาย ๆ เมื่อควายเข้าไปในนากินต้นข้าว รีบดึงควายให้กลับออกมาบนถนน ทำอยู่อย่างนั้นเรื่อย ๆ ไป เจ้าของควาย คือ สติ ควาย คือ จิต ถนน คือ ลมหายใจ ถนนยาว ๆ คือ ลมหายใจยาว ๆ ต้นข้าว คือ นิวรณ์ 5 เอาสติผูกจิตไว้กับลมหายใจ พยายามกำหนดรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ติดต่อกันสม่ำเสมอ เหมือนเอาสติผูกจิตไว้กับลมหายใจ ความรู้สึกอยู่ที่ไหน จิตก็อยู่ที่นั่น เมื่อสติรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า จิตก็อยู่ที่นั่น ขาดสติเมื่อไร จิตก็คิดไปต่าง ๆ นานา ตามกิเลส ตัณหา ตามนิวรณ์?ก็รีบต่อสติ กำหนดรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า อานาปานสติ ขั้นที่ 1-2 เมื่อจิตคิดออกไป รีบเรียกมาอยู่ที่ลมหายใจออกยาว ลมหายใจเข้ายาว หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ สบาย ๆ การเจริญอานาปานสติเหมือนกับคนเลี้ยงควาย คอยควบคุมควายให้เดินบนถนน หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ สบาย ๆมีสติรู้อยู่กับลมหายใจ ให้ติดต่อกันตลอดสาย
1 มกราคม 2557     |      7698
ธรรมะจรรโลงใจ / "สติรักษาจิต "
ตั้งใจ กำหนดจิตให้ดี  เราปฏิบัติภาวนาต้องอาศัยสติเป็นของสำคัญ  ระลึกถึงจิตอยู่เสมอๆ  กำหนดไว้ที่จิต    ครั้นเห็นจิตของตนแล้ว  กำหนดจิตของตนไว้จึงจะรู้เรื่องในการเทศน์  จิตเท่านั้นแหละที่เราจะต้องรักษา  นอกจากจิตแล้วไม่มีอะไรหรอก  อวัยวะทั้งหมดทุกชิ้นส่วนของร่างกายนี้  มีจิตเป็นใหญ่    จิตนี้แหละพาวิ่งพาว่อนพาท่องเที่ยวไปมา  พาให้เดือดร้อนเป็นทุกข์  ก็เพราะจิตนั่นแหละ   ถ้าเรารักษาสำรวมจิต  เห็นว่าเป็นทุกข์เดือดร้อนวุ่นวายแล้วก็หยุดเสีย  มันก็ได้ความสุขเท่านั้นเอง          ที่เราไม่รู้จักเรื่องจิต  เราไม่มีสติรักษา  มันจึงส่งส่ายหาเรื่องทุกข์ต่างๆ  จนกระทั่งมันทุกข์แล้วจึงค่อยรู้เรื่อง  มันสุขแล้วจึงค่อยรู้เรื่องของจิต  ในเวลาที่มันส่งส่ายอยู่นั้นไม่รู้เรื่องของมันเลย  จึงว่าจิตอันเดียวเท่านั้นที่ต้องรักษา    การภาวนาทั้งหมดก็มารวมที่จิตนี้แห่งเดียว  รักษาอันเดียวเท่านั้นแหละ  ให้รักษาจริงๆจังๆ    ใน เวลานี้เราจะนั่งสมาธิหรือฟังเทศน์  เราจะสำรวมจิตให้อยู่ในขอบข่ายของสติ  สติเป็นคนคุม  เมื่ออยู่ในขอบข่ายของสติแล้วก็หมดเรื่องกัน          สติ คือ ผู้ระลึกถึงจิตอยู่เสมอๆ  นั่นเรียกว่าสติความระลึกได้    จิต คือ ผู้คิด ผู้นึก ผู้ส่งส่าย,   อาการเป็นอย่างนั้นเรียกว่าสติ    ถ้าไม่มีจิตมันก็ไม่มีสติ  ถ้าไม่มีสติมันก็ไม่มีจิต  แท้ที่จริงก็อันเดียวกันนั่นแหละ  แต่มันเป็นอาการ(ของจิต)คนละอย่างกัน(เจตสิก ๕๒)  หน้าที่คนละอันกัน          สติเหมือนกับพี่เลี้อง  จิตเหมือนกับลูกอ่อน  ควบคุมรักษากันอยู่ตลอดเวลา  ลูกอ่อนที่มันซุกซน  พี่เลี้องต้องระวังอย่างเข้มแข็ง  ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะหลุดพลัดโผไปตกถูกของแข็ง  หรือตกไปในที่ลุ่มทำให้เจ็บได้    ถึงอย่างไรก็ต้องรักษาสติตัวเดียวเท่านั้นแหละ  พี่เลี้องต้องรักษาอยู่ตลอดเวลา    กว่าจะพ้นอันตรายได้  มันใช้เวลาหน่อย  เลี้ยงเด็กมันก็หลายปีกว่าจะเติบโตขึ้นมาได้  ถึงเติบโตขึ้นมาแล้วก็ต้องระมัดระวังสิ่งอื่น เช่นมันซุกซน วิ่งเล่นอะไรต่างๆ ต้องระมัดระวัง  แต่จำเป็นเพราะมันยังเป็นเด็กอยู่    ระวังจนใหญ่โตเป็นหนุ่มเป็นสาวขึ้น  ก็ยังต้องระวังอยู่ตลอดเวลา  เมื่อทำชั่วประพฤติผิด  สติตัวนี้ใช้อยู่ตลอดเวลา  ใช้ตั้งแต่เด็กจนกระทั่งเติบโต  ใช้ตั้งแต่สติผู้คิดผู้นึกทีแรกโน่น  ตลอดจนมันส่งส่ายไปสารพัดทุกเรื่องทุกอย่าง  สติต้องรักษาอยู่ตลอดเวลา  ส่วนเด็กนั้นเรียกว่าเป็นของมีตนมีตัว มันของยากหน่อย  แต่เมื่อเราคุมอยู่แล้ว จิตกลายเป็น(เหมือน - webmaster)ของมีตัว ปรากฎเห็นชัดเลย  จิตอยู่หรือจิตไม่อยู่  จิตวิ่งว่อนเที่ยวไปในที่ต่างๆ  เห็นชัดเลยทีเดียว  เป็นตัวเป็นตนแท้ทีเดียว          ครั้น เรารักษาจิตได้แล้ว  ควบคุมจิตได้แล้ว  สติตัวนั้นตั้งมั่นแล้วมันจะรวมเข้ามาเป็นใจ  คือตรงกลางๆนั่นแหละ  ไม่มีสถานที่หรอก  กลางตรงไหน ก็อันนั้นเป็นใจ ตรงนั้นแหละ  ไม่ใช่อยู่นอกอยู่ใน ข้างบนข้างล่าง   ใจเป็นกลางๆ อยู่ตรงไหนก็นั่นแหละ  ตัวใจตรงนั้นแหละ  หัดสติควบ คุมจิตให้เข้าถึงกลางอยู่เสมอๆ  มันค่อยมีพลังสามารถที่จะคิดค้นในสิ่งต่างๆ  สามารถที่จะระงับดับทุกข์ทั้งปวง  มันเดือดร้อน จะได้ทิ้งได้  เดี๋ยวนี้เราไม่เข้าถึงตรงกลาง จึงละทุกข์ไม่ได้    สิ่งที่ทุกข์ ก็เดือดร้อนวุ่นวาย  สิ่งที่เป็นสุข ก็เพลิดเพลินลุ่มหลง  ไม่เป็นกลางลงไปได้สักที          ถ้า ถึงตรงกลางแล้วนั้น   มันเป็นทุกข์ก็รู้จักทุกข์  ก็ปล่อยวางทุกข์ได้   มันสุขสบายก็ไม่หลงเพลิดเพลินมัวเมา    มันก็เป็นกลางอยู่อย่างนั้น  มันไม่สุขไม่เดือดร้อนวุ่นวาย  ไม่เป็นทุกข์  สติตัวหนึ่ง  จิตตัวหนึ่ง  สติควบคุมจิต    เมื่อควบคุมได้แล้วมันเข้ามาเป็นใจตัวเดียว   ตัวใจเป็นของสำคัญที่สุด  จิตมันออกจากใจ  ถ้าไม่มีใจมันก็ไม่มีจิต  จิตอันใดใจอันนั้น  ใจอันใดจิตอันนั้น  ท่านก็เทศนาอยู่  แต่จิตก็หมายความถึงอันเดียวกันนั่นแหละ          แต่ ทำไมท่านจึงเรียกว่าใจ  ทำไมจึงเรียกว่าจิต   อธิบายให้ฟังว่าใจคือตรงกลางไม่มีส่งส่าย  ไม่มีคิดไปหาบาปอกุศล  ไม่คิดถึงบุญ  หรืออะไรทั้งหมด  ใจที่ตรงกลางๆนั่นแหละ  ไม่มีอะไรหรอก  ไม่คิด  ไม่นึก  ไม่ปรุง  ไม่แต่ง  แล้วก็ไม่เกิดปัญญา    ตรงนั้นไว้เสียก่อน  ให้มันอยู่ตรงกลางเสียก่อน  ปัญญาเกิดหรือไม่เกิดก็ช่างมัน    ที่จะถึงตรงกลางได้มันใช้ปัญญาไม่ใช่น้อย  คิดค้นต่างๆทุกอย่างทุกเรื่อง  คิดค้นมาพอแรงแล้ว ตัวปัญญาใช้มามากแล้ว  คราวนี้เมื่อใช้มันหมดทางไม่มีที่ไปแล้ว  มันจึงเข้ามาเป็นกลาง  ตัวกลางๆนั้น  แต่คนไม่เข้าใจว่ามีปัญญา    แท้ที่จริงปัญญาใช้มามากแล้ว  เข้าถึงตรงกลางแล้วก็เฉยอยู่นั้น          เรา อยากจะรู้จักตรงกลางคืออะไร  หัดอย่างนี้ก็ได้  ทดสอบทดลองดู  กลั้นลมหายใจสักพักหนึ่ง  ไม่มีอะไรหรอก  มีเฉยๆ รู้เฉยๆ ไม่คิดไม่นึก  แต่รู้สึกว่ามันไม่คิดไม่นึก  ไม่ส่งส่ายไปมาหน้าหลัง  ไม่คิดถึงเป็นบาปเป็นบุญอะไรทั้งหมด  ผู้รู้สึกว่าเฉยๆนั่นแหละ  ตัวนั้นแหละตัวกลางตัวใจ (webmaster- ภาวะนี้เกิดจากมีสติ ในการกลั้นลมหายใจอันทำงานอยู่ตลอดเวลาและจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตให้ คงอยู่  จิตจึงต้องมีสติที่ตั้งมั่นแน่วแน่ในการระงับลมนั้น  จึงไม่ส่งส่ายไปปรุง ไปแต่ง  ตั้งมั่นอยู่ในการระงับลมนั้นเป็นเอก)  แต่มันได้ชั่วขณะเดียวในเมื่อเรากลั้นลมหายใจ พอจับตัวมันได้ว่า  ตัวใจมันตัวนี้  คราวนี้มันส่งออกไป  ถ้า มันส่งส่ายเป็นจิต  คิดนึก  สติควบคุมดูแลรักษา  ต้องชำระสะสางสิ่งที่เป็นบาป  ละอกุศล  ปล่อยวางลงไป  สิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศลอันนั้นก็ทิ้งวาง ปล่อยวางลงไป ไม่เอา   บุญก็ไม่เอา บาปก็ไม่เอา  มันถึงเข้าถึงกลางได้  เอาบุญก็ไม่เข้าถึงกลาง เอาบาปก็ไม่เข้าถึงกลาง  เมื่อละทั้งสองอย่างแล้วจึงเป็นกลางได้   นั่นแหละใช้ปัญญาอุบายมากมาย  จนกระทั่งมาเป็นใจ          ธรรมดา จิตกับใจนี้มันเกี่ยวเนื่องกันอยู่  เข้ามาเป็นใจพักหนึ่งแล้วมันก็อยู่ไม่นาน  มันก็ออกไปอีก  วิ่งว่อนไปตามเรื่องของมัน  แต่เราตั้งสติกำหนดรู้ใจรู้จิตของมัน เรื่องมันวิ่งว่อนไปด้วยประการต่างๆ  มันซุกซน  รู้เรื่องของมัน    คำว่ารู้นั้น หมายความว่า  ละทิ้งในสิ่งที่มันไม่ดี  เมื่อละไปหมดแล้ว  มันก็กลับมาช่องกลางนั้นอีก  การหัดสมาธิภาวนา  ถ้าหัดอย่างนี้ได้บ่อยๆเสมอๆ  ไม่เตลิดเปิดเปิงหลงไปตามจิต  ไม่มีสถานี  ไม่หยุด ไม่หย่อน อันนั้นใช้ไม่ได้   พิจารณาจนหมดเรื่องแล้ว  ถ้ามันถูก มันกลับมาอีกหรอก มาเป็นใจ    ถ้าไม่ถูกก็เลยเตลิดเปิดเปิงไปใหญ่โตมโหฬาร          ถึงอย่างไรก็ขอให้ทำให้เข้าใจถึงใจอยู่เสมอๆ  ความสงบที่เข้าถึงใจที่เป็นหนึ่งนั้นเป็นการดีมาก   ถึงไม่ได้ปัญญาก็เอาเถอะ  เอาเพียงเท่านี้ก็เอาเสียก่อน  เอาที่ความสงบนั่นแหละ  ให้มั่นคงถาวรแล้วมันถึงเกิดเองหรอก  อย่ากลัวเลย  กลัวว่าจิตจะไม่คิดไม่นึก ไม่ปรุงไม่แต่ง  มันคิดมันนึกมันปรุงมันแต่ง  ก็รู้เท่ารู้เรื่องมันอยู่ถ้าหากมันเข้าถึงใจแล้ว  นี่การภาวนาต้องหัดอย่างนี้  หัดพิจารณาอานาปานสติก็ดี  มรณานุสติก็ดี  พุทโธ อะไรต่างๆหมด  ก็เพื่อให้เข้าถึงใจ  เพื่อให้คุมสติได้    ถ้าหากว่าคุมใจไม่ได้  คุมใจไม่อยู่  อะไรก็เอาเถิด ไม่เป็นผลประโยชน์อะไรเลย          ตัว ของเราทั้งหมดมีจิตอันเดียวเป็นของสำคัญอยู่ในตัวของเรา  คนมากมายหมดทั้งโลกนี้ก็จิตตัวเดียว  จิตคนละดวงๆเท่านั้นแหละ  มันวุ่นวายอยู่นี่แหละ  แต่ละคนๆ รักษาจิตของเราไว้ได้แล้ว  มันจะวุ่นอะไร  มันก็สงบหมดเท่านั้น  ต่างคนต่างรักษาใจของตน    ต่างคนมีสติรักษาใจเท่านั้นก็เป็นพอ    ที่ มันยุ่งมันวุ่นก็เพราะเหตุที่ไม่รู้ใจของตน  รักษาใจของตนไว้ไม่ได้  มีโลภโมโทสันสารพัดทุกอย่าง  วุ่นวี่วุ่นวายเกิดแต่ใจนี่ทั้งนั้น   แล้วใจมันได้อะไรล่ะ   โลภมันได้อะไรไปใส่ใจ  โลภมันไปกองอยู่ที่ใจมันได้อะไร  โทสะเอาไปไว้ที่ไหนล่ะ  ไปไว้ที่ใจมีไหมล่ะ    โมหะ ความหลงไปไว้ที่ใจมีไหม   ใจไม่เห็นมียุ้งมีฉางใส่  ใจไม่เห็นมีตนมีตัว  มัน ได้อะไร  มีแต่ความว่างเปล่า ไม่มีอะไรเลย    ผู้ที่ว่าได้ว่าดีนั้น มันดีตรงไหน  โลภโมโทสันได้มาแล้วว่าดีนั้น   โกรธ  โลภ หลง  คนนั้นคนนี้    เห็นตนว่าวิเศษวิโส  ว่าตนดี  มันดีอะไร  วิเศษอะไร  มีแต่ความเดือดร้อนวุ่นวาย          อย่าง ว่า เราได้ของเขามาอย่างนี้  เราโลภอยากได้ของเขา  ได้มามันมีอะไรในที่นั้น   ได้มาอยู่มากิน  ได้มาบริโภคใช้สอย  ใช้อะไรก็ตัวนี้ละใช้  มันใหญ่มันโตมันอ้วนมันพีขึ้นไหมล่ะตัวนี้  มันก็ไม่เห็นมีอะไร  มีแต่แก่เฒ่าชำรุดทรุดโทรมไปทุกวัน   อย่างว่า โทสะ มานะ ทิฏฐิเกิดขึ้นมา  ถือตนถือตัว  ถือเราถือเขา    มานะทิฏฐิเกิดขึ้นมาไม่ยอม  กระด้างถือตัว  มันได้อะไรกัน  ไม่เห็นมีอะไร    ตัวมันพองขึ้นโตขึ้นไหม  ตัวนั้นมันดีวิเศษขึ้นกว่าเก่าหรือ   มันเป็นคนสดคนสวยขึ้นกว่าแต่เก่าหรือ  หรือว่าเป็นอะไรไม่เห็นสดสวยอะไร  มีแต่หน้าบึ้งหน้าเบี้ยวหน้ายักษ์หน้ามาร  อยู่ดีๆจะไม่ดีกว่าหรือ    โมหะความลุ่มหลงก็เช่นกัน  มันจะเกิดความโลภ ความหลง  ก็โมหะมาก่อน   มีโมหะแล้วเกิด  โลภ  โกรธ  หลงขึ้นมา    ให้ พิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว  มันหมดเรื่องกัน  จะไปเกิดโมหะ  โทสะ  มานะทิฏฐิไม่มีเลย   เป็นของว่างเปล่าหมดทุกสิ่งทุกอย่าง   เราอยู่เฉยๆจะไม่ดีกว่าหรือ   ทำให้เข้าถึงใจตัวกลางตัวนั้น  จะเบิกบาน  สุขภาพก็ดี  แล้วก็ไม่มีเวรภัย  ไปไหนก็ไม่คับแคบ  ไม่รกโลกของเขา   คนโท สะ  มานะทิฏฐิจะไปไหนมันรกหมด  ไม่ยอมตนยอมตัวไปอยู่ที่ไหนมันคับบ้านคับเมืองหมด  ให้พิจารณาอย่างนี้แหละ  ครั้นถ้าพิจารณาอย่างนี้ถูกทางแล้ว  มันจะรวมเข้าเป็นใจ  เอาละ  พิจารณาเท่านั้นละ
1 มกราคม 2557     |      7418
ธรรมะจรรโลงใจ / "ความน่ากลัวของสังสารวัฏ"
บางครั้งในหมู่คนที่มีความสุขสบายในชีวิต เกิดความขี้เกียจเจริญสติ บางครั้งในหมู่คนที่ มีความสุขสบายในชีวิต พรั่งพร้อมด้วย ทรัพย์สินเงินทอง รูปร่างหน้าตา และสติปัญญา ครั้งแรกๆ ก็สนใจ ใคร่รู้ในการปฏิบัติธรรม แต่เมื่อปฏิบัติไปสักระยะหนึ่ง สมใจอยากแล้ว บางครั้งก็ละเลย เบื่อและเกียจคร้าน ในการปฏิบัติ ขอให้ท่านฉุกคิดขึ้นมาว่า โลกมีสิ่งที่ไม่น่ารัก ไม่น่าพอใจ มากมาย เรามีสิ่งที่เราเกลียด เช่น แมลงสาบ หนูสกปรก หมาขี้เรื้อน .... "ไม่มีสิ่งใดรับประกันได้เลยว่าเราไม่ต้องไปเกิดเป็นสิ่งเหล่านั้น" เว้นเรื่องชาตินี้ ชาติหน้าไปเสีย บางครั้งเราพบเห็นคนที่ประสบอุบัติเหตุ หน้าตาเละ เสียโฉม ตาบอด พิกลพิการ หรือบางคนยากจนค่นแค้น พ่อแม่หรือลูกเมียสร้างหนี้สินภาระไว้ให้มากมายมหาศาล บางคนพลั้งพลาด ถูกหลอกลวง เจ็บแค้นเจ็บปวด ทรมานแสนสาหัส ......"ไม่มีสิ่งใดรับประกันได้เลยว่า เราไม่ต้องประสบพบเจอกับเหตุการณ์เหล่านั้น"เว้นเรื่อง ไกลตัวที่ยังไม่มีไม่เกิด มาดูสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่เช่น ...บ้านอันแสนอบอุ่น ...ครอบครัวที่เรามีอยู่ ...เครื่องใช้อำนวยความสะดวกสบายและบันเทิงทั้งหลายทั้งปวง ...คอมพ์ตัวโปรดที่ใช้เล่นเน็ต หรือแม้แต่ลมหายใจแห่งชีวิตของเรา เมื่อวันใดวันหนึ่งมาถึง สิ่งเหล่านี้ก็ต้องพลัดพรากจากเราไป หรือเราเองนี่แหละที่ต้องพลัดพรากจากมันไป ......"ไม่มีสิ่งใดรับประกันได้เลยว่า ความพลัดพรากใดๆ จะไม่เกิดขึ้น"เว้นเรื่องชีวิต มนุษย์ ไปเสีย ด้วยจิตที่มีกำลังบุญอย่างใหญ่ หรือตั้งมั่นในฌานสมาบัติอันแก่กล้า มีความมั่นใจในอนาคตของตน ที่เห็นสุขคติและความสุข รออยู่เบื้องหน้า แต่ด้วยพระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้าที่รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ได้ทรงสอนไว้แล้วว่าแม้แต่เทวดา หรือ พรหม ใดๆ ก็มีความเสื่อมและต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏนี้ ไม่พ้นไปได้ นี่ไม่ใช่การคิดหรือเห็นโลกในแง่ร้าย แต่นี่คือความจริงของโลกที่เรามิอาจปฏิเสธ เราอาจจะพยายามหลีกเลี่ยง ไม่คิดถึง ไม่พูดไม่นึก พร้อมทั้งสร้างสิ่ง ที่จะสามารถรักษาสิ่งที่ดีดี เหล่านี้ไว้ให้มี นานที่สุด แต่ความเป็นจริงที่ซ่อนอยู่ ซึ่งเราพยายามจะ หลีกเลี่ยงไม่นึกถึงนั้น ก็ยังคงเป็นความจริงอย่างที่สุด ที่เรามิอาจหลีกเลี่ยง เป็นโชคอันมหาศาลอย่างที่สุดที่มี มหาบุรุษผู้เจนโลก ผู้หยั่งรู้แล้วซึ่งความเป็นไปทั้งปวง มาช่วยเหลือเรา ให้พ้นจากวงจรแห่งความไม่แน่นอน จากความมีความเป็น แล้วเราจะเสียเวลา และประมาทอยู่ทำไม??? "ในทางโลก เขาแข่งกันมี แต่ทางธรรม เรามุ่งที่ความไม่มี"
1 มกราคม 2557     |      7384
ธรรมะจรรโลงใจ /" ลด ละ เลิกบริโภค เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า และ เพื่อเมตตาธรรมบารมี "
ลด ละ เลิกบริโภคเนื้อสัตว์ เพื่อสุขภาพ ที่ดีกว่า และ เพื่อเมตตาธรรมบารมี สัตว์เล็กน้อย ใหญ่ ต่างรักตัวกลัวตาย อันตรายอาหารเนื้อสัตว์ ก่อให้เกิดโรคมะเร็งร้ายหลาย ๆ ชนิด ยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญ และ ทีมคณะแพทย์ชื่อดังระดับโลกที่ ทำการศึกษาวิจัยจากผู้ ป่วยกว่า 500000 คนท่วโลก ใช้เวลากว่า 7 ปี โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ แพทย์ กว่า 12000 คน น่ากลัวคาดว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่ ๆ เพิ่มอีกกว่า เนื้อสัตว์ เป็นบ่อเกิด ต้นตอของนานาโรคร้ายหลากหลายชนิด เช่นโรคมะเร็ง เต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และจากการวิจัยล่าสุดโดยมหาวิทยาลัยแพทย์ ฮาวาด์ แห่งสหรัฐ และ มหาลัยแพทย์ ลีด แห่ง ประเทศอังกฤษ เนื้อสัตว์ ยังเป็นต้นเหตุหลัก ๆ ของ มะเร็งต่อมลูกหมาก และ มะเร็งรังไข่ ข้อมูลโดยมหาลัยแพทย์ชื่อดังระดับโลก มหาลัยเทกซัส สหรัฐ มหาลัยชิคาโก สหรัฐ มหาลัยฮาวาย สหรัฐ มหาลัยฮาววาด สหรัฐ มหาลัยแพทย์ แห่งออสเตอเรีย มหาลัยคิวเบค แห่งแคนาดา มหาลัยออกฟอร์ด แห่งอังกฤษ มหาลัยลีด แห่งอังกฤษ มหาลัยแฟงค์เฟิต แห่งเยอรมัน โดยการสนับสนุนสถาบันวิจัย โรคมะเร็ง แห่งสหรัฐ National Cancer Research Institue - USA สถาบันโรคมะเร็ง แห่ง WHO The World Cancer Research Fund ( WCRF ) และวารสารสุขภาพชื่อดังระดับโลกกว่า 100 ฉบับรวมถึง เอกสารทางการแพทย์ จากมหาวิทยาลัยแพทย์ชื่อดังก้องโลก ไม่กินเนื้อสัตว์ แล้วเราจะตายหรือไม่ (พุทธศาสตร์+วิทยาศาสตร์ มุมมองความเห็นจากพระสงฆ์ไทย และจากพระ อาจารย์ บัญฑิต พระฝรั่งชาวอังกฤษ อดีตผู้อุปถาฐพระอาจารย์ สุเมโท พระฝรั่งตะวันตกพระลูกศิษย์ รุ่นบุกเบิก พระอาจารย์ ชา แห่งวัดป่านานาชาติ ขณะนี้จำพรรษาอยู่ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้ให้ข้อมูลว่าขณะนี้ประเทศอังกฤษ ประชากรกว่า40% หรือเกือบ 30 ล้านคน ได้ละเลิกการบริโภคเนื้อสัตว์ มาเป็นอาหารมังสะวิรัติ ปลอดเนื้อสัตว์ เพื่อสุขภาพ และ หวั่นเกรงมหันตภัยโรคร้าย จากเนื้อสัตว์ ที่เคยคุกคามฆ่าชีวิตชาวอังก ฤษเป็นจำนวนมากจากโรคมะเ ร็ง ไขมันอุดตัน โรคหัวใจ ปีละจำนวนมาก ๆ ต่อเนื่องด้วยโรควัวบ้าระบาด เมื่อ 6 ปีก่อน และอีก 3 ปีถัดมาโรคไข้หวัดนกระบาด ทำให้ชาวอังกฤษหวาดผวาภัยจากเนื ้อสัตว์
1 มกราคม 2557     |      6626
ธรรมะจรรโลงใจ / "การขอโทษ และ ให้อภัย"
การรู้จักขอโทษนั้นเป็นมารยาทอันดีงามสำหรับตัวผู้ทำเอง และเป็นการช่วยระงับหรือช่วยแก้โทสะของผู้ถูกกระทบกระทั่งให้เรียบร้อยด้วยดีในทางหนึ่ง หรือจะกล่าวว่าการขอโทษคือการพยายามป้องกันมิให้มีการผูกเวรกันก็ไม่ผิด เพราะเมื่อผู้หนึ่งทำผิด อีกผู้หนึ่งเกิดโทสะเพราะถือความผิดนั้นเป็นความล่วงเกินกระทบกระทั่งถึงตน แม้ไม่อาจแก้โทสะนั้นได้ ความผูกโกรธหรือความผูกเวรก็ย่อมมีขึ้น ถ้าแก้โทสะนั้นได้ก็เท่ากับแก้ความผูกโกรธหรือผูกเวรได้ เป็นการสร้างอภัยทานขึ้นแทน อภัยทานก็คือการยกโทษให้ คือการไม่ถือความผิดหรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษ อันอภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้ ยิ่งกว่าแก่ผู้รับ เช่นเดียวกับทานทั้งหลายเหมือนกัน คืออภัยทานหรือการให้อภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใสพ้นจากการกลุ้มรุมบดบังของโทสะ... โกรธแล้วหายโกรธเอง กับโกรธแล้วหายโกรธเพราะให้อภัย ไม่เหมือนกัน โกรธแล้วหายโกรธเองเป็นเรื่องธรรมดา ทุกสิ่งเมื่อเกิดแล้วต้องดับ ไม่เป็นการบริหารจิตแต่อย่างใด แต่โกรธแล้วหายโกรธเพราะคิดให้อภัย เป็นการบริหารจิตโดยตรง จะเป็นการยกระดับของจิตให้สูงขึ้น ดีขึ้น มีค่าขึ้น ผู้ดูแลเห็นความสำคัญของจิต จึงควรมีสติทำความเพียรอบรมจิตให้คุ้นเคยต่อการให้อภัยไว้เสมอ เมื่อเกิดโทสะขึ้นในผู้ใดเพราะการปฏิบัติล้วงล้ำก้ำเกินเพียงใดก็ตาม พยายามมีสติพิจารณาหาทางให้อภัยทานเกิดขึ้นในใจให้ได้ ก่อนที่ความโกรธจะดับไปเสียเองก่อน ทำได้เช่นนี้จะเป็นคุณแก่ตนเองมากมายนัก ไม่เพียงแต่จะทำให้มีโทสะลดน้อยลงเท่านั้น และเมื่อปล่อยให้ความโกรธดับไปเอง ก็มักหาดับไปหมดสิ้นไม่ เถ้าถ่านคือความผูกโกรธมักจะยังเหลืออยู่ และอาจกระพือความโกรธขึ้นอีกในจิตใจได้ในโอกาสต่อไป ผู้อบรมจิตให้คุ้นเคยอยู่เสมอกับการให้อภัย แม้จะไม่ได้รับการขอขมา ก็ย่อมอภัยให้ได้ ในทางตรงกันข้าม ผู้ไม่เคยอบรมจิตใจให้คุ้นเคยกับการให้อภัยเลย โกรธแล้วก็ให้หายเอง แม้ได้รับการขอขมาโทษ ก็อาจจะไม่อภัยให้ได้ เป็นเรื่องของการไม่ฝึกใจให้เคยชิน อันใจนั้นฝึกได้ ไม่ใช่ฝึกไม่ได้ ฝึกอย่างไดก็จะเป็นอย่างนั้น ฝึกให้ดีก็จะดี ฝึกให้ร้ายก็จะร้าย... ..พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร..
1 มกราคม 2557     |      22122
ธรรมะจรรโลงใจ /"อาหารใจ พระราชชัยกวี"
ความอิ่มเอิบด้วยอารมณ์ ทางรู้ เสียง กลิ่น รส สัมผัสนั้น เป็นอาหารฝ่ายโลก ส่วนความอิ่มเอิบด้วยปีติปราโมทย์ อันเกิดจาก ความที่ใจสงบ จากอารมณ์รบกวนนั้น เป็นอาหารฝ่ายธรรม อุดมคติของชีวิต คือ ความถึงที่สุดแห่งอารยธรรม ทั้งฝ่ายโลกและฝ่ายธรรม ถ้ามีเพียงอย่างเดียวชีวิตนั้น ก็มีความเป็นมนุษย์เพียงครึ่งเดียว หรือซีกเดียว การหาความสำราญให้แก่กายของเรา ได้ไม่สู้ยากนัก แต่หาความสำราญให้แก่ใจนั้น...ยากเหลือเกิน ความสำราญฝ่ายกายนั้นเห็นได้ง่าย รู้จักง่าย ความสำราญฝ่ายใจนั้นตรงกันข้ามทุกอย่าง แม้อย่างนั้นก็ไม่มีใครเชื่อเช่นนี้กี่คนนักเพราะเขาเชื่อว่า เมื่อกายสำราญแล้ว...ใจก็สำราญเอง ไม่มีความสำราญที่ไหนอีก พวกที่นิยมความสำราญกาย ในทางโลกกล่าวว่า “ใจอยู่ในกาย” แต่พวกที่นิยมความสำราญในทางธรรมกล่าวว่า “กายอยู่ในใจ” พวกแรกรู้จักโลกเพียงซีกเดียว พวกหลัง อยู่ในโลกนานพอจนรู้โลกทั้งสองซีก ขณะเมื่อพวกที่สำราญกาย กำลังปรนเปรอให้เหยื่อ แก่ความหิวของเขา อย่างเต็มที่อยู่นั้น พวกที่ชอบสำราญใจ กำลังเอาชนะความหิวของเขาได้ ด้วยการบังคับอินทรีย์ จนมันดับสนิท สงบเย็น อยู่ภายใต้อำนาจของเขาเอง พวกแรก เข้าใจเอาคุณภาพของการให้ “สิ่งสนองความอยาก” แก่ความหิวของตน ว่าเป็นความสำราญ พวกหลัง เอาคุณภาพของการที่ยิ่งไม่ต้องให้ “สิ่งสนองความอยาก” เท่าใดยิ่งดี ว่าเป็นความสำราญ พวกหนึ่งยิ่งแพ้ตัณหามากเท่าใดยิ่งดี อีกพวกหนึ่ง ยิ่งชนะตัณหามากเท่าใดยิ่งดี พวกที่ชอบสำราญกาย ย่อมพ่ายแพ้ตัณหาอยู่เองแล้ว โดยไม่รู้สึกตัว เขาทำเอง และชักชวนลูกหลาน ให้หาความสำราญกายอย่างเดียว เพราะไม่รู้จักสิ่งอื่นนอกจากนั้น พวกที่ตั้งหน้าแต่จะหาอะไรมาให้ได้ ตามที่ตนอยากนั้น ครั้นได้เครื่องสำราญกายมา ใจก็ยังไม่สงบสุข เพราะมันยังอยากได้ ของแปลก ของใหม่อยู่เสมอไป คือได้เพียงความสำราญกายชั่วแล่น เหมือนกินข้าวมื้อหนึ่ง ก็สงบความหิวไปได้ชั่วมื้อหนึ่ง พวกที่หลงความสำราญกาย เมื่อมีหม่นหมองใจเกิดขึ้น ก็มีแต่ซัดเอาว่า ตนเป็นคนมีกรรม หรือโชคร้าย ไม่เหมือนคนอื่นเขา ก็น้อยใจโชคตัวเองอย่างหาที่เปรียบมิได้ เมื่อยังไม่แสวงหาโชคโดยทางใด ก็ไม่ได้เสียแล้ว ก็เหมาเห็นไปว่า ในโลกนี้ไม่มีความยุติธรรม มีความดุร้าย คนที่ปล่อยตัวให้ใจหม่นหมองไป เพราะมัวเมาวัตถุ ในที่สุดก็ต้องมอบตัวให้แก่ธรรมชาติฝ่ายต่ำ ประกอบกรรมชนิดที่ โลกไม่พึงปรารถนา ต่อสู้สิ่งที่ตนเรียกว่าโชคชะตาไปเรื่อย ๆ อย่างดีที่สุดที่คนพวกนี้จะทำได้ ก็เพียงแต่ เป็นผู้ทนระทมทุกข์อยู่ ด้วยการแช่งด่าโชคชะตาของตนเองเท่านั้น ในสโมสรหรือสมาคม ของพวกที่แสวงกันแต่ความชำราญทางกาย ซึ่งกำลังร่าเริงกันอยู่นั้น พวกเทพยดาย่อมรู้ดีว่า เป็นการเล่นละครย้อมสีหน้าก็มี หลงละเมอทำ ๆ ไป ทั้งที่ตัวเองหลอกตัวเองให้เห็นว่าเก๋ ว่าสุขก็มาก บางคน ต้องร้องไห้ และหัวเราะ สลับกันทุกวัน ๆ วันละหลาย ๆ ครั้ง จิตใจฟูขึ้นและเหี่ยวห่อลง ขึ้น ๆ ลง ๆ ตามที่กระเป๋าพองขึ้นหรือยุบลง หรือตามแต่จะได้เหยื่อที่ถูกใจ และไม่ถูกใจ ใจของพวกนี้ ยังเหลืออยู่นิดเดียวเสมอ เท่าที่เขารู้สึก จึงทำให้เขาเข้าใจว่า “ใจอยู่ในกาย” คือแล้วแต่กายหรือสำคัญอยู่ที่กาย เพราะต้อง ต่อเมื่อเขาได้รับความสำราญกายเต็มที่แล้วต่างหาก ใจของเขาจึงจะเป็นอย่างที่เขาถือว่า “เป็นสุข” แม้บางคราว คนพวกนี้จะเอ่ยถึงความสำราญใจกันบ้าน ก็เพียงการหลงตู่เอาความสำราญฝ่ายกายขึ้นมาทดแทนเท่านั้น คำว่า “สำราญใจ” ของเขา เป็นคนละอย่างจากความสำราญในฝ่ายใจอันแท้จริง จะสำราญได้อย่างไร ในเมื่อถูกทำให้พองขึ้น ยุบลง พองขึ้น ยุบลง อยู่เสมอ ความพองขึ้นก็ตาม ยุบลงก็ตาม ย่อมเป็นสิ่งทรมานใจให้เหน็ดเหนื่อยเท่ากัน เพียงแต่เป็นรูปร่างที่ต่างกันเท่านั้น สำหรับผู้นิยมทางฝ่ายสำราญกายนั้น ลาภ ยศ สรรเสริญ และหาความเพลิดเพลิน ทำใจให้พองเบ่งเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกสบประมาท และหาความเพลินมิได้ ทำให้ใจยุบเหี่ยว แต่ทั้งสองอย่างนี้ทำความหวั่นไหวโยกโคลง หนักอกหนักใจให้แก่จิตใจเท่ากัน เมื่อเขาได้สมอยาก เขาก็ได้ความหวั่นไหว เมื่อไม่ได้ ก็ได้ความหวั่นไหว เมื่อมืดมนหนักเข้าก็แน่ใจลงไม่เสียว่า ความอร่อย หรือขณะที่อร่อยนั้นแหละ เป็น “นิพพาน” ของชีวิต แต่ที่จริง เขาผู้นั้นยังไม่ได้ถอยห่างออกมาจากกองทุกข์แม้แต่นิดเดียว มันเป็นเพียงความสำคัญผิดที่จะมัดตรึงตัวเอง ให้ติดจมอยู่กับบ่อโคลนนั่นตลอดเวลาเท่านั้น ผู้ที่มีดวงตาแห่งปัญญา จงพิจารณาสืบไปเถิดว่า ความสำราญทางฝ่ายโลก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าฝ่ายกาย หรือวัตถุนั้น คือ อะไร? เมื่อได้หมกมุ่นมัวแต่จะแสวงอาหารให้แก่กายท่าเดียวแล้วจะเป็นอย่างๆ? ถ้ารู้จักความสุขเฉพาะในด้านนี้ด้านเดียว มันเป็นการรู้จักโลกเพียงซีกเดียวอย่างไร คนที่รู้จักโลกดีแล้วนั้น ย่อมบูชาความสำราญทางธรรมหรือการฝ่ายใจอันแท้จริงเป็นสำคัญ และถือเอาส่วนกาย หรือวัตถุ เป็นเพียงเครื่องอำนวยความสะดวก ในฐานะเป็นคนรับใช้ สำหรับคอยรับใช้ในการแสวงหาความสำราญในฝ่ายจิตเท่านั้น ผู้ที่รู้จักโลกดีทั้งสองด้าน ย่อมมีอุดมคติว่า “กายอยู่ในใจ” คือแล้วแต่ใจ กายเป็นของนิดเดียว และยังจำต้องอาศัยใจซึ่งทรงอำนาจสิทธ์ขาด ทั้งมีคุณภาพที่สูงสุดอยู่ทุก ๆ ประการ และทุก ๆ เวลา แสวงหาอาหารให้ดวงใจดีกว่า ความเจริญงอกงามทางฝ่ายใจนั้น ยังไปได้ไกล อีกมากมายนัก กว่าจะถึงพระนิพพานเมื่อไรนั่นแหละจึงจะหมดขีดขึ้นของทางไป และเมื่อลุถึงแล้ว ก็ยังเป็นอุดมสันติสุข อยู่ตลอดอนันตกาลอีกด้วย ไม่มีใครเคยทำให้เกิดความอิ่มความพอ ในเรื่องทางโลกีย์วิสัยได้เลย แม่ในอดีต ในปัจจุบัน และอนาคต เพราะว่าทางฝ่ายนี้ต้องการ “ความไม่รู้จักพอ” นั้นเอง เป็นเชื้อเพลงอันสำคัญแห่งความสำราญ ถ้าพอเสียเมื่อใดก็หมดความสำราญ ใครจะขวนขวายอย่างไร ก็ไม่อาจได้ผลสูงไปกว่า “การสยบซบซึมอยู่ท่ามกลางกองเพลิงแห่งการถูกปลุกเร้าของตัณหา” ซึ่งเมื่อใดม่อยหรี่ลง ก็จำต้องหาเชื้อเพลิง มาเพิ่มให้ใหม่อีก และไม่มีเวลาที่จะรู้จักอิ่มรู้จักพอ การแสวงหาอาหารทางฝ่ายใจ เพื่อดวงใจนั้นเป็นสิ่งที่มีค่า น่าทำกว่า เป็นศิลปะกว่า เป็นอุดมคติที่สูงกว่า ทำยากหรือน่าสรรเสริญกว่า หอมหวนกว่า เยือกเย็นกว่า ฯลฯ กว่าการแสวงหาทางกาย เพื่อกายโดยทุก ๆ ปริยาย บันทึกแห่งกำลังใจ นักวัตถุนิยม เห็นกายเป็นใหญ่ ย่อมเสียสละได้ทุกอย่าง เพื่อให้กายหรือโลกของตนอิ่มหมีพีมัน ส่วนนักจิตนิยม เห็นแก่จิตเป็นใหญ่ ย่อมเสียสละได้ทุกอย่างเหมือนกัน เพื่อแลกเอาความสงบเยือกเย็นของจิต ผู้แสวงหาความสำราญทางกายนั้น การแสวงของเขา จำเป็นอยู่เองที่จะต้องกระทบกับผู้อื่น เพราะความสำราญกายนี้ เป็นของต้องเนื่องด้วยการเสียสละของผู้อื่น หรือการสนับสนุนของสิ่งอื่น ที่แวดล้อมอยู่โดยรอบ เมื่อมีความเห็นแก่ตัวอยู่ ก็ต้องมีการกระทบกันเป็นธรรมดา การสงคราม ก็มีการปะทะของคนหลายคน ที่ต่างฝ่ายต่างมีความเห็นแก่ตัว เพื่อความสำราญทางโลกียวิสัยนั้นเอง สงครามโลกนั้นก็เป็นเพียงความเห็นแก่ตัว ของคนหลายชาติรวมกันเท่านั้น ไม่ต่างอะไรกันเลย การแสวงหาความสุขทางฝ่ายจิตนั้น จะไม่กระทบกระทั่งใครเลยแม้แต่น้อย เพราะเหตุว่า มีอะไร ๆให้แสวงหาอยู่ในตนผู้เดียวเสร็จ ไม่ต้องเนื่องด้วยผู้อื่น และมีแต่จะเสียสละให้ผู้อื่น การกระทบกระทั่งระหว่างบุคคล หรือแม้การกระทบกระทั่งระหว่างส่วนรวม ซึ่งเรียกว่าสงครามก็ตาม ไม่สามารถเกิดจากผู้แสวงหาความสุขทางจิต เช่นเดียวกับที่ไฟไม่สามารถเกิดจากความเย็น การแสวงหาอาหารทางฝ่ายกาย ง่ายหรือตื้นเป็นต้นเหตุแห่งสงครามการแสวงหาอาหารทางฝ่ายใจ ยากหรือลึก และเป็นต้นเหตุแห่งสันติภาพ แต่กระนั้น มนุษย์ในโลกนี้ ส่วนมากก็ปล่อยตนไปตามสัญชาตญาณ หรือธรรมดาฝ่ายต่ำมากเกินไปจนเห็นมีแต่ผู้ถือลัทธิวัตถุนิยมกันเกลื่อนโลก ยิ่งนานวันเข้าเพียงใด วิธีแสงหาอาหารทางใจก็ยิ่งลบเลือนหายไปจากความทรงจำ และการเอาใจใส่ของมนุษย์มากขึ้นเพียงนั้น ในที่สุด ก็ไม่มีอะไรเหลืออยู่ในมันสมองของมนุษย์ นอกจากความเป็นทาสกามหรือความเห็นแก่ตัวนั่นแหละคือสมัยที่ไฟประลัยกัลป์จะล้างโลก ผู้แสวงหาความสุขทางใจในโลกนี้มีอยู่เพียงไม่กี่คนก็ตาม ก็เป็นเหมือนลูกตุ้มที่ค่อยถ่วงโลก มิให้หมุนไปถึงยุคมิคสัญญี พินาศด้วย ไฟประลัยกัลป์เร็วเกินไปเพียงนั้น พวกแสวงหาสุขทางฝ่ายจิต ควรจะพูดกับผู้อื่นได้โดยชอบธรรมว่า “เรายอมรับว่า เป็นลูกตุ้มจริง แต่ว่าเป็นลูกตุ้มที่ถ่วง มิให้พวกท่าน วิ่งเข้าไปสู่กองไฟเร็วเกินไป ถ้าพวกข้าพเจ้า เป็นอย่างท่านไปเสียด้วย เชื่อแน่ว่าโลก คงจะแตกดับ เร็วกว่าที่พวกข้าพเจ้าจะแยกเป็นอยู่เช่นนี้” พระพุทธองค์ ทรงเป็นนายกแห่งสมาคมผู้แสวงสุขทางใจเพียงพระองค์เดียวและสมัยเดียว ก็ชื่อว่าเป็นโลกนาถ ที่พึ่งของโลก หลายสมัย เพราะว่าเป็นอิทธิพลแห่งธรรมะ ที่พระองค์ทรงเปิดเผยไว้ในโลก ได้ถ่วงโลกไว้มิให้หมุนไปหาความแตกดับ จนแม้ที่สุด แต่คนที่ไม่เคยได้ยินชื่อของพระองค์ ก็ยังพลอยมีส่วนได้รับผลนั้นด้วย เมื่อโลกละทิ้งการแสวงหาอาหารทางใจ มารับเอาแต่อาหารทางกายมากขึ้นเช่นทุกวันนี้ พระพุทธองค์ก็ทรงช่วยอะไรไม่ได้ เพราะโลกเป็นฝ่ายที่ทิ้งหลักการของพระองค์เสียเอง ตราบใดที่พุทธบริษัททุกคน ยังภักดีต่อการแสวงหาความสุขทางใจกันอยู่ นับว่า ตระกูลของพระองค์ยังไม่ขาดทายาทเสียทีเดียว และจะยังเป็นเหมือนลูกตุ้มน้อย ๆที่เหลืออยู่เพื่อความปลอดภัยของตัวมันเอง และเพื่อโลกด้วย แม้ขณะที่พวกอื่นเขาอาจกำลังจงเกลียดจงชังพวกนี้อยู่ พุทธบริษัทต้องถือว่ากายอยู่ในใจ อาหารใจสำคัญยิ่งกว่า อาหารทางกาย และยังคงภักดีต่อลัทธิแสวงสุขทางใจอยู่เสมอ การเป็นพุทธบริษัทต่อปากหรือพิธีนั้น ไม่ทำให้เป็นพุทธบริษัทได้เลย พุทธบริษัทที่แท้ จะกลายเป็นนักวัตถุนิยม หรือลัทธิหลงชาติ เพราะเห็นแก้วัตถุไปไม่ได้ พุทธบริษัทที่รี ๆ ขวาง ๆ นั้น ยิ่งร้ายไปกว่า ผู้ที่ไม่ได้เป็นพุทธบริษัท เมื่อเกิดมิคสัญญี พุทธบริษัทที่แท้จริงเท่านั้น ที่จะเป็นผู้เหลืออยู่ แม้นี้ก็เป็นอานิสงส์ แห่งการนิยมอาหารทางใจ โลกกับธรรม จะเป็นอันเดียวกันไม่ได้ โดยที่โลกเป็นฝ่ายวัตถุนิยม ธรรมเป็นฝ่ายนิยม “ความเป็นอิสระเหนือวัตถุ” และความเป็น อิสระเหนือวัตถุนี้เอง คือ..อาหารของดวงใจ การต้องการอาหารทางฝ่ายโลก ใจต้องการอาหารฝ่ายธรรม ผู้ที่เห็นว่าใจเป็นใหญ่ หรือเป็นสิ่งที่อิงอาศัยของกายย่อมแสวงหาอาหารให้กาย เพียงสักว่าให้มันเป็นอยู่ได้เท่านั้น เวลานอกนั้นใช้เพื่อการแสวงหาอาหารให้แก้ใจอย่างเดียว อันความเป็นอิสระเหนือวัตถุนั้น เห็นได้ยาก ตรงที่ตามธรรมดา ก็ไม่มีใครนึกว่า ตนได้ตกเป็นทาสของวัตถุแต่อย่างใด ใคร ๆ ก็กำลังหาวัตถุมากินมาใช้ มาประดับเกียรติยศของตน และบำเรอคนที่ตนรัก และถือว่าทำอย่างนั้นตนได้เป็นนาย มีอิสระเหนือวัตถุแล้ว ส่วนความหม่นหมองใจที่เกิดขึ้น มากมายหลายประการนั้น หามีใครคิดไม่ว่า นั้นเป็นอิทธิพลของวัตถุ ที่มันกำลังครอบงำย่ำยีตนเล่นตามความพอใจของมัน ดวงใจได้เสียความสงบเย็น ที่ควรจะได้ไปจนหมด ก็เพราะความโง่เง่าของของเจ้าของเอง ที่ไปหลงบูชาวัตถุจนทำให้กลายเป็นของมีพิษขึ้นมา ดวงใจที่สงบเย็นแท้จริง ก็ไม่อาจฟักตัว เจริญงอกงามขึ้นมา เพราะขาดการบำรุงด้วยอาหาร โดยที่เจ้าของไม่เคยคิดว่า มันจะต้องการอาหารเป็นพิเศษยิ่งกว่ากาย เมื่อใดขาดอาหารใจ แม้แต่ที่เป็นเบื้องต้นเสียเช่นนี้แล้ว ก็ย่อมไม่งอกงามพอที่จะแจ่มใส ส่องแสงให้ผู้นั้นมองเห็น และถือเอาอุดมคติ แห่งความสุขทางใจ ได้ชีวิตเป็นของมือมนต้องร้องไห้ ทั้งที่ไม่รู้ว่ามีอะไรมาทำเอาเด็ก ๆ ที่เกิดมา ไม่อาจสำนึกได้เองในปริยายเช่นว่านี้ การศึกษาธรรมะเท่านั้นจะช่วยได้ในเบื้องต้น การศึกษาจนรู้ธรรมะทางฝ่ายหลักวิชา เป็นอาหารของดวงใจในขั้นแรก ขั้นกลางคือการย่อยวิชาหลักนั้น ๆ ออกด้วยมันสมองของตนเอง ครั้นได้ความโปร่งใจความเยือกเย็นอะไรมา นั่นเป็นอาหารขั้นปลาย เมื่อได้ส่งเสริมให้เจริญ จนสามารถทำพระนิพพานให้ปรากฏ จึงจะนับว่าถึงที่สุด ปริยัติธรรมในส่วนหลักวิชานั้น ช่วยสะกิดใจให้รู้สึกในเบื้องต้นว่า เรามีกายสองซีก คือ ซีกรูปกายและธรรมกาย รูปกาย..เจริญได้ด้วยการมีบิดามารดา เป็นแดนเกิดเติบโตขึ้นได้ด้วยปัจจัย เช่น ข้าวปลาอาหาร ส่วนธรรมกายนั้น มีกายวาจาใจ ที่สุจริตผ่องใส เป็นที่ตั้ง ที่ปรากฏ มีผลของความสุจริต อิสระ เป็นอาหารที่จะบำรุงให้เติบโตสืบไป ปริยัติธรรม ยังทำให้เรารู้สึก สืบไปเป็นลำดับว่า ถ้าบำรุงกันแต่รูปกายอย่างเดียว มันก็อ้วนพีแต่ซีกเดียว อีกซีกหนึ่ง ซึ่งเป็นซีกใจจะยังคงเหี่ยวแห้งอยู่ ผลที่ได้คือ ร่างกายที่สมบูรณ์ แต่ใจเต็มไปด้วยความหม่นหมอง และผ่ายผอม คนเราเมื่อยังเด็ก ความหม่นหมองมิปรากฏนักเพราะผู้เลี้ยงดูให้ และกายก็ยังมิได้ขยายตัวเต็มที่ จนสามารถรับความรู้สึกสุดขีด ได้ทุกอินทรีย์ (คือเต็มที่ทั้ง ทางตา ทางหู ฯลฯ ทางใจ) ครั้นเมื่อกายเจริญเต็มที่เข้า ความหม่นหมองก็เกิดมากขึ้น เพราะขาดดุลยภาพ กล่าวคือ ทางรูปกายโตใหญ่ขึ้น แต่ทางธรรม ไม่เจริญให้เสมอคู่เคียงกัน โดยสรุปปริยัติธรรมช่วยให้เราทราบว่า เราจะต้องประพฤติธรรม เพื่อฝ่ายธรรมกายของเรา มิฉะนั้น เราจะตายด้านไปซีกหนึ่ง ปฏิบัติ คือ ตัว การปฏิบัติ นั้นได้แก่การบังคับอินทรีย์เพื่อเอาชนะอินทรีย์ ชนะได้เท่าใด ความเยือกเย็นพร้อมทั้งความรู้แจ้ง ก็เกิดขึ้นเท่านั้น ความเยือกเย็นเกิดจากความอินทรีย์สงบลง ความเห็นแจ้งความจริง ในตัวเองปรากฏ เพราะไม่ถูกม่านแห่งความกลัดกลุ้ม ทางอินทรย์ปิดบัง เช่นแต่ก่อน วิธีเอาชนะอินทรีย์ ตามหลักแห่งพุทธศาสนาได้แก่ การบังคับตัวเองให้งดเว้นจากสิ่งชั่ว ให้ทำแต่สิ่งที่ดีเข้าแทน และต่อจากนั้น พยายามหาวิธีชำระจิต ให้เป็นอิสระจากต้นเหตุแห่งความหม่นหมอง ทั้งที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ๆ และที่ไม่ง่าย คือที่เคยชินอยู่ในสันดาน อันเป็นเหมือนเชื้อที่ก่อเกิดของกิเลสได้ทุกเวลา กล่าวอีกอย่างหนึ่ง วิธีเอาชนะอินทรีย์ ได้แก่การบังคับกายและวาจา ให้อยู่ในอำนาจ เรียกว่า “ศีล” บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจ เรียกว่า “สมาธิ” และใช้จิตที่อยู่ในอำนาจแล้ว ให้เข้าถึงความจริงที่ยากที่ลึก จนปรากฏแจ่มแจ้งเรียกว่า “ปัญญา” กล่าวคือ ปัญญาชนิดที่ สามารถควบคุมอินทรีย์ ให้เป็นไปแต่ในทางถูกอย่างเดียว การบังคับหรือควบคุมอินทรีย์ ทำให้ดวงใจได้รับความสะบักสะบอมน้อยลง วัตถุหรืออารมณ์ทั้งหลาย มีพิษสงน้อยเข้าหรือหมดไป เพราะค่าที่เราสามารถบังคับตัวเอง ไว้ในภาวะที่จะไม่หลงใหลไปตาม ทั้งในทางชอบและทางชัง เมื่อเราได้รับความพักผ่อนผาสุก เนื่องจาก การบังคับอินทรีย์ของเราเช่นนี้แล้ว เชื่อว่าเราได้รับอาหารของดวงใจ ในส่วนการปฏิบัติ อันเป็นอุปกรณ์ให้ได้รับอาหารชั้นสูงสืบไป ปฏิเวธธรรม หรือธรรมในส่วนการรู้แจ้งแทงตลอด ในสิ่งที่เคยหลงใหล ไม่รู้เท่าทันมาก่อน เป็นความรู้ชนิดที่จะตัดรากเหง้า ความหม่นหมองของดวงใจ เสียโดยประการทั้งปวง เช่น ความสงสัย ความเข้าใจผิด แล้วทำความโปร่งใจ เยือกเย็นใจ ให้เกิดขึ้น ในระดับสูงสุด ปริยัติธรรม..เป็นเพียงการรู้อย่างคาดคะเนด้วยเหตุผลล่วงหน้าไปก่อน ส่วนปฏิเวธธรรม..เป็นผลที่ปรากฏแก่ใจ สมจริง ตามที่เรียนรู้ทางหลักวิชา ส่วนการปฏิบัติ..เป็นการแทงตลอดม่านอวิชชา คือ ความโง่หลง ซึ่งข้อนี้เป็นของเฉพาะตัวอย่างยิ่ง เมื่อใจได้อาหารเป็นลำดับมา จนลุถึงพระนิพพาน คือการดับกิเลสสิ้นเชิงแล้ว ต่อจากนั้นก็เป็นใจที่มีรสของพระนิพพานเป็นอาหาร เมื่อเราอาบน้ำ เราได้รับความเย็นของน้ำ หรือรู้สึกเย็นเพราะน้ำ เมื่อใจจุดลุถึงพระนิพพาน มันย่อมเยือกเย็น เพราะความเย็นของ พระนิพพานนั่นเอง ความเยือกเย็นอันนี้ เป็นยอดอาหารชั้นพิเศษของดวงใจ อาหารของดวงใจมีหลายชั้น มีรสชาติต่าง ๆ กัน เพราะฉะนั้นในยุคหนึ่ง ๆ ย่อมจะมีผู้แสวงและกำลังเสพอยู่ในขึ้นต่าง ๆ เป็นธรรมดา ดังเราจะเห็นได้แม้ในโลกนี้ว่า บางคนหาได้ตกโลกเต็มที่ หรือจมมิดเหมือนบางคนไม่ ถ้าจะสมมติภาพขึ้นริมฝั่งทะเล จะเห็นว่า...บางพวกตกน้ำจมมิดอยู่ บางพวกชูศีรษะร่อนขึ้นเหนือน้ำได้ มองดูรอบ ๆ สังเกตหาฝั่งบกอยู่ บางพวกมองเห็นฝั่งแล้ว บางพวกกำลังว่ายน้ำมุ่งหน้าเข้าหาฝั่ง บางพวกใกล้ฝั่งเข้ามามากแล้ว บางพวกถึงที่ตื้นยืนถึง เดินตะคุ่ม ๆ เข้ามาแล้ว บางพวกเดินท่องน้ำเพียงแต่เข่าเข้ามาแล้ว บางพวกนั่งพักอย่างสบาย หรือเที่ยวไปอย่างอิสระบนบก เราเองจะอยู่ในจำพวกไหน ? ย่อมไม่มีใครรู้ได้เท่าตัวเราเอง ตลอดเวลา ที่พวกมนุษย์ยังคงได้รับรสจากพุทธวจนะอยู่เพียงใด คงจะมีสักพวกหนึ่ง โดยเฉพาะ ก็คือพวกที่มีอาหารกายสมบูรณ์ จนอึดอัด เพราะความซ้ำซาก และหมดทางไปในเบื้องสูงเข้าแล้ว เขาจักเกิดมีความสนใจในคุณภาพอันสูงสุดของโลกุตตราหาร หยิบเอาลัทธิ “มโนนิยม” ขึ้นมาพิจารณาดูบ้างเป็นแน่เพราะยังมีทางไปได้สูงอีกมากนัก
1 มกราคม 2557     |      10495
ธรรมะจรรโลงใจ / "ธรรมโนโลยี โดยพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี"
ทางด้านการภาวนา การภาวนานี้แปลว่าเจริญ คือใช้สติปัญญาให้เกิดขึ้น อันดับแรก ทำจิตให้เป็นสมาธิ ในเมื่อจิตเราพอใจในการให้ทาน พอใจในการรักษาศีล การพอใจและการนึกถึงอยู่เขาเรียกว่าสมาธิ เมื่อ สมาธิเกิดขึ้นปัญญาก็เกิด นี่ตัวภาวนานะ ตัวปัญญาก็เกิดว่าเรารักษาศีลเพราะอะไร ก็เพราะว่าเราเกิดมาแล้วไม่ได้อยู่ตลอดกาลตลอดสมัย ร่างกายของคนทุกคนและสัตว์ก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีเกิดขึ้นในเบื้องต้น และก็มีความแปรปวนในท่ามกลางมีการแตกสลายคือในที่สุด ในที่ความตายก็เข้ามาถึงเรา อันนี้เป็นมรณานุสสติกรรมฐาน ทำทีเดียวได้หลายอย่าง ในเมื่อเราคิดอย่างนี้แล้วว่า ถ้าเราตายไปชาตินี้เราเป็นคนให้ทาน ทานจะเป็นปัจจัยให้เราได้มีความสุขในด้านทรัพย์สิน เราเป็นคนมีศีล ศีลจะทำให้เรามีความสุขในด้านร่างกายและความเป็นอยู่ตามที่กล่าวมาแล้ว การเจริญภาวนาเป็นเหตุทำให้คนมีปัญญา ถ้าปัญญาเราน้อยก็สามารถเกิดเป็นเทวดานางฟ้าก็ได้ เป็นพรหมก็ได้ตามความพอใจ ถ้ามีปัญญามีมากถึงที่สุดก็ไปนิพพานได้ ก็รวมความว่าทั้งสามอย่างนี้ให้มีไว้ในใจไว้เสมอ ทีนี้มาว่าถึงภาวนา จะใช้อะไร เมื่อ กี้ว่าภาวนาว่า พุทโธ เป็นการนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ การนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ การนึกถึงพระพุทธเจ้านี่บรรดาพุทธบริษัท ทุกคนนึกถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน เวลานี้พระพุทธเจ้าอยู่ที่นิพพาน ความรู้ทั้งหมดที่เราใช้เป็นของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ถ้าเรานึกพระพุทธเจ้า ก็ชื่อว่าเราเชื่อพระพุทธเจ้า มีศรัทธาท่าน มีความเชื่อท่าน ในเมื่อมีความเชื่อมีความศรัทธาในท่าน เราก็ปฏิบัติตามท่าน 1.การให้ทาน เราทำแล้ว 2.การสมาทานศีล เราทำแล้ว 3.การเจริญภาวนา เราทำแล้ว และถ้าบุญบารมีของท่านยังอ่อนต้องเร่ ร่อนไปในวัฏสงสาร อย่างน้อยที่สุดก็เกิดเป็นคนรวย เป็นคนสวย เป็นคนมีปัญญา หรือมิฉะนั้นก็เป็นเทวดา เป็นนางฟ้า เป็นพรหม แต่ว่าเราเกิดทุกชาติเราจะไม่พลาดพระพุทธเจ้า ไม่พลาดจากพระพุทธศาสนา จะมีการต่อบุญบารมีกันเรื่อยที่มา   http://www.kammatan.com/board/index.php?PHPSESSID=055f9c56c79c534798833732909d806a&topic=114.0
1 มกราคม 2557     |      8180
ธรรมะสอนใจ/ ว.วชิรเมธี? เตือนโจ๋ไทย รักด้วยสมอง
“ว.วชิรเมธี” เตือนโจ๋ไทย รักด้วยสมอง อย่ายึดกามารมณ์ หวั่นผิดหวังจนเกิดโศกนาฏกรรม ทำร้ายคนรักเผยแพร่คลิป สาดน้ำกรด แนะเรียนรู้บันได 4 ขั้นของความรักเป็นเครื่องชี้นำ วันนี้ (13 ก.พ.) พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ผอ.สถาบันวิมุตยาลัย กล่าวเตือนเด็กและเยาวชนวันวาเลนไทน์ ว่า ความรักนั้นเป็นได้ทั้งความสุข และความทุกข์ เป็นทั้งความหวังและสิ้นหวัง เป็นทั้งอนาคต และความมืดมิด ถ้าเรารักด้วยสมองความรักจะนำสิ่งดีๆ มาให้เรา ถ้าเรารักจนขึ้นสมองความรักจะนำสิ่งเลวร้ายมาให้แก่เรา ดังนั้น ความ รักจะเป็นสิ่งที่ล้ำเลิศ หรือความทุกข์ตรม ขึ้นอยู่กับว่า รักด้วยสมองหรือรักแบบขึ้นสมอง วันหนึ่งเมื่อไม่สมหวังในความรักไม่ได้หมายความว่า จะไม่สมหวังในการดำเนินชีวิต พระมหาววุฒิชัย กล่าวต่อว่า ต้องไม่ยึดติดว่า ความรักมีเพียงมิติเดียว คือ ความรักเชิงชู้สาวเท่านั้น แต่ความรักมีหลายมิติ เปรียบเสมือนบันไดต้องเดินขึ้นไปทีละขั้น จนถึงความหมายของความรัก นั่นคือ ความสุข ถ้ารักแล้วมีความทุกข์ พัฒนาการของความรักยังไม่สมบูรณ์ ซึ่งขั้นบันไดแห่งความรักนั้น มี 4 ขั้น 1. รักตัวกลัวตาย รักชนิดนี้ถ้ามีมากๆ จะทำให้เกิดความเห็นแก่ตัว 2.รักใคร่ปรารถนา อิงกับสัญชาตญาณการสืบพันธุ์ ความรักชนิดนี้มีมากจะทำให้เกิดความลุ่มหลง กามารมณ์ หนุ่มสาวจะยึดความรักชนิดนี้เป็นที่พึ่งของชีวิต ยึดติดความใคร่มาใช้ในนามของความรัก จนกลายเป็นความโลภ คือ อยากจะครอบครองใครสักคนให้อยู่ในความควบคุมของเรา พอควบคุมไม่ได้ความรักก็กลายเป็นความร้ายเป็นโศกนาฏกรรม เช่น ทำร้ายคนรัก เผยแพร่คลิปคนรัก สาดน้ำกรดคนรัก เป็นต้น 3.รักเมตตาอารี ให้เห็นคนทั้งโลกว่า เป็นมิตรแก่เรา และ4.รักมีแต่ให้ รักปัญญาชนไม่คิดจะทำร้ายใคร ไม่หวังผล ซึ่งความรักจะต้องพัฒนาจนปลายทางของความรักแท้ คือ ความกรุณารักที่จะเป็นผู้ให้ “เนื่อง ในวันวาเลนไทน์ที่จะถึงนี้ อาตมาขอให้เด็กและเยาวชน คนไทยทั้งหลาย ยึดความรักที่อาตมากล่าวมาทั้งหมด เป็นแนวทางปฏิบัติ เรียนรู้พัฒนาความรัก ไม่ใช่ไปจมติดกับความรัก” พระมหาวุฒิชัย กล่าวขอขอบคุณ ASTV ผู้จัดการ
1 มกราคม 2557     |      7200
ทั้งหมด 3 หน้า