ในการสวด คาถาชินบัญชร เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งๆ ขึ้น ก่อนจะเจริญภาวนา จึงขอให้ตั้งนะโม 3 จบ และน้อมจิตระลึกถึงคุณพระคุณสมเด็จโต ด้วยคำบูชาดังนี้
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง
อัตถิกาเยกายะ ญายะ
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต ธะนะกาโมละเภธะนัง
เทวานังปิยะตังสุตตะวา
ท้าวเวสสุวัณโณ
นะโมพุทธายะ
พระคาถาชินบัญชร
๑.
ชะยา สะนา กะตา พุทธา จะตุ สัจจา สะภัง ระสัง | เชตะวา มารัง สะวา หะนัง เย ปิวิงสุ นะรา สะภา | พระ พุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ อริยสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ |
๒.
ตัณหังกะราทะโย พุทธา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง | อัฏฐะวีสะติ นา ยะกา มัตถะเก เต มุนิส สะรา | มี ๒๘ พระองค์ คือ พระผู้ทรงนามว่า ตันหังกร เป็นอาทิ พระพุทธเจ้าจอมมุนีทั้งหมดนั้น |
๓.
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง | พุทโธ ธัมโม ทะวิโล จะเน อุเร สัพพะคุณา กะโร | ข้า พระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่บนศรีษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก |
๔.
หะทะเย เม อะนุรุทโธ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภา คัสสะมิง | สารีปุตโต จะ ทักขิเณ โมคคัลลาโน จะวา มะเก | พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหลัง |
๕.
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง กัสสะโป จะมะหา นาโม | อาสุง อานันทะราหุโล อุภาสุง วามะโส ตะเก | พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย |
๖.
เกสะโต ปิฏฐิภา คัสสะมิง นิสินโน สิริสัม ปันโน | สุริโย วะ ปะภัง กะโร โสภีโต มุนิปุง คะโว | มุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง |
๗.
กุมาระกัสสะโป เถโร โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง | มะเหสี จิตตะวา ทะโก ปะติฏฐาสิ คุณา กะโร | พระเถระกุมาระกัสสปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากประจำ |
๘.
ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ เถรา ปัญจะอิเม ชาตา | อุปาลี นันทะสี วะลี นะลาเต ติละกา มะมะ | พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวลี พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก |
๙.
เสสา สีติ มะหาเถรา เอเตสีติ มะหาเถรา ชะลันตา สีละเต เชนะ | วิชิตา ชินะสา วะกา ชิตะวันโต ชิโน ระสา อังคะมังเค สุสัณ ฐิตา | ส่วน พระอสีติมหาเถระที่เหลือ ผู้มีชัยและเป็นพระโอรสเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วนรุ่งโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่ |
๑๐.
ระตะนัง ปุระโต อาสิ ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ | ทักขิเณ เมตตะสุต ตะกัง วาเม อังคุลิมา ละกัง | พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคสูตรอยู่เบื้องหลัง |
๑๑.
ขันธะโม ระปะริตัญ จะ อากาเส ฉะทะนัง อาสิ | อาฏานาฏิยะสุต ตะกัง เสสา ปาการะ สัณฐิตา | พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตรเป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ |
๑๒.
ชินานา นาวะระสัง ยุตตา วาตะปิตตาทิสัญ ชาตา | สัตตัปปาการะลัง กะตา พาหิรัช ฌัตตุปัท ทะวา | อนึ่ง พระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง คือ สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น |
๑๓.
อะเสสา วินะยัง ยันตุ วะสะโต เม สะกิจเจ นะ | อะนันตะ ชินะเต ชะสา สะทา สัมพุทธะปัญชะเร | ด้วย เดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้า ไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อมแห่งพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐาน จงกำจัดให้พินาศอย่าให้เหลือ |
๑๔.
ชินะ ปัญชะระ มัชฌัมหิ สะทา ปาเลนตุมัง สัพเพ | วิหะรันตัง มะหิี ตะเล เต มะหาปุริสา สะภา | ขอ พระมหาบุรุษ ผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดี ฉะนี้แล |
๑๕.
อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ธัมมานุภาเวนะ ชิตา ริสังโฆ สัทธัมมานุภาวะ ปาลิโต | ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะ ราโย จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ ฯ | ข้า พระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ |