งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต
Networking Systems and Internet Services
หนึ่งในข่าวไอทีต่างประเทศที่ได้รับความสนใจจากโลกออนไลน์ในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา คือไซแมนเทค (Symantec) ยักษ์ใหญ่แห่งวงการรักษาความปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกโจรไฮเทคกลุ่ม Anonymous เรียกเงินค่าไถ่ โดยขู่ว่าหากไซแมนเทคไม่ยอมจ่ายเงิน ซอร์สโค้ดหรือชุดคำสั่งในโปรแกรม Norton Utilities และ pcAnywhere ที่ไซแมนเทควางขายแก่ผู้ใช้ จะถูกเผยแพร่ต่อสาธารณชนบนโลกออนไลน์

ไม่พูดเปล่า แต่แฮกเกอร์โจรยังขู่ไซแมนเทคด้วยการปล่อยซอร์สโค้ดบางส่วนออกมาเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งเชื่อว่าจะมีการปล่อยซอร์สโค้ดออกมาอีกในอนาคต

การปล่อยซอร์สโค้ดโปรแกรมนั้นเป็นคำขู่ที่ยิ่งใหญ่สำหรับบริษัทจำหน่ายโปรแกรมแอนตี้ไวรัสอย่างไซแมนเทค เพราะการเผยแพร่ชุดคำสั่งสู่สาธารณชนจะมีโอกาสทำให้กลุ่มผู้ไม่ประสงค์ดี สามารถศึกษาชุดคำสั่งเพื่อเจาะระบบการป้องกันที่วางไว้ได้ ไม่ต่างกับการส่งแผนที่ให้ศัตรูรู้ว่าได้วางกับดักใดไว้ในสมรภูมิรบ ซึ่งศัตรูจะสามารถหาช่องทางเจาะแนวรบเข้ามาประชิดเมืองได้ง่ายกว่าเดิม

หากประชิดเมืองได้ ชาวเมืองย่อมตกอยู่ในอันตรายอย่างไม่ต้องสงสัย เท่ากับผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ของไซแมนเทคกำลังอยู่ในความเสี่ยง แต่ในข่าว ไซแมนเทคยืนยันว่าผู้บริโภคจะไม่ได้รับผลกระทบอะไร แถมคาดว่าซอร์สโค้ดที่กำลังจะถูกเผยแพร่เพิ่มเติมนั้นเป็นชุดคำสั่งเก่าที่จะไม่มีผลใดๆกับผู้ใช้ในพ.ศ.นี้

คำถามคือจริงหรือไม่ อย่างไร?

คำยืนยันของไซแมนเทคมีส่วนเชื่อถือได้ เพราะ Cris Paden ประชาสัมพันธ์ของไซแมนเทคนั้นยืนยันว่าชุดคำสั่งที่ Anonymous เผยแพร่ออกมาเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์นั้นเป็นชุดคำสั่งเดียวกับที่บริษัทเคยพบว่าถูกขโมยไปตั้งแต่ปี 2006 โดยเป็นชุดคำสั่งของโปรแกรม Norton Utilities และ pcAnywhere คาดว่าชุดคำสั่งต่อไปที่โจรนักแฮกจะปล่อยออกมา อาจเป็นชุดคำสั่งของโปรแกรม Norton Antivirus Corporate Edition และ Norton Internet Security ปี 2006

ความที่เป็นโปรแกรมเก่าแก่อายุมากกว่า 5 ปี ทำให้ไซแมนเทคเชื่อว่าลูกค้าไซแมนเทคและนอร์ตันจะไม่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แถมประชาสัมพันธ์ไซแมนเทคยังย้ำว่าบริษัทไม่ได้หวั่นใจกับคำขู่ของโจรนักแฮกเลย แม้นักแฮกจะเปิดฉากข่มขู่ไซแมนเทคมาตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมาด้วยการเปิดเผยเอกสารความยาวกว่า 2,700 คำที่อธิบายหลักการทำงานของโปรแกรม Norton Antivirus

หตุผลคือเพราะเอกสารเหล่านี้เป็นเอกสารเผยแพร่ทั่วไปที่มีอายุมากกว่า 12 ปี ไม่เพียงเก่าแต่ยังไม่มีความลับด้านความปลอดภัยใดๆ ทำให้บริษัทไม่สนใจต่อการเรียกค่าไถ่ซึ่งโจรแฮกเรียกร้องไปถึง 500,000 เหรียญสหรัฐ

ประชาสัมพันธ์ไซแมนเทคชี้แจงว่าบริษัทไม่เคยส่งอีเมลต่อรองค่าไถ่แก่โจรนักแฮก แต่อีเมลที่โจรนักแฮกนำเผยแพร่เพื่อให้โลกเข้าใจว่าได้ต่อรองกับพนักงานของไซแมนเทคเรื่องค่าไถ่นั้น เป็นอีเมลที่ส่งโดยเจ้าพนักงานสหรัฐฯ ซึ่งโต้ตอบหลอกล่อเพื่อสืบหาเบาะแสขบวนการแฮกครั้งนี้ ไม่ใช่อีเมลต่อรองในนามของไซแมนเทคแต่อย่างใด

อีกส่วนที่ผู้บริโภคควรวางใจ คือขบวนการ Anonymous ไม่ได้ประสบความสำเร็จในการแฮกระบบของไซแมนเทค เพราะ Anonymous ยอมรับว่าได้รับข้อมูลซอร์สโค้ดเหล่านี้มาจากการเจาะระบบเครือข่ายทหารของรัฐบาลอินเดีย จุดนี้ไซแมนเทคปฏิเสธไม่ให้ความเห็นเกี่ยวกับแหล่งต้นตอที่ขบวนการ Anonymous อ้างไว้ โดยระบุเพียงว่าไซแมนเทคไม่เคยตกลงแบ่งปันซอร์สโค้ดกับหน่วยงานรัฐบาลอินเดียใดๆ

แต่ลึกๆแล้ว ผู้บริโภคทั่วโลกอดหวั่นใจไม่ได้ เพราะ Norton Antivirus เป็นผลิตภัณฑ์หลักที่ทำเงินให้ไซแมนเทคในธุรกิจซอฟต์แวร์สำหรับผู้บริโภคคอนซูเมอร์ (มูลค่าตลาด 2 พันล้านเหรียญ) โดยนอร์ตันเป็นโปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 150 ล้านคนทั่วโลก

ขณะเดียวกัน ขนาดสุดยอดบริษัทผู้อาสาตัวเป็นผู้ดูแลความปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ของหลายบริษัททั่วโลกอย่างไซแมนเทค ยังจับพลัดจับพลูถูกนักเจาะระบบดัดหลังเรียกค่าไถ่จนสูญเสียความเชื่อมั่นเช่นนี้ ย่อมแปลว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ในโลกออนไลน์แม้จะมีการรักษาความปลอดภัยเพียงใด

แต่ในเบื้องต้น ไซแมนเทคได้เปิดอัปเดทฟรีสำหรับผู้ใช้โปรแกรม pcAnywhere เพื่อให้ทุกคนเปลี่ยนไปใช้โปรแกรมเวอร์ชันปัจจุบัน พร้อมกับท่องคาถาเดิมว่า ขอให้ผู้บริโภคใช้โปรแกรมรักษาความปลอดภัยเวอร์ชันใหม่อยู่เสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าคอมพิวเตอร์ได้รับการคุ้มครองที่รัดกุมตลอดเวลา

ผลกระทบเดียวของผู้บริโภคในเรื่องนี้ จึงดูเหมือนว่าเป็นการตอกย้ำความจริงเรื่องความจำเป็นในการอัปเกรดเวอร์ชันโปรแกรมแอนตี้ไวรัส ซึ่งไม่ใช่แต่บริษัทยักษ์ใหญ่ ผู้บริโภคอย่างเราทุกคนก็ไม่ควรมองข้าม

 

ปรับปรุงข้อมูล : 1/1/2557 0:00:00     ที่มา : งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 7018

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

วิธีการเปลี่ยนการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator
วิธีการเปลี่ยนการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticatorเครื่องมือที่ใช้ในการยืนยันตัวตน Multi-Factor Authentication (MFA) เป็นวิธีการในการยืนยันตัวตน โดยใช้การยืนยันตัวตนหลายอย่าง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องผูกกับหมายเลขโทรศัพท์ ทำให้สะดวกในการใช้งานและมีความปลอดภัยมากขึ้น1. เข้า Email มหาวิทยาลัยแม่โจ้ https://www.office.comทำการลงชื่อผู้ใช้งานให้เรียบร้อย แล้วกดที่ Profile มุมขวาบน แล้วเลือก View account2. เลือก Security info3. ทำการลบ Sign-in method ที่ไม่จำเป็นออก เมื่อลบแล้วให้กด Add sign-in method4. เลือก Authenticator app กด Add5. ระบบจะแนะนำให้ผู้ใช้งานทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือ แล้วกด Next  ** ผู้ใช้งานสามารถเลือกติดตั้งได้ ตามระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานทั้ง Android และ iOS6. เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือแล้ว กด Next7. เปิดโปรแกรม Microsoft Authenticator app ในโทรศัพท์มือถือ กดเพิ่มเครื่องหมาย +8. เลือก Work or school account แล้วเลือก Scan QR Code9. ทำการ Scan QR code ที่ปรากฎในหน้าจอ**หากไม่สามารถ Scan QR code ได้เนื่องจาก QR code หมดอายุ ให้คลิ๊ก Back แล้วกด Next เพื่อให้ QR Code แสดงใหม่แล้วทำการ Scan ใหม่อีกครั้ง10. เมื่อ Scan QR code บนโทรศัพท์มือถือสำเร็จ จะปรากฎชื่อบัญชีที่ตั้งค่าใน Microsoft Authenticator app และจะปรากฎชุดตัวเลข บนหน้าจอ11. ทำการกรอกตัวเลขไปยัง Microsoft Authenticator app บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อยืนยันตัวตน แล้วกด Yes12. กด Next13. Microsoft Authenticator app ทำการยืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว กด Done14. การยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator สำเร็จแล้ว สามารถเลือกวิธีการยืนยันตัวตนได้ โดยกด Change15. ค่าเริ่มต้นการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator คือ App based authentication - notification
17 กุมภาพันธ์ 2567     |      1558
การเปิดใช้งาน MFA Microsoft Authenticator
การเปิดใช้งาน MFA Microsoft Authenticatorเข้าใช้งานเว็บไซต์ https://www.office.com ทำการลงชื่อผู้ใช้งาน Sign in2. Login โดยใช้ username @mju.ac.th แล้วกด Next3. ใส่รหัสผ่าน Email แล้วกด Sign in4. กด Next เพื่อเข้าใช้งาน5. ระบบจะแนะนำให้ผู้ใช้งานทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือ แล้วกด Next  ** ผู้ใช้งานสามารถเลือกติดตั้งได้ ตามระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานทั้ง Android และ iOS6. เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือแล้ว กด Next7. เปิดโปรแกรม Microsoft Authenticator app ในโทรศัพท์มือถือ กดเพิ่มเครื่องหมาย +8. เลือก Work or school account แล้วเลือก Scan QR Code9. ทำการ Scan QR code ที่ปรากฎในหน้าจอ**หากไม่สามารถ Scan QR code ได้เนื่องจาก QR code หมดอายุ ให้คลิ๊ก Back แล้วกด Next เพื่อให้ QR Code แสดงใหม่แล้วทำการ Scan ใหม่อีกครั้ง10. เมื่อ Scan QR code บนโทรศัพท์มือถือสำเร็จ จะปรากฎชื่อบัญชีที่ตั้งค่าใน Microsoft Authenticator app และจะปรากฎชุดตัวเลข บนหน้าจอ11. ทำการกรอกตัวเลขไปยัง Microsoft Authenticator app บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อยืนยันตัวตน แล้วกด Yes12. กด Next13. Microsoft Authenticator app ทำการยืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว กด Done14. เข้าใช้งาน MS365 ผ่านเว็บ Browser ได้
15 กุมภาพันธ์ 2567     |      3783
การถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud
การถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud ด้วย Creative Cloud Cleaner tool How and when to use the Creative Cloud Cleaner tool?ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ Windows ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ macOS ขั้นตอนการถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud (ระบบปฏิบัติการ Windows)1. ทำการ ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ Windows2. แตกไฟล์ zip คลิ๊กขวาเลือก Run as administrator3. เลือก e แล้วกด Enter4. พิมพ์ y กด Enter5. เลือกโปรแกรมที่ต้องการจะลบ เลือกลบทั้งหมด (All) พิมพ์ 1 แล้วกด Enter6.ดูหมายเลข ของ Clean All. ใส่หมายเลขแล้วกด Enter 7.พิมพ์ y กด Enter เพื่อยืนยันการลบโปรแกรม เมื่อเสร็จแล้วกด Enter ออกจากโปรแกรม แล้ว Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการลบโปรแกรม Adobe Creative Cloud  ขั้นตอนการถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud (ระบบปฏิบัติการ macOS)ทำการดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ macOSแตกไฟล์ zip แล้ว Double Click เพื่อติดตั้งโปรแกรม กด Open3. เลือกโปรแกรมที่ต้องการจะลบ เลือกลบทั้งหมด (All) กด Clean All4. เมื่อทำการถอนการติตตั้งเสร็จ ปิดโปรแกรม แล้ว Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการลบโปรแกรม Adobe Creative Cloud 
13 พฤศจิกายน 2566     |      5159