งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต
Networking Systems and Internet Services

ข้อมูลทั่วไป 

ผู้เชี่ยวชาญได้แจ้งเตือนช่องโหว่ของ Linux Kernel ซึ่งอนุญาตให้ผู้โจมตีสามารถแก้ไขข้อมูลในหน่วยความจำของ Process เพื่อให้ได้รับสิทธิของ root ได้ (CVE-2012-0056)  โดยปกติแล้วระบบปฏิบัติการ Linux จะใช้ไฟล์ /proc/ /mem เพื่ออ้างอิงถึงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำของแต่ละ Process ซึ่งไฟล์ดังกล่าวนี้ระบบจะอนุญาตให้เฉพาะ Process ที่เกี่ยวข้องมีสิทธิในการแก้ไข แต่หลังจาก Linux Kernel เวอร์ชัน 2.6.39 เป็นต้นมา (เผยแพร่เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2554) ฟังก์ชันที่ใช้สำหรับการป้องกันไม่ให้ Process ใดๆ เข้าไปแก้ไขข้อมูลในหน่วยความจำของ Process อื่นได้ถูกนำออกไป  นักวิจัยที่ค้นพบช่องโหว่นี้ได้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน (Proof of Concept) ว่าช่องโหว่ดังกล่าวสามารถทำงานได้จริง โดยได้พัฒนาโปรแกรมเพื่อเข้าไปแก้ไขข้อมูลในหน่วยความจำของ Process su (Super User) เพื่อให้ผู้ใช้ทั่วไปได้รับสิทธิของ root นอกจากนี้ยังพบว่าช่องโหว่ดังกล่าวมีผลกับอุปกรณ์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Android เวอร์ชัน 4.0 อีกด้วย

ผลกระทบ 

ผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการ Linux ที่ติดตั้ง Kernel เวอร์ชัน 2.6.39 ถึง 3.2.1 มีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากผู้ไม่หวังดีเพื่อครอบครองสิทธิการเป็น root ของระบบได้ ตัวอย่างวีดีโอการโจมตีสามารถดูได้จาก http://www.youtube.com/watch?v=OKnth3R9nI4

เนื่องจากระบบปฏิบัติการ Android ถูกพัฒนาโดยใช้พื้นฐานจากระบบปฏิบัติการ Linux ทำให้ระบบปฏิบัติการ Android เวอร์ชัน 4.0 ซึ่งใช้ Linux Kernel เวอร์ชัน 3 ได้รับผลกระทบไปด้วย โดยอาจมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อให้ได้รับสิทธิเป็นของ root ของระบบได้

ระบบที่ได้รับผลกระทบ

  • ระบบปฏิบัติการ Linux ที่ติดตั้ง Kernel ตั้งแต่เวอร์ชัน 2.6.39 ถึง 3.2.1 เช่น
    • Ubuntu 11.10
    • Red Hat Enterprise Linux 6
    • Fedora 16
    • openSUSE 12.1
    • Debian wheezy (รุ่นทดสอบของเวอร์ชัน 7)
  • อุปกรณ์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Android เวอร์ชัน 4.0 เช่น Galaxy Nexus, Galaxy S และ Transformer Prime เป็นต้น

วิธีการตรวจสอบเวอร์ชันของ Kernel

1. หากผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการ Linux ต้องการตรวจสอบเวอร์ชั่นของ Kernel ที่มากับ Distribution ที่ตนเองใช้อยู่ว่าได้รับผลกระทบหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้ด้วยการเข้าไปที่เว็บไซต์ http://www.distrowatch.com เลือก Distribution ที่ต้องการตรวจสอบ จากนั้นดูในส่วนของ Package ที่ชื่อ linux ตัวอย่างการตรวจสอบเวอร์ชันของ Kernel ของระบบปฏิบัติการ Fedora 16 พบว่าใช้ Kernel เวอร์ชัน 3.1 ดังรูปที่ 1

 

รูปที่ 1 ตัวอย่างการตรวจสอบเวอร์ชันของ Kernel ของระบบปฏิบัติการ Fedora


2. สำหรับการตรวจสอบเวอร์ชันของ Kernel ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากวิธีการตรวจสอบเวอร์ชันของ Kernel ของระบบปฏิบัติการ Linux นั้นอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละ Distribution ผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการ Linux สามารถตรวจสอบเวอร์ชันของ Kernel ที่ตนเองใช้อยู่ได้ตามวิธีในเว็บไซต์ CyberCiti.biz ตัวอย่างการตรวจสอบเวอร์ชันของ Kernel ของระบบปฏิบัติการ Ubuntu เป็นดังรูปที่ 2

 

รูปที่ 2 ตัวอย่างการตรวจสอบเวอร์ชันของ Kernel ของระบบปฏิบัติการ Ubuntu

ข้อแนะนำในการป้องกันและแก้ไข 

ทาง Kernel.org ได้ปรับปรุงแก้ไขช่องโหว่ดังกล่าวเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2555  และการแก้ไขนี้จะมีผลตั้งแต่ Linux Kernel 3.2.2 เป็นต้นไป  ทางผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Linux Distribution ต่างๆ เช่น Ubuntu, Debian หรือ Red Hat ได้นำ Patch จาก Kernel.org ไปปรับปรุงใน Kernel ของตนเอง และได้ทำการเผยแพร่ Kernel เวอร์ชันใหม่ที่แก้ไขปัญหาดังกล่าว ผ่านช่องทางการอัพเดทของแต่ละ Distribution แล้ว  ซึ่งเวอร์ชันของ Kernel ที่ถูกปรับปรุงช่องโหว่ดังกล่าวอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละ Distribution ผู้ใช้งานควรตรวจสอบการอัพเดทและปรับปรุงระบบให้เป็น Kernel เวอร์ชันที่ถูกปรับปรุงหลังจากวันที่ 17 มกราคม 2555 โดยเร็วที่สุด

ที่มา ThaiCert

ปรับปรุงข้อมูล : 1/1/2557 0:00:00     ที่มา : งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 9757

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com ผู้ช่วยคนสำคัญที่จะทำให้การสอบบนโลกออนไลน์ เป็นเรื่องที่ง่ายชูฟีเจอร์เด่น- ประเภทคำถามที่หลากหลายกว่า 15 ประเภท- ระบบความปลอดภัยขั้นสูงล็อกเครื่องกั้นโกง- ใช้งานร่วมกับ Microsoft Teams ได้อย่างไร้รอยต่อ- รองรับการเข้าสอบพร้อมกันได้ระดับหลักแสนคน- AI คุมสอบ ตรวจจับละเอียด พร้อมประเมินความเสี่ยงการทุจริตได้อย่างแม่นยำข่าวประชาสัมพันธ์• VDO อบรมการใช้งาน Dugga (วันที่ 4 กรกฎาคม 2567)คู่มือการใช้งานระบบ Dugga สำหรับอาจารย์คู่มือการใช้งานระบบ Dugga สำหรับนักศึกษาเกี่ยวกับ DUGGA          Dugga Digital Assessment หรือ Dugga (อ่านว่า ดุกก้า) เป็นแพลตฟอร์มการประเมินแบบดิจิทัลที่สามารถใช้ภายในโรงเรียนมัธยม มหาวิทยาลัย และองค์กรต่าง ๆ โดยแพลตฟอร์ม Dugga รองรับการใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการทั่วไป เช่น Windows, Mac OS X, iPad OS และ Chrome OSการใช้งานสำหรับอาจารย์          1.เข้าที่ URL  https://auth.dugga.com/login จากนั้นเลือก Log in with Microsoft สามารถใช้งานผ่าน eMail มหาวิทยาลัยแม่โจ้
11 กรกฎาคม 2567     |      1632
วิธีการเปลี่ยนการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator
วิธีการเปลี่ยนการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticatorเครื่องมือที่ใช้ในการยืนยันตัวตน Multi-Factor Authentication (MFA) เป็นวิธีการในการยืนยันตัวตน โดยใช้การยืนยันตัวตนหลายอย่าง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องผูกกับหมายเลขโทรศัพท์ ทำให้สะดวกในการใช้งานและมีความปลอดภัยมากขึ้น1. เข้า Email มหาวิทยาลัยแม่โจ้ https://www.office.comทำการลงชื่อผู้ใช้งานให้เรียบร้อย แล้วกดที่ Profile มุมขวาบน แล้วเลือก View account2. เลือก Security info3. ทำการลบ Sign-in method ที่ไม่จำเป็นออก เมื่อลบแล้วให้กด Add sign-in method4. เลือก Authenticator app กด Add5. ระบบจะแนะนำให้ผู้ใช้งานทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือ แล้วกด Next  ** ผู้ใช้งานสามารถเลือกติดตั้งได้ ตามระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานทั้ง Android และ iOS6. เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือแล้ว กด Next7. เปิดโปรแกรม Microsoft Authenticator app ในโทรศัพท์มือถือ กดเพิ่มเครื่องหมาย +8. เลือก Work or school account แล้วเลือก Scan QR Code9. ทำการ Scan QR code ที่ปรากฎในหน้าจอ**หากไม่สามารถ Scan QR code ได้เนื่องจาก QR code หมดอายุ ให้คลิ๊ก Back แล้วกด Next เพื่อให้ QR Code แสดงใหม่แล้วทำการ Scan ใหม่อีกครั้ง10. เมื่อ Scan QR code บนโทรศัพท์มือถือสำเร็จ จะปรากฎชื่อบัญชีที่ตั้งค่าใน Microsoft Authenticator app และจะปรากฎชุดตัวเลข บนหน้าจอ11. ทำการกรอกตัวเลขไปยัง Microsoft Authenticator app บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อยืนยันตัวตน แล้วกด Yes12. กด Next13. Microsoft Authenticator app ทำการยืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว กด Done14. การยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator สำเร็จแล้ว สามารถเลือกวิธีการยืนยันตัวตนได้ โดยกด Change15. ค่าเริ่มต้นการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator คือ App based authentication - notification
17 กุมภาพันธ์ 2567     |      7397
การเปิดใช้งาน MFA Microsoft Authenticator
การเปิดใช้งาน MFA Microsoft Authenticatorเข้าใช้งานเว็บไซต์ https://www.office.com ทำการลงชื่อผู้ใช้งาน Sign in2. Login โดยใช้ username @mju.ac.th แล้วกด Next3. ใส่รหัสผ่าน Email แล้วกด Sign in4. กด Next เพื่อเข้าใช้งาน5. ระบบจะแนะนำให้ผู้ใช้งานทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือ แล้วกด Next  ** ผู้ใช้งานสามารถเลือกติดตั้งได้ ตามระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานทั้ง Android และ iOS6. เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือแล้ว กด Next7. เปิดโปรแกรม Microsoft Authenticator app ในโทรศัพท์มือถือ กดเพิ่มเครื่องหมาย +8. เลือก Work or school account แล้วเลือก Scan QR Code9. ทำการ Scan QR code ที่ปรากฎในหน้าจอ**หากไม่สามารถ Scan QR code ได้เนื่องจาก QR code หมดอายุ ให้คลิ๊ก Back แล้วกด Next เพื่อให้ QR Code แสดงใหม่แล้วทำการ Scan ใหม่อีกครั้ง10. เมื่อ Scan QR code บนโทรศัพท์มือถือสำเร็จ จะปรากฎชื่อบัญชีที่ตั้งค่าใน Microsoft Authenticator app และจะปรากฎชุดตัวเลข บนหน้าจอ11. ทำการกรอกตัวเลขไปยัง Microsoft Authenticator app บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อยืนยันตัวตน แล้วกด Yes12. กด Next13. Microsoft Authenticator app ทำการยืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว กด Done14. เข้าใช้งาน MS365 ผ่านเว็บ Browser ได้
15 กุมภาพันธ์ 2567     |      11020
การถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud
การถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud ด้วย Creative Cloud Cleaner tool How and when to use the Creative Cloud Cleaner tool?ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ Windows ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ macOS ขั้นตอนการถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud (ระบบปฏิบัติการ Windows)1. ทำการ ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ Windows2. แตกไฟล์ zip คลิ๊กขวาเลือก Run as administrator3. เลือก e แล้วกด Enter4. พิมพ์ y กด Enter5. เลือกโปรแกรมที่ต้องการจะลบ เลือกลบทั้งหมด (All) พิมพ์ 1 แล้วกด Enter6.ดูหมายเลข ของ Clean All. ใส่หมายเลขแล้วกด Enter 7.พิมพ์ y กด Enter เพื่อยืนยันการลบโปรแกรม เมื่อเสร็จแล้วกด Enter ออกจากโปรแกรม แล้ว Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการลบโปรแกรม Adobe Creative Cloud  ขั้นตอนการถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud (ระบบปฏิบัติการ macOS)ทำการดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ macOSแตกไฟล์ zip แล้ว Double Click เพื่อติดตั้งโปรแกรม กด Open3. เลือกโปรแกรมที่ต้องการจะลบ เลือกลบทั้งหมด (All) กด Clean All4. เมื่อทำการถอนการติตตั้งเสร็จ ปิดโปรแกรม แล้ว Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการลบโปรแกรม Adobe Creative Cloud 
13 พฤศจิกายน 2566     |      8699