งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต
Networking Systems and Internet Services

พบโปรแกรมสอดแนมคอมพิวเตอร์ตัวร้ายที่ขโมยชื่อบัญชีและรหัสผ่านของผู้ใช้บริการเฟซบุ๊ก (Facebook) ไปได้มากกว่า 45,000 ชื่อ ผู้ใช้ส่วนใหญ่ที่ถูกหางเลขคือชาวฝรั่งเศสและอังกฤษ
       
       นักวิจัยบริษัทรักษาความปลอดภัยบนคอมพิวเตอร์ Securlet รายงานการพบโปรแกรมร้ายนี้ไว้บนเว็บไซต์ โดยระบุว่าโปรแกรมที่สามารถขโมยข้อมูลชื่อและรหัสผ่านผู้ใช้ Facebook ไปได้มากกว่า 45,000 ชื่อนี้มีนามว่า Ramnit โดยข้อมูลจากอีกบริษัทรักษาความปลอดภัยอย่าง McAfee ชี้ว่าหนอนคอมพ์นี้สามารถแพร่กระจายผ่านโปรแกรมตระกูลวินโดวส์อย่าง Microsoft Office รวมถึงไฟล์ HTML
       
       บริษัท Securlet ตั้งข้อสงสัยว่า ผู้โจมตีที่อยู่เบื้องหลังการสร้างหนอน Ramnit นั้นกำลังเตรียมการสวมรอยเหยื่อที่ข้อมูลชื่อบัญชีและรหัสผ่าน Facebook ถูกขโมยไป เพื่อส่งต่อลิงก์อันตรายให้กับเพื่อนของเหยื่อ ซึ่งจะทำให้หนอนคอมพ์แพร่พันธุ์ต่อไปไม่รู้จบบน Facebook
       
       อย่างไรก็ตาม Securlet เชื่อว่าภัยของหนอน Ramnit จะร้ายแรงขึ้นเพราะความจริงเรื่องชาวออนไลน์จำนวนไม่น้อยนิยมตั้งรหัสผ่านบริการออนไลน์ให้เหมือนกันหมด ทำให้มีโอกาสที่ชื่อบัญชีและรหัสผ่านของผู้ใช้ Facebook จะถูกนำไปทดลองใช้กับบริการ Gmail, เครือข่าย Corporate SSL VPN สำหรับส่งข้อมูลในองค์กร, บริการเอาท์ลุค Outlook Web Access และอื่นๆซึ่งอาจทำให้นักสร้างหนอนสามารถเข้าถึงเครือข่ายขององค์กรบริษัทอื่นๆได้
       
       Ramnit นั้นถูกตรวจพบครั้งแรกในเดือนเมษายน 2010 ก่อนนี้ Ramnit เป็นหนอนที่มุ่งขโมยข้อมูลสำคัญจากการดักจับโปรโตคอลรับส่งไฟล์ FTP และคุ้กกี้ในเบราว์เซอร์ กระทั่งสิงหาคมปี 2011 หนอน Ramnit จึงได้ฤกษ์อาละวาดในองค์กรสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นช่วงหลังจากผู้สร้างดึงชุดคำสั่งซอร์สโค้ดบอตเน็ต Zeus มาใช้จนทำให้หนอนสามารถลักลอบเข้าสู่เครือข่ายข้อมูลสถาบันการเงินได้จากระยะไกล ครั้งนั้นคาดว่ามีเครื่องที่ได้รับเชื้อหนอน Ramnit มากกว่า 800,000 เครื่องตั้งแต่เดือนกันยายน 2011 ถึงปลายปีที่ผ่านมา
       
       สำหรับข้อสรุปเรื่องการขโมยชื่อบัญชีผู้ใช้ Facebook มากกว่า 45,000 รายการนั้นมาจากการตรวจพบข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ของ Ramnit ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลคำแนะนำถึงวิธีการสังเกตว่าชื่อบัญชีของผู้ใช้รายใดถูกขโมยไป เบื้องต้นขอให้ผู้ใช้ระมัดระวังการคลิกลิงก์ผิดปกติให้สม่ำเสมอจึงจะดีที่สุด

ปรับปรุงข้อมูล : 1/1/2557 0:00:00     ที่มา : งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 7229

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

การถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud
การถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud ด้วย Creative Cloud Cleaner tool How and when to use the Creative Cloud Cleaner tool?ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ Windows ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ macOS ขั้นตอนการถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud (ระบบปฏิบัติการ Windows)1. ทำการ ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ Windows2. แตกไฟล์ zip คลิ๊กขวาเลือก Run as administrator3. เลือก e แล้วกด Enter4. พิมพ์ y กด Enter5. เลือกโปรแกรมที่ต้องการจะลบ เลือกลบทั้งหมด (All) พิมพ์ 1 แล้วกด Enter6.ดูหมายเลข ของ Clean All. ใส่หมายเลขแล้วกด Enter 7.พิมพ์ y กด Enter เพื่อยืนยันการลบโปรแกรม เมื่อเสร็จแล้วกด Enter ออกจากโปรแกรม แล้ว Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการลบโปรแกรม Adobe Creative Cloud  ขั้นตอนการถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud (ระบบปฏิบัติการ macOS)ทำการดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ macOSแตกไฟล์ zip แล้ว Double Click เพื่อติดตั้งโปรแกรม กด Open3. เลือกโปรแกรมที่ต้องการจะลบ เลือกลบทั้งหมด (All) กด Clean All4. เมื่อทำการถอนการติตตั้งเสร็จ ปิดโปรแกรม แล้ว Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการลบโปรแกรม Adobe Creative Cloud 
13 พฤศจิกายน 2566     |      171
โครงการสัมมนา“ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน”
คุณธนชาต วิวัฒนภูติ Business Development & Marketing Manager จากบริษัท ลานนาคอม จำกัด ที่ได้มาให้ความรู้โครงการ "ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน" กองเทคโนโลยีดิจทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการจัดโครงการสัมมนา“ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ประยุกต์ใช้ให้ทันโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง เรียนรู้วิธีการใช้งาน ChatGPT ให้เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในวันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2566 เวลา 9.00-12.00 น. ผ่านระบบ Webinar MS Teamsเอกสารที่เกี่ยวข้องวิดีโอโครงการสัมมนา“ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน” ช่วงที่ 1วิดีโอโครงการสัมมนา“ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน” ช่วงที่ 2
16 กรกฎาคม 2566     |      423