งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต
Networking Systems and Internet Services

ดูเหมือนว่าชาวออนไลน์จะเจ็บไม่เคยจำ เพราะไม่ว่าจะมีข่าวเรื่องนักเจาะระบบสามารถคาดเดารหัสผ่านจนทำให้การลักลอบใช้บริการออนไลน์ทำได้สำเร็จกี่ครั้ง ชาวออนไลน์ก็ยังคงตั้งพาสเวิร์ดหรือรหัสผ่านเดาง่ายอยู่ต่อไป ล่าสุดการสำรวจพบว่า พาสเวิร์ดอย่างคำว่า password สามารถครองแชมป์ 1 ใน 25 รหัสผ่านยอดแย่ประจำปีนี้ ขณะที่ 123456 และ 12345678 คว้าอันดับ 2 และ 3 ไปครอง
       
       รายการ 25 รหัสผ่านยอดแย่ประจำปีนี้เป็นผลงานการวิจัยของบริษัท SplashData ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ โดย SplashData จัดอันดับรหัสผ่านหลายล้านคำที่ถูกขโมยและถูกนักเจาะระบบนำมาโพสต์เผยแพร่ปั่นป่วนไว้บนโลกออนไลน์ ซึ่งพบว่าคำว่า password คือรหัสผ่านที่ถูกโพสต์ไว้บ่อยครั้งที่สุด
       
       นอกจากคำว่า password และ ลำดับเลข 123456 ชุดตัวอักษรที่อยู่ติดกันบนแป้นคีย์บอร์ดอย่าง qwerty ก็ติดอันดับถูกขโมยและโพสต์บ่อยครั้งรองลงมา ที่น่าสนใจคือ วลีที่ดูเหมือนจะเดายากอย่าง "trustno1" และคำศัพท์เฉพาะอย่าง "shadow" กลับเป็นรหัสผ่านธรรมดาที่เหล่าแฮกเกอร์สามารถเดาได้ เช่นเดียวกับคำว่า "monkey" ที่ติดอันดับรหัสผ่านยอดแย่เช่นกัน
       
       รายการ 25 รหัสผ่านยอดแย่ที่ SplashData เปิดเผย ได้แก่
       
       1. password
       2. 123456
       3. 12345678
       4. qwerty
       5. abc123
       6. monkey
       7. 1234567
       8. letmein
       9. trustno1
       10. dragon
       11. baseball
       12. 111111
       13. iloveyou
       14. master
       15. sunshine
       16. ashley
       17. bailey
       18. passw0rd
       19. shadow
       20. 123123
       21. 654321
       22. superman
       23. qazwsx
       24. michael
       25. football
       
       ดังนั้นใครที่บังเอิญตั้งรหัสผ่านตรงกับรหัสผ่านยอดแย่ทั้งหมดนี้ ทางที่ดีควรจะเปลี่ยนใหม่เพราะมีโอกาสสูงที่นักเจาะระบบจะสามารถคาดเดาและลักลอบสวมรอยบนโลกออนไลน์ได้อีก โดยเฉพาะในองค์กรที่มีข้อมูลสำคัญ
       
       นอกจากนี้ SplashData แนะนำว่า รหัสผ่านที่ดีควรประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ที่หลากหลาย หากกังวลว่าจะลืม ให้เลือกใช้วลียาวเป็นรหัสผ่าน แล้วใช้เครื่องหมาย underscore คั่นกลาง เช่น "shiny_phones_rule_1." โดย SplashData ชี้ว่าการใช้วลีจะช่วยให้ผู้ใช้จำรหัสผ่านได้ดีกว่าตัวอักษรยาวที่ไร้ความหมาย
       
       ขณะเดียวกัน อย่าใช้รหัสผ่านเดียวกับบริการออนไลน์ทั้งหมด อย่างน้อยที่สุดควรตั้งรหัสผ่านใหม่สำหรับบริการที่มีความสำคัญ เช่น บริการธนาคารออนไลน์หรืออีเมล ทั้งหมดนี้เพื่อป้องกันไม่ให้นักแฮกที่สามารถขโมยรหัสผ่านบริการเว็บบอร์ด นำรหัสผ่านเดียวกันมาสวมรอยเพื่อใช้บริการโอนเงินออนไลน์
       
       อีกทางเลือกที่น่าลองคือการใช้ซอฟต์แวร์จัดการรหัสผ่านอย่าง LastPass, Roboform, eWallet, SplashID หรือบริการฟรีอย่าง KeePass ซอฟตืแวร์เหล่านี้จะช่วยจดจำรหัสผ่าน ทำให้ชาวออนไลน์สามารถสร้างรหัสผ่านที่ยาวและซับซ้อนได้สมใจ

ปรับปรุงข้อมูล : 12/9/2554 14:22:10     ที่มา : งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 7779

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

โครงการสัมมนา“ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน”
คุณธนชาต วิวัฒนภูติ Business Development & Marketing Manager จากบริษัท ลานนาคอม จำกัด ที่ได้มาให้ความรู้โครงการ "ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน" กองเทคโนโลยีดิจทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการจัดโครงการสัมมนา“ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ประยุกต์ใช้ให้ทันโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง เรียนรู้วิธีการใช้งาน ChatGPT ให้เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในวันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2566 เวลา 9.00-12.00 น. ผ่านระบบ Webinar MS Teamsเอกสารที่เกี่ยวข้องวิดีโอโครงการสัมมนา“ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน” ช่วงที่ 1วิดีโอโครงการสัมมนา“ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน” ช่วงที่ 2
16 กรกฎาคม 2566     |      316
พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA)
หนึ่งในปัญหาสำคัญที่นำไปสู่การออกกฎหมาย PDPA คือ การที่ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลสู่สาธารณะ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ข้อมูลต่างๆ ถูกแปลงให้อยู่ในรูปดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลสามารถหลุดออกไปได้หลากหลายช่องทางโดยบางครั้งเจ้าของข้อมูลก็ไม่รู้ตัว เช่น การโพสต์ข้อมูลส่วนบุคคลลงสื่อสังคมออนไลน์ การใช้บริการแอปพลิเคชันต่างๆ แล้วกดตกลงให้ความยินยอมในการให้ข้อมูลเองโดยไม่อ่านรายละเอียด การโดนแฮ็กหรือเจาะขโมยข้อมูล การถูกหลอกลวงด้วยวิธีต่างๆ เช่น Phishing เป็นต้น การรั่วไหลหรือขโมยข้อมูลส่วนบุคคลอาจนำไปสู่ความเสียหายดังต่อไปนี้ • ถูกนำไปใช้ในทางผิดกฎหมาย เช่น เลขบัตรประชาชนถูกนำไปใช้เปิดบัญชีเพื่อฉ้อโกงผู้อื่น คลิปส่วนตัวถูกข่มขู่แบล็กเมล เป็นต้น • โดนจารกรรมทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการใช้หมายเลขบัตรเครดิตไปซื้อสินค้า หรือโอนเงินจากบัญชีธนาคาร • ถูกนำไปทำการตลาดต่อ ส่งผลให้เจ้าของข้อมูลถูกรบกวนด้วยโฆษณา ขายสินค้าและบริการต่างๆ • ถูกปลอมแปลงตัวตน แล้วเอาไปแอบอ้างทำเรื่องเสียหายหรือผิดกฎหมายเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนไทย ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคาร อีเมล ไอดีไลน์ บัญชีผู้ใช้ของเว็บไซต์ ลายนิ้วมือ ประวัติสุขภาพ รวมไปถึงข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถระบุถึงตัวเจ้าของข้อมูลนั้นได้ ทั้งในรูปแบบเอกสาร กระดาษ หนังสือ หรืออิเล็กทรอนิกส์ กฎหมาย PDPA จึงถูกพัฒนาและเตรียมบังคับใช้งานอย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 1 มิถุนายน 2022 นี้ หลักสำคัญของกฎหมาย PDPA สามารถสรุปได้เป็น 6 ประเด็น ดังนี้ 1. เจ้าของข้อมูลมีสิทธิ์ลบ เพิ่ม ห้าม แก้ไข และเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของตัวเองได้ 2. ต้องให้ความสะดวกในการขอเพิกถอนสิทธิ เช่นเดียวกับตอนที่ขอข้อมูลมาจากเจ้าของข้อมูลในตอนแรก 3. เก็บข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็น ตามวัตถุประสงค์ในการขอข้อมูลมา 4. เมื่อพบข้อมูลรั่วไหล ต้องแจ้งเจ้าของข้อมูลและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดภายใน 72 ชั่วโมง 5. ต้องมีผู้ดูแล รับผิดชอบ และควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล 6. โทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5,000,000 บาท โดยอาจมีความผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่ง ไม่ว่าจะเป็น Data Controllers หรือ Data Processors 8 ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมขององค์กรก่อน PDPA ประกาศใช้ มีคำแนะนำสำหรับการเตรียมความพร้อมขององค์กรในภาพใหญ่ 8 ข้อ ดังนี้ 1. ทำความเข้าใจว่ากฎหมาย PDPA คืออะไร 2. ตั้งงบประมาณ 3. แต่งตั้งทีมรับผิดชอบ 4. กำหนดประเภทข้อมูลและวัตถุประสงค์ 5. เตรียมข้อกำหนด แนวทางปฏิบัติในการปกป้องข้อมูลตามที่กฎหมายกำหนด 6. สร้างความตระหนักรู้ให้กับเจ้าของข้อมูลและประชาสัมพันธ์ให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 7. พัฒนาทักษะและกระบวนการตรวจสอบ 8. ปรับปรุงกระบวนการและออกแบบให้เหมาะสมกับการคุ้มครองข้อมูงส่วนบุคคลอยู่เสมอ สำหรับขั้นตอนในการรับมือกฎหมาย PDPA โดยละเอียดได้แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ 1. Data Discovery ค้นหาและตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล 2. Privacy Policy กำหนดการใช้หรือการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล 3. Security Measurement วางมาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัยสำหรับปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล 4. Data Transfer วางระบบการบริหารจัดการ การส่ง หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล 5. DPO แต่งตั้งผู้กำกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคล PDPA in Action เมื่อนำกฎหมาย PDPA มาแปลงให้อยู่ในระบบสารสนเทศ จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ Data Subject Request, Front-end (DPO) และ Back-end System เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ PDPAเอกสารโครงการเตรียมความพร้อมรองรับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) วันอังคารที่ 26 เมษายน 2565 วิดีโอโครงการฝึกอบรม “ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562” วันศุกร์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2566เอกสารอ้างอิงของมหาวิทยาลัยแม่โจ้คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาและวางแนวนโยบายในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่องนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลCookies-Policy - MJUข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล - MJUคำประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว-Privacy-Notice-MJUนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล-Privacy-Policy - MJUแนวปฎิบัติสำหรับการดำเนินการของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล - MJUบันทึกรายการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของ-MJUเอกสารแสดงความยินยอม-Consent-Form - MJU
22 พฤษภาคม 2566     |      855