งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต
Networking Systems and Internet Services

แมคอาฟี่ (McAfee) บริษัทรักษาความปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์เผยรายงานสถานการณ์ภัยโจมตีบนอุปกรณ์พกพาประจำไตรมาส 3 ปี 2011 พบว่าซอฟต์แวร์ประสงค์ร้ายหรือมัลแวร์ (Malware) ในอุปกรณ์พกพามากกว่า 90% พุ่งเป้าโจมตีที่สมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) เบ็ดเสร็จจำนวนมัลแวร์ที่มุ่งถล่มแอนดรอยด์เพิ่มขึ้น 37% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ทำสถิติให้ปี 2011 เป็นปีที่มีปริมาณมัลแวร์เกิดขึ้นใหม่มากที่สุดในประวัติศาสตร์
       
       ท่ามกลางกองทัพสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตแอนดรอยด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในตลาดโลก แมคอาฟี่เผยว่าซอฟต์แวร์ประสงค์ร้ายสำหรับอุปกรณ์พกพาที่ถูกสร้างใหม่ในไตรมาส 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2011) เกือบทั้งหมดนั้นวางเป้าหมายที่อุปกรณ์แอนดรอยด์ โดยสัดส่วนการโจมตีแอนดรอยด์มากกว่า 90% ในขณะนี้สูงกว่า 76% ซึ่งแมคอาฟี่เคยสำรวจได้เมื่อไตรมาส 2 ที่ผ่านมา (เมษายน-มิถุนายน)
       
       ในแง่ภาพรวมของตลาดมัลแวร์ แมคอาฟี่นั้นเคยประเมินไว้ช่วงปลายปี 2010 ว่าจำนวนมัลแวร์ในปี 2011 จะมีมากกว่า 70 ล้านโปรแกรม แต่ล่าสุด แมคอาฟี่ปรับเพิ่มตัวเลขเป็น 75 ล้านโปรแกรม ทำให้ปี 2011 เป็นปีที่มีจำนวนซอฟต์แวร์ประสงค์ร้ายเกิดใหม่มากที่สุดในประวัติศาสตร์มัลแวร์
       
       แมคอาฟี่นั้นระบุว่า ผู้สร้างมัลแวร์มองเห็นความนิยมในอุปกรณ์แอนดรอยด์ และช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ทำให้แอนดรอยด์กลายเป็นแพลตฟอร์มเดียวที่มัลแวร์ส่วนใหญ่ที่เกิดใหม่ในไตรมาส 3 พุ่งเป้าโจมตี
       
       ผลการสำรวจของแมคอาฟี่สอดคล้องกับผลสำรวจของจูปิเตอร์ (Jupiter Networks) ที่รายงานออกมาก่อนหน้านี้ว่าอุปกรณ์แอนดรอยด์กลายเป็นเป้าหมายใหญ่ของมัลแวร์ในปัจจุบัน โดยจูปิเตอร์ประเมินว่ามีจำนวนมหาศาลคิดเป็นเปอร์เซนต์สูงถึง 472% ทำให้จูปิเตอร์ประกาศเตือนผู้ใช้สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ให้สังเกตและตรวจสอบคำอธิบายแอปฯ รวมไปถึงคอมเมนต์ของผู้ใช้งานและคะแนนของแอปฯ ทุกตัวก่อนดาวน์โหลดให้ดี
       
       ภัยโจมตีแอนดรอยด์ที่เพิ่มขึ้นนั้นถูกพบในเวลาเดียวกับที่ผู้ให้บริการอย่างกูเกิลยืนยันว่าบริษัทมีมาตรการที่แน่นหนาและมีความตื่นตัวในการตรวจสอบความเสี่ยงที่อาจสร้างความเสียหายแก่ผู้ใช้งานอยู่ตลอด ทั้งหมดนี้เป็นผลจากในช่วงที่ผ่านมา แอนดรอยด์มาร์เก็ต (Android Market) ตลาดกลางสำหรับดาวน์โหลดหรือซื้อแอปฯของชาวแอนดรอยด์นั้นเคยถูกโจมตี อย่างไรก็ตาม กระบวนการดังกล่าวยังคงมีช่องโหว่ และบ่อยครั้งที่กูเกิลไม่สามารถแจ้งเตือนผู้ใช้แอนดรอยด์มาร์เก็ต ว่าแอปฯใดมีมัลแวร์แฝงตัวอยู่ ทำให้ผู้ใช้หลงเข้าใจว่าแอปฯที่ดาวน์โหลดมาจากแอนดรอยด์มาร์เก็ตมีความปลอดภัย และไม่ตรวจสอบให้ดีก่อนจะดาวน์โหลดแอปฯเหล่านั้น
       
       ***SMS อันตรายสุด
       
       แมคอาฟี่พบว่าหนึ่งในรูปแบบการล่อลวงยอดนิยมบนอุปกรณ์แอนดรอยด์คือการแนบโทรจันไปกับข้อความ SMS เพื่อให้โทรจันดังกล่าวเก็บข้อมูลส่วนตัวรวมถึงข้อมูลการเงินที่สำคัญ สำหรับรูปแบบกลลวงใหม่เพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้แอนดรอยด์ คือการสร้างมัลแวร์ที่บันทึกบทสนทนาและส่งไฟล์ไปยังแฮกเกอร์โดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัว
       
       แมคอาฟี่ยังพบว่ารูปแบบการโจมตีดั้งเดิมยังคงเพิ่มขึ้นเช่นกัน ทั้งการสร้างโปรแกรมแอนตี้ไวรัสปลอม Fake Anti-Virus (AV), การใช้ชุดคำสั่งเปิดการทำงานโปรแกรมอัตโนมัติหรือ AutoRun และโทรจันขโมยรหัสผ่านนั้นมีสถิติการโจมตีมากกว่าไตรมาสที่ผ่านมา
       
       นอกจากนี้ มัลแวร์ที่มุ่งโจมตีคอมพิวเตอร์แมคอินทอช (Mac) นั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ผ่านมาเช่นกัน แต่มีอัตราการเติบโตน้อยกว่าไตรมาส 2 ของปี ขณะเดียวกัน โลกออนไลน์ยังคงเป็นแหล่งที่นักโจมตีใช้เพื่อล่าเหยื่อเช่นเดิม แม้ไตรมาส 3 ที่ผ่านมา จำนวนเว็บไซต์ประสงค์ร้ายที่สร้างเพื่อกระจายมัลแวร์และล่อลวงจะลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 โดยปริมาณเว็บไซต์ประสงค์ร้ายที่เกิดใหม่ในเดือนกรกฏาคม-กันยายนที่แมคอาฟี่ตรวจพบคือ 6,500 แห่ง น้อยกว่า 7,300 แห่งที่เกิดใหม่ในช่วงก่อนเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
       
       ที่น่าสนใจคือ ปริมาณสแปมหรืออีเมลขยะนั้นลดลงต่ำสุดในไตรมาสนี้ (ในรอบ 4 ปีที่ผ่านมาหรือตั้งแต่ปี 2007) แต่แมคอาฟี่พบว่าสแปมเหล่านี้มีพัฒนาการและผลกระทบที่ร้ายแรงกว่าเดิม ขณะที่ภัยบ็อตเน็ต (botnet) หรือการควบคุมสั่งการเครื่องจากระยะไกลนั้นมีปริมาณลดลงในไตรมาสนี้ ทั้งที่เคยมีทิศทางเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในประเทศอย่างอาร์เจนตินา อินโดนีเซีย รัสเซีย และเวเนซุเอลา

ที่มา ASTV ผู้จัดการออนไลน์

ปรับปรุงข้อมูล : 12/9/2554 14:13:00     ที่มา : งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 8770

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

วิธีการเปลี่ยนการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator
วิธีการเปลี่ยนการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticatorเครื่องมือที่ใช้ในการยืนยันตัวตน Multi-Factor Authentication (MFA) เป็นวิธีการในการยืนยันตัวตน โดยใช้การยืนยันตัวตนหลายอย่าง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องผูกกับหมายเลขโทรศัพท์ ทำให้สะดวกในการใช้งานและมีความปลอดภัยมากขึ้น1. เข้า Email มหาวิทยาลัยแม่โจ้ https://www.office.comทำการลงชื่อผู้ใช้งานให้เรียบร้อย แล้วกดที่ Profile มุมขวาบน แล้วเลือก View account2. เลือก Security info3. ทำการลบ Sign-in method ที่ไม่จำเป็นออก เมื่อลบแล้วให้กด Add sign-in method4. เลือก Authenticator app กด Add5. ระบบจะแนะนำให้ผู้ใช้งานทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือ แล้วกด Next  ** ผู้ใช้งานสามารถเลือกติดตั้งได้ ตามระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานทั้ง Android และ iOS6. เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือแล้ว กด Next7. เปิดโปรแกรม Microsoft Authenticator app ในโทรศัพท์มือถือ กดเพิ่มเครื่องหมาย +8. เลือก Work or school account แล้วเลือก Scan QR Code9. ทำการ Scan QR code ที่ปรากฎในหน้าจอ**หากไม่สามารถ Scan QR code ได้เนื่องจาก QR code หมดอายุ ให้คลิ๊ก Back แล้วกด Next เพื่อให้ QR Code แสดงใหม่แล้วทำการ Scan ใหม่อีกครั้ง10. เมื่อ Scan QR code บนโทรศัพท์มือถือสำเร็จ จะปรากฎชื่อบัญชีที่ตั้งค่าใน Microsoft Authenticator app และจะปรากฎชุดตัวเลข บนหน้าจอ11. ทำการกรอกตัวเลขไปยัง Microsoft Authenticator app บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อยืนยันตัวตน แล้วกด Yes12. กด Next13. Microsoft Authenticator app ทำการยืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว กด Done14. การยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator สำเร็จแล้ว สามารถเลือกวิธีการยืนยันตัวตนได้ โดยกด Change15. ค่าเริ่มต้นการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator คือ App based authentication - notification
17 กุมภาพันธ์ 2567     |      1425
การเปิดใช้งาน MFA Microsoft Authenticator
การเปิดใช้งาน MFA Microsoft Authenticatorเข้าใช้งานเว็บไซต์ https://www.office.com ทำการลงชื่อผู้ใช้งาน Sign in2. Login โดยใช้ username @mju.ac.th แล้วกด Next3. ใส่รหัสผ่าน Email แล้วกด Sign in4. กด Next เพื่อเข้าใช้งาน5. ระบบจะแนะนำให้ผู้ใช้งานทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือ แล้วกด Next  ** ผู้ใช้งานสามารถเลือกติดตั้งได้ ตามระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานทั้ง Android และ iOS6. เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือแล้ว กด Next7. เปิดโปรแกรม Microsoft Authenticator app ในโทรศัพท์มือถือ กดเพิ่มเครื่องหมาย +8. เลือก Work or school account แล้วเลือก Scan QR Code9. ทำการ Scan QR code ที่ปรากฎในหน้าจอ**หากไม่สามารถ Scan QR code ได้เนื่องจาก QR code หมดอายุ ให้คลิ๊ก Back แล้วกด Next เพื่อให้ QR Code แสดงใหม่แล้วทำการ Scan ใหม่อีกครั้ง10. เมื่อ Scan QR code บนโทรศัพท์มือถือสำเร็จ จะปรากฎชื่อบัญชีที่ตั้งค่าใน Microsoft Authenticator app และจะปรากฎชุดตัวเลข บนหน้าจอ11. ทำการกรอกตัวเลขไปยัง Microsoft Authenticator app บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อยืนยันตัวตน แล้วกด Yes12. กด Next13. Microsoft Authenticator app ทำการยืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว กด Done14. เข้าใช้งาน MS365 ผ่านเว็บ Browser ได้
15 กุมภาพันธ์ 2567     |      3437
การถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud
การถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud ด้วย Creative Cloud Cleaner tool How and when to use the Creative Cloud Cleaner tool?ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ Windows ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ macOS ขั้นตอนการถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud (ระบบปฏิบัติการ Windows)1. ทำการ ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ Windows2. แตกไฟล์ zip คลิ๊กขวาเลือก Run as administrator3. เลือก e แล้วกด Enter4. พิมพ์ y กด Enter5. เลือกโปรแกรมที่ต้องการจะลบ เลือกลบทั้งหมด (All) พิมพ์ 1 แล้วกด Enter6.ดูหมายเลข ของ Clean All. ใส่หมายเลขแล้วกด Enter 7.พิมพ์ y กด Enter เพื่อยืนยันการลบโปรแกรม เมื่อเสร็จแล้วกด Enter ออกจากโปรแกรม แล้ว Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการลบโปรแกรม Adobe Creative Cloud  ขั้นตอนการถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud (ระบบปฏิบัติการ macOS)ทำการดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ macOSแตกไฟล์ zip แล้ว Double Click เพื่อติดตั้งโปรแกรม กด Open3. เลือกโปรแกรมที่ต้องการจะลบ เลือกลบทั้งหมด (All) กด Clean All4. เมื่อทำการถอนการติตตั้งเสร็จ ปิดโปรแกรม แล้ว Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการลบโปรแกรม Adobe Creative Cloud 
13 พฤศจิกายน 2566     |      4812