งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต
Networking Systems and Internet Services

ดาวน์โหลดโปรแกรมลิขสิทธิ์ Microsoft ด้วย Microsoft Azure

       ปัจจุบัน Microsoft Imagine X หรือ Microsoft Dreamspark Premium (หรือชื่อเก่า MSDN Academic Alliance – MSDNAA) เป็นโครงการ “แจกซอฟท์แวร์ลิขสิทธิ์ฟรี” สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยในภาควิชา STEM (S = Science, T=Technology, E=Engineering, M=Mathematics) เพื่อใช้ในการเรียนการสอนนั้นได้ยกเลิกการให้บริการแล้ว เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 

       Microsoft Azure เป็นบริการสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการให้บริการโปรแกรมลิขสิทธิ์ Microsoft 

       สำหรับซอฟท์แวร์ที่มีให้ดาวน์โหลดในโครงการนั้นมีทั้งสิ้น 62 รายการ ซึ่งรวมถึงโปรแกรมยอดนิยมอย่าง Windows 10 Education version 21H1, Windows 10 Education version 20H2, Windows Server 2019 Satndard, Windows Server 2016 Datacenter แจกแล้วด้วย  ทั้งนี้ยังมีซอฟต์แวร์สำหรับการเขียนโปรแกรมและฐานข้อมูล ทั้ง Visual Studio Enterprise 2019 For Windows และ For Mac, SQL Server 2019 Developer, Project Professional 2019, Visio Professional 2019 เป็นต้น 

       โดยบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ทุกระดับการศึกษาสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมลิขสิทธิ์ Microsoft ฟรี เพื่อติดตั้งใช้งานบนคอมพิวเตอร์ส่วนตัว โดยมีขั้นตอนดังนี้

  ** หากมีปัญหาการใช้งาน สามารถแจ้งได้ที่ Line Official กองเทคโนโลยีดิจิทัล  LineID: https://lin.ee/gZStlIx **

  ** วิดีโอแนะนำการใช้งานและการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Azure 

  1. เข้าใช้งานได้ที่ Microsoft Azure https://azureforeducation.microsoft.com/devtools  กด Sign In เพื่อเข้าใช้งานระบบ

2. ลงชื่อเข้าใช้งานระบบด้วย E-Mail มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (@mju.ac.th) ตัวอย่างเช่น Username : mju64xxxxx@mju.ac.th กด Next

3.ใส่รหัสผ่านเข้าใช้งานระบบ E-mail แล้วกด Sign in

4. กด Yes สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เพื่อไม่ต้องการให้ถามรหัสผ่านในการเข้าใช้งานครั้งต่อไป

    กด NO สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ เพื่อให้ถามรหัสผ่านในการเข้าใช้งานครั้งต่อไป

5. ยืนยันผู้ใช้งาน กรอกเบอร์โทรศัพท์มือถือ เลือก Text me เพื่อรับรหัส แล้วกรอกรหัสที่ได้รับ กด Verify Code

6. เลือก I agree to the......  แล้วกด Accept terms

7. เมื่อเข้าระบบ Microsoft Azure จะเข้าใช้งานในส่วนของ Software สำหรับการเลือก Software ที่ต้องการ กด View Key เพื่อดู Key สำหรับการติดตั้ง กด Generate URL สำหรับ Download Software เพื่อติดตั้ง

8. Key จะแสดงที่ Product Key และ Copy Download URL ในการ Download โปรแกรม

กรณีที่นักศึกษายังไม่ได้ทำการลงทะเบียนการใช้งาน Microsoft Azure

1. นักศึกษจะเห็นรายการดาวน์โหลดโปรแกรม แค่ 5 รายการ ให้ดำเนินการ Redeem ตามภาพ

2. เลือก Start free

3. ยืนยันผู้ใช้งาน กรอกเบอร์โทรศัพท์มือถือ เลือก Text me เพื่อรับรหัส แล้วกรอกรหัสที่ได้รับ กด Verify Code

4. กรอกข้อมูลส่วนบุคคลให้ครบ แล้วเลือก I agree to the .... แล้วกด Sign up

5. จะมีรายการให้ดาวน์โหลดเพิ่มขึ้น ตามภาพ

ปรับปรุงข้อมูล : 31/5/2566 10:48:36     ที่มา : งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 9799

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

โครงการสัมมนา“ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน”
คุณธนชาต วิวัฒนภูติ Business Development & Marketing Manager จากบริษัท ลานนาคอม จำกัด ที่ได้มาให้ความรู้โครงการ "ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน" กองเทคโนโลยีดิจทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการจัดโครงการสัมมนา“ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ประยุกต์ใช้ให้ทันโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง เรียนรู้วิธีการใช้งาน ChatGPT ให้เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในวันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2566 เวลา 9.00-12.00 น. ผ่านระบบ Webinar MS Teamsเอกสารที่เกี่ยวข้องวิดีโอโครงการสัมมนา“ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน” ช่วงที่ 1วิดีโอโครงการสัมมนา“ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน” ช่วงที่ 2
16 กรกฎาคม 2566     |      303
พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA)
หนึ่งในปัญหาสำคัญที่นำไปสู่การออกกฎหมาย PDPA คือ การที่ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลสู่สาธารณะ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ข้อมูลต่างๆ ถูกแปลงให้อยู่ในรูปดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลสามารถหลุดออกไปได้หลากหลายช่องทางโดยบางครั้งเจ้าของข้อมูลก็ไม่รู้ตัว เช่น การโพสต์ข้อมูลส่วนบุคคลลงสื่อสังคมออนไลน์ การใช้บริการแอปพลิเคชันต่างๆ แล้วกดตกลงให้ความยินยอมในการให้ข้อมูลเองโดยไม่อ่านรายละเอียด การโดนแฮ็กหรือเจาะขโมยข้อมูล การถูกหลอกลวงด้วยวิธีต่างๆ เช่น Phishing เป็นต้น การรั่วไหลหรือขโมยข้อมูลส่วนบุคคลอาจนำไปสู่ความเสียหายดังต่อไปนี้ • ถูกนำไปใช้ในทางผิดกฎหมาย เช่น เลขบัตรประชาชนถูกนำไปใช้เปิดบัญชีเพื่อฉ้อโกงผู้อื่น คลิปส่วนตัวถูกข่มขู่แบล็กเมล เป็นต้น • โดนจารกรรมทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการใช้หมายเลขบัตรเครดิตไปซื้อสินค้า หรือโอนเงินจากบัญชีธนาคาร • ถูกนำไปทำการตลาดต่อ ส่งผลให้เจ้าของข้อมูลถูกรบกวนด้วยโฆษณา ขายสินค้าและบริการต่างๆ • ถูกปลอมแปลงตัวตน แล้วเอาไปแอบอ้างทำเรื่องเสียหายหรือผิดกฎหมายเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนไทย ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคาร อีเมล ไอดีไลน์ บัญชีผู้ใช้ของเว็บไซต์ ลายนิ้วมือ ประวัติสุขภาพ รวมไปถึงข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถระบุถึงตัวเจ้าของข้อมูลนั้นได้ ทั้งในรูปแบบเอกสาร กระดาษ หนังสือ หรืออิเล็กทรอนิกส์ กฎหมาย PDPA จึงถูกพัฒนาและเตรียมบังคับใช้งานอย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 1 มิถุนายน 2022 นี้ หลักสำคัญของกฎหมาย PDPA สามารถสรุปได้เป็น 6 ประเด็น ดังนี้ 1. เจ้าของข้อมูลมีสิทธิ์ลบ เพิ่ม ห้าม แก้ไข และเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของตัวเองได้ 2. ต้องให้ความสะดวกในการขอเพิกถอนสิทธิ เช่นเดียวกับตอนที่ขอข้อมูลมาจากเจ้าของข้อมูลในตอนแรก 3. เก็บข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็น ตามวัตถุประสงค์ในการขอข้อมูลมา 4. เมื่อพบข้อมูลรั่วไหล ต้องแจ้งเจ้าของข้อมูลและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดภายใน 72 ชั่วโมง 5. ต้องมีผู้ดูแล รับผิดชอบ และควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล 6. โทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5,000,000 บาท โดยอาจมีความผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่ง ไม่ว่าจะเป็น Data Controllers หรือ Data Processors 8 ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมขององค์กรก่อน PDPA ประกาศใช้ มีคำแนะนำสำหรับการเตรียมความพร้อมขององค์กรในภาพใหญ่ 8 ข้อ ดังนี้ 1. ทำความเข้าใจว่ากฎหมาย PDPA คืออะไร 2. ตั้งงบประมาณ 3. แต่งตั้งทีมรับผิดชอบ 4. กำหนดประเภทข้อมูลและวัตถุประสงค์ 5. เตรียมข้อกำหนด แนวทางปฏิบัติในการปกป้องข้อมูลตามที่กฎหมายกำหนด 6. สร้างความตระหนักรู้ให้กับเจ้าของข้อมูลและประชาสัมพันธ์ให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 7. พัฒนาทักษะและกระบวนการตรวจสอบ 8. ปรับปรุงกระบวนการและออกแบบให้เหมาะสมกับการคุ้มครองข้อมูงส่วนบุคคลอยู่เสมอ สำหรับขั้นตอนในการรับมือกฎหมาย PDPA โดยละเอียดได้แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ 1. Data Discovery ค้นหาและตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล 2. Privacy Policy กำหนดการใช้หรือการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล 3. Security Measurement วางมาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัยสำหรับปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล 4. Data Transfer วางระบบการบริหารจัดการ การส่ง หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล 5. DPO แต่งตั้งผู้กำกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคล PDPA in Action เมื่อนำกฎหมาย PDPA มาแปลงให้อยู่ในระบบสารสนเทศ จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ Data Subject Request, Front-end (DPO) และ Back-end System เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ PDPAเอกสารโครงการเตรียมความพร้อมรองรับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) วันอังคารที่ 26 เมษายน 2565 วิดีโอโครงการฝึกอบรม “ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562” วันศุกร์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2566เอกสารอ้างอิงของมหาวิทยาลัยแม่โจ้คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาและวางแนวนโยบายในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่องนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลCookies-Policy - MJUข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล - MJUคำประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว-Privacy-Notice-MJUนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล-Privacy-Policy - MJUแนวปฎิบัติสำหรับการดำเนินการของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล - MJUบันทึกรายการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของ-MJUเอกสารแสดงความยินยอม-Consent-Form - MJU
22 พฤษภาคม 2566     |      843