งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต
Networking Systems and Internet Services

เชื่อว่าหลายคนคงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าประเด็นข่าวที่บรรดาสื่อไทยต่างพากันจับตามองนั่นคือ ประเด็นที่บัญชีผู้ใช้ทวิตเตอร์ของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกมือดีสวมรอยเข้าใช้ชื่อบัญชีดังกล่าว แล้วทำการโพสต์ข้อความในเชิงโจมตีทั้งตัวนายกฯ พรรคเพื่อไทย นอกจากนี้ยังมีความท้าทายส่งผ่านไปยังตัวนายกฯ เองด้วยว่าเพียงแค่บัญชีส่วนตัวทวิตเตอร์ยังรักษาไม่ได้ แล้วจะปกป้องประเทศอย่างไร
       
       อย่างที่ทราบกัน ขณะนี้ได้มีการแถลงข่าวจากรัฐมนตรีกระทรวง ICT อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ว่าในบัญชีทวิตเตอร์ของนายกฯ นอกจากตัวนายกเอง ยังมีทีมงานอีก 1 คนที่รู้รหัสผ่านการเข้าใช้งาน ซึ่งล่าสุดรมว. ICT ได้เปิดเผยว่ามีการติดต่อไปยังทีมงานทวิตเตอร์เพื่อขอข้อมูล Log Files ดังกล่าวเพื่อตามล่าหามือดีที่ทำการแฮกครั้งนี้
       
       สิ่งที่เห็นได้ชัดๆ จากการที่บัญชีผู้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กของผู้นำประเทศถูกโจรกรรมในครั้งนี้ เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าประเด็นการให้ความสำคัญของพาสเวิร์ดยังถูกมองข้าม ไม่ให้ความสำคัญมากนัก
       
       การตั้งพาสเวิร์ดที่คนส่วนใหญ่นิยมตั้งกัน มักจะเป็นตัวเลขง่ายๆ ซ้ำๆ กัน หรือใช้อักษรภาษาอังกฤษที่มีความเกี่ยวข้องกับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นชื่อสัตว์เลี้ยง วันเดือนปีเกิด เป็นต้น รวมไปถึงการใช้งานพาสเวิร์ดที่เป็นรูปแบบของคำศัพท์ธรรมดาที่มีอยู่ในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ
       
       **ทำไมถึงไม่ควรตั้งรหัสผ่านที่มีในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ?
       
       นั่นเป็นเพราะว่ากระบวนการในแคร็กรหัสผ่าน สามารถทำได้โดยง่ายถ้าหากเป้าหมายใช้รหัสผ่านที่เป็นภาษาอังกฤษ การแคร็กพาสเวิร์ดดังกล่าว เพียงแค่ใช้วิธีกระบวนการ Brute Force หรือ Dictionary Attack ก็ดึงรหัสผ่านนั้นๆ ได้แล้ว โดยใช้เวลาเพียงแค่ชั่วอึดใจเดียว ถ้าเป็นแบบนี้เราควรจะตั้งรหัสผ่านอย่างไรถึงจะแข็งแกร่งและคาดเดาได้ยาก หลักการในการตั้งรหัสผ่านที่ดี คือควรมีสัญลักษณ์หรืออักขระพิเศษลงไปในรหัสผ่าน และเพื่อให้รหัสผ่านมีความแข็งแกร่งมากขึ้นคือ ควรมีการผสมกันของอักขระตัวพิมพ์ใหญ่ปะปนกับไปพยัญชนะตัวพิมพ์เล็กในภาษาอังกฤษ หรืออาจจะแทรกภาษาไทยเข้าไปในรหัสผ่านเพื่อเพิ่มความยากในการคาดเดา
       
       เหนือสิ่งอื่นใด ต่อให้คุณตั้งรหัสผ่านที่ดีมากแค่ไหนก็ตาม แต่หากด้วยความที่คุณยังเป็นมนุษย์ ความผิดพลาดย่อมมีวันเกิดขึ้น อันดับแรกการคือการล็อกอินรหัสผ่านค้างไว้ในมือถือหรือเบราวเซอร์ ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อีเมล ถ้าเกิดมีคนที่จะต้องการกลั่นแกล้งคุณ เพียงแค่เข้าไปเปิดเครื่องของคุณ เขาก็สามารถทำอะไรกับบัญชีผู้ใช้ต่างๆ ของคุณได้เลยทันที โดยที่คุณไม่ทันรู้ตัว คำแนะนำถ้าหากคุณใช้งานเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรืออีเมลเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ควรที่จะล็อกเอาต์เครื่อง อย่างน้อยๆ เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะไม่มีใครแอบอ้างเอาบัญชีคุณไปใช้งานลับหลัง
       
       สำหรับเครื่องประจำสำนักงาน สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้ต้องพึงระวังคือ ไม่ควรที่จะแปะรหัสผ่านของเราที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือจดโน้ตเอาไว้ที่บนโต๊ะ อย่าลืมว่ารหัสผ่านเป็นสิ่งที่เราต้องจำให้ได้ และไม่ควรที่จะบอกให้ใครรู้ ให้นึกเสียว่ารหัสผ่านการเข้าใช้งานด้านต่างๆ ของเราบนเว็บไซต์นั้นก็มีความสำคัญใกล้เคียงกับรหัสผ่าน ATM ที่เราควรจะให้ความสำคัญเท่าๆ กัน
       
       นอกจากนี้โดยทั่วไปการเข้าใช้งานเว็บเบราวเซอร์ เมื่อมีการเข้าใช้งานเว็บไซต์ที่มีการกรอกชื่อบัญชีและรหัสผ่าน จะมีหน้าต่างขึ้นมาถามเราว่า ต้องการที่จะให้จดจำรหัสผ่านนี้หรือไม่ สำหรับคำแนะนำในเรื่องนี้ เห็นควรว่าจะต้องปฎิเสธไม่ให้มีการจดจำรหัสผ่าน อย่าลืมว่าถ้าหากเราให้มีการจดจำรหัสผ่าน แล้วผู้ใช้งานอย่างเราๆ เกิดลืมที่จะล็อกเอาต์ออก ผลที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะมีใครเข้ามาใช้งานเครื่องต่อจากเราหรือไม่
       
       ประเด็นนี้ต้องฝากถึงไปยังกลุ่มคนที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะตามอินเทอร์เน็ต คาเฟ่ ที่มีโอกาสสุ่มเสี่ยงที่จะลืม แล้วโดนผู้ไม่ประสงค์ดีมุ่งทำร้ายต่อบัญชีผู้ใช้ของเราที่มีการล็อกอินค้างเอาไว้ได้ การใช้งานตามร้านอินเทอร์เน็ต คาเฟ่ ควรจะต้องระวังในเรื่อง Keylogger อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งวิธีการป้องกันก็คือ ไม่ควรกรอกรหัสผ่านในช่องสำหรับกรอกรหัสผ่านเลย ควรจะคีย์ตัวอักษรที่อื่นๆ เช่นใน notepad สลับกับช่องกรอกรหัสผ่าน เพื่อให้ผู้ไม่ประสงค์ดีไม่สามารถคาดเดาได้ว่าข้อมูบที่มีการคีย์ผ่านคีย์บอร์ดมีอะไรบ้าง
       
       **Twitter มีฟีเจอร์ในการป้องกันอะไรบ้าง
       
       ส่วนการป้องกันตัวเองคร่าวๆ จากฟีเจอร์ที่มีในทวิตเตอร์ ให้ไปที่ Setting > Account แล้วเลื่อนไปด้านล่างสุดจะมี HTTPS only ให้ติ๊กถูก ซึ่งการเข้าใช้โปรโตคอลด้วย HTTPS (HTTPS เป็นโปรโตคอลที่จะเป็นการสร้างการสื่อสารแบบเข้ารหัส ซึ่งการเชื่อมต่อแบบ HTTPS มักจะใช้ในธุรกรรมทางการเงินบนเว็บ รวมถึงการรักษาความลับต่างๆ) ทำให้การเข้าใช้งานทวิตเตอร์ทุกครั้งมีการเข้ารหัส ซึ่งทำให้แพกเกจที่มีการส่งออกไปนั้น มีการเข้ารหัสยากที่จะถูกแกะแพกเกจระหว่างทางได้
       
       **แล้ว Facebook ล่ะ ?
       
       ด้านการป้องกันของ Facebook ก็มีโปรโตคอล HTTPS เช่นกัน โดยผู้ใช้จะต้องไปที่ Account Setting > Security แล้วติ๊กถูกที่ Secure Browsing แล้วกด Save Changes
       
       **มีโปรแกรมสร้าง Password ไหม ?
       
       จริงๆ มันก็มีโปรแกรมประเภทนี้อยู่ ถ้าหากเราลองค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดคำว่า Password Generator ก็คงจะเจอโปรแกรมและเว็บไซต์ที่จะช่วยสร้างรหัสผ่านจำนวนมาก แต่โปรแกรมประเภทนี้จะสร้างรหัสผ่านที่ค่อนข้างจำได้ยาก เนื่องจากเป็นการผสมจากตัวอักษร อักขระพิเศษ ตัวเลข
       
       อย่างไรก็ตาม ถ้าหากคิดไม่ออกแล้วจริงๆ ว่าจะใช้รหัสผ่านอะไรดี แนะนำให้ไปที่ http://www.pctools.com/guides/password/ และ http://strongpasswordgenerator.com/ ซึ่งเราสามารถกำหนดค่าต่างๆ ได้ และเมื่อเรา Generate Password มันจะมีทิปเล็กๆ น้อยๆ สำหรับให้ผู้ใช้ได้จำรหัสผ่านที่ทางเว็บสร้างให้
       
       **ถ้าอยากรู้ว่ารหัสผ่านที่เราตั้งแข็งแกร่งมากน้อยเพียงใด ต้องทำยังไง ?
       
       ง่ายมาก เพียงแค่เข้าไปที่ https://www.microsoft.com/canada/athome/security/privacy/password_checker.mspx ทางเว็บไซต์ก็จะบอกว่า รหัสผ่านที่เรากรอกไปนั้นมีความเข้มแข็งขนาดไหน จะมีตั้งแต่ระดับ Weak, Medium, Strong และ Best
       
       ขอเตือนอีกครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่าเราจะมีระบบการป้องกันเรื่องรหัสผ่าน รหัสผ่านที่ตั้งเข้มแข็งมาก เหนือสิ่งอื่นใดถ้าหากเรายังประมาท หรือไม่เห็นความสำคัญ การป้องกันทั้งหมดก็ไม่สามารถช่วยอะไรคุณได้

ขอขอบคุณ ASTV ผู้จัดการ

ที่มา http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9540000125729

ปรับปรุงข้อมูล : 11/4/2554 9:20:27     ที่มา : งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 7241

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com ผู้ช่วยคนสำคัญที่จะทำให้การสอบบนโลกออนไลน์ เป็นเรื่องที่ง่ายชูฟีเจอร์เด่น- ประเภทคำถามที่หลากหลายกว่า 15 ประเภท- ระบบความปลอดภัยขั้นสูงล็อกเครื่องกั้นโกง- ใช้งานร่วมกับ Microsoft Teams ได้อย่างไร้รอยต่อ- รองรับการเข้าสอบพร้อมกันได้ระดับหลักแสนคน- AI คุมสอบ ตรวจจับละเอียด พร้อมประเมินความเสี่ยงการทุจริตได้อย่างแม่นยำข่าวประชาสัมพันธ์• VDO อบรมการใช้งาน Dugga (วันที่ 4 กรกฎาคม 2567)คู่มือการใช้งานระบบ Dugga สำหรับอาจารย์คู่มือการใช้งานระบบ Dugga สำหรับนักศึกษาเกี่ยวกับ DUGGA          Dugga Digital Assessment หรือ Dugga (อ่านว่า ดุกก้า) เป็นแพลตฟอร์มการประเมินแบบดิจิทัลที่สามารถใช้ภายในโรงเรียนมัธยม มหาวิทยาลัย และองค์กรต่าง ๆ โดยแพลตฟอร์ม Dugga รองรับการใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการทั่วไป เช่น Windows, Mac OS X, iPad OS และ Chrome OSการใช้งานสำหรับอาจารย์          1.เข้าที่ URL  https://auth.dugga.com/login จากนั้นเลือก Log in with Microsoft สามารถใช้งานผ่าน eMail มหาวิทยาลัยแม่โจ้
11 กรกฎาคม 2567     |      1953
วิธีการเปลี่ยนการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator
วิธีการเปลี่ยนการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticatorเครื่องมือที่ใช้ในการยืนยันตัวตน Multi-Factor Authentication (MFA) เป็นวิธีการในการยืนยันตัวตน โดยใช้การยืนยันตัวตนหลายอย่าง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องผูกกับหมายเลขโทรศัพท์ ทำให้สะดวกในการใช้งานและมีความปลอดภัยมากขึ้น1. เข้า Email มหาวิทยาลัยแม่โจ้ https://www.office.comทำการลงชื่อผู้ใช้งานให้เรียบร้อย แล้วกดที่ Profile มุมขวาบน แล้วเลือก View account2. เลือก Security info3. ทำการลบ Sign-in method ที่ไม่จำเป็นออก เมื่อลบแล้วให้กด Add sign-in method4. เลือก Authenticator app กด Add5. ระบบจะแนะนำให้ผู้ใช้งานทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือ แล้วกด Next  ** ผู้ใช้งานสามารถเลือกติดตั้งได้ ตามระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานทั้ง Android และ iOS6. เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือแล้ว กด Next7. เปิดโปรแกรม Microsoft Authenticator app ในโทรศัพท์มือถือ กดเพิ่มเครื่องหมาย +8. เลือก Work or school account แล้วเลือก Scan QR Code9. ทำการ Scan QR code ที่ปรากฎในหน้าจอ**หากไม่สามารถ Scan QR code ได้เนื่องจาก QR code หมดอายุ ให้คลิ๊ก Back แล้วกด Next เพื่อให้ QR Code แสดงใหม่แล้วทำการ Scan ใหม่อีกครั้ง10. เมื่อ Scan QR code บนโทรศัพท์มือถือสำเร็จ จะปรากฎชื่อบัญชีที่ตั้งค่าใน Microsoft Authenticator app และจะปรากฎชุดตัวเลข บนหน้าจอ11. ทำการกรอกตัวเลขไปยัง Microsoft Authenticator app บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อยืนยันตัวตน แล้วกด Yes12. กด Next13. Microsoft Authenticator app ทำการยืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว กด Done14. การยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator สำเร็จแล้ว สามารถเลือกวิธีการยืนยันตัวตนได้ โดยกด Change15. ค่าเริ่มต้นการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator คือ App based authentication - notification
17 กุมภาพันธ์ 2567     |      8259
การเปิดใช้งาน MFA Microsoft Authenticator
การเปิดใช้งาน MFA Microsoft Authenticatorเข้าใช้งานเว็บไซต์ https://www.office.com ทำการลงชื่อผู้ใช้งาน Sign in2. Login โดยใช้ username @mju.ac.th แล้วกด Next3. ใส่รหัสผ่าน Email แล้วกด Sign in4. กด Next เพื่อเข้าใช้งาน5. ระบบจะแนะนำให้ผู้ใช้งานทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือ แล้วกด Next  ** ผู้ใช้งานสามารถเลือกติดตั้งได้ ตามระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานทั้ง Android และ iOS6. เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือแล้ว กด Next7. เปิดโปรแกรม Microsoft Authenticator app ในโทรศัพท์มือถือ กดเพิ่มเครื่องหมาย +8. เลือก Work or school account แล้วเลือก Scan QR Code9. ทำการ Scan QR code ที่ปรากฎในหน้าจอ**หากไม่สามารถ Scan QR code ได้เนื่องจาก QR code หมดอายุ ให้คลิ๊ก Back แล้วกด Next เพื่อให้ QR Code แสดงใหม่แล้วทำการ Scan ใหม่อีกครั้ง10. เมื่อ Scan QR code บนโทรศัพท์มือถือสำเร็จ จะปรากฎชื่อบัญชีที่ตั้งค่าใน Microsoft Authenticator app และจะปรากฎชุดตัวเลข บนหน้าจอ11. ทำการกรอกตัวเลขไปยัง Microsoft Authenticator app บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อยืนยันตัวตน แล้วกด Yes12. กด Next13. Microsoft Authenticator app ทำการยืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว กด Done14. เข้าใช้งาน MS365 ผ่านเว็บ Browser ได้
15 กุมภาพันธ์ 2567     |      11749
การถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud
การถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud ด้วย Creative Cloud Cleaner tool How and when to use the Creative Cloud Cleaner tool?ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ Windows ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ macOS ขั้นตอนการถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud (ระบบปฏิบัติการ Windows)1. ทำการ ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ Windows2. แตกไฟล์ zip คลิ๊กขวาเลือก Run as administrator3. เลือก e แล้วกด Enter4. พิมพ์ y กด Enter5. เลือกโปรแกรมที่ต้องการจะลบ เลือกลบทั้งหมด (All) พิมพ์ 1 แล้วกด Enter6.ดูหมายเลข ของ Clean All. ใส่หมายเลขแล้วกด Enter 7.พิมพ์ y กด Enter เพื่อยืนยันการลบโปรแกรม เมื่อเสร็จแล้วกด Enter ออกจากโปรแกรม แล้ว Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการลบโปรแกรม Adobe Creative Cloud  ขั้นตอนการถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud (ระบบปฏิบัติการ macOS)ทำการดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ macOSแตกไฟล์ zip แล้ว Double Click เพื่อติดตั้งโปรแกรม กด Open3. เลือกโปรแกรมที่ต้องการจะลบ เลือกลบทั้งหมด (All) กด Clean All4. เมื่อทำการถอนการติตตั้งเสร็จ ปิดโปรแกรม แล้ว Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการลบโปรแกรม Adobe Creative Cloud 
13 พฤศจิกายน 2566     |      8866