งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต
Networking Systems and Internet Services

รายงานภัยคุกคามเดือนมิ.ย.จากฟอร์ติเน็ตเผยมีมัลแวร์ ละเมิดข้อมูลและสแปมกลับมาโจมตีดุเดือดมากขึ้น มัลแวร์ Fraudload.OR ยังระบาดเป็นเดือนที่ 2 แล้ว สแปมกลับมาโตอีกหลังจากลดลงไป 3 เดือน
       
       ฟอร์ติเน็ต ผู้ให้บริการด้านโซลูชันการบริหารจัดการป้องกันภัยแบบเบ็ดเสร็จหรือยูทีเอ็ม (Unified Threat Management หรือ UTM) เปิดเผยถึงรายงานด้านภัยคุกคามของเดือน มิ.ย. แสดงรายละเอียดของการละเมิดข้อมูลและการโจมตีมากมาย รวมถึงกรณีโซนี่ยุโรปถูกโจมตีอีกครั้งด้วย SQL injection และกรณีที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประสบปัญหาถูกโจมตีและละเมิดข้อมูลที่สำคัญอย่างต่อเนื่อง และยังมีนักแฮ็ก hacktivism ในกลุ่ม LulzSec ที่ยังโจมตีหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐ ฯ และอีเมลขยะยังเพิ่มขึ้นแม้จะดูเหมือนว่า 3 เดือนที่ผ่านมาจะลดลงไปแล้วก็ตาม
       
       ในช่วงเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ศูนย์ป้องกันไวรัสฟอร์ติการ์ตแล็บ ได้ตรวจพบว่ามัลแวร์ Fraudload.OR ได้กลับมาเล่นงานผู้ใช้งานอีกครั้ง โดยปลอมตนเองให้ดูเหมือนเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยป้องกันไวรัส แต่กลับดาวน์โหลดโทรจันและมัลแวร์อื่นๆ ไปติดเครื่องผู้ใช้งานนั้น ซึ่งพบว่าการแพร่กระจายของ Fraudload.OR มีสูงมากถึง 1ใน 3 ของการโจมตีของมัลแวร์ใหม่ทั้งหมดในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา
       
       เนื่องจากมัลแวร์ Fraudload.OR รู้จักโปรแกรมตัวโหลดเดอร์ FakeAV ดี จึงมีส่วนส่งผลให้ Fraudload.OR กลับมาเล่นงานอย่างหนักในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดย FakeAV หรือ Fake AntiVirus คือโปรแกรมแอนติไวรัสหลอก จัดเป็นมัลแวร์ประเภทหนึ่งที่มักจะแสดงข้อความเตือนเหยื่อให้มีความกังวลเกี่ยวกับภัยคุกคามซึ่งไม่ได้มีอยู่จริง โดยข้อความที่ขึ้นมาเตือนนี้จะชักนำผู้ใช้ให้เข้าไปสู่เว็บไซต์เพื่อเรียกเก็บเงินค่าบริการกำจัดภัยคุกคามที่ไม่ได้มีตัวตนนั้น ซึ่ง FakeAV นี้จะโผล่ขึ้นมาสร้างความรำคาญและรบกวนผู้ใช้งานจนกว่าจะมีการชำระเงินแล้ว
       
       เมื่อไม่นานมานี้ มีการอายัดบัญชีเงินฝากธนาคารที่เป็นของผู้ประกอบการทำ FakeAV โดยอัยการสหรัฐอเมริกามูลค่าเกือบ 15 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ มีการรุกรานที่โปรแกรม MS.IE.CSS.Self.Reference.Remote.Code.Execution (CVE - 2010 - 3971) อยู่ในอันดับต้นๆ ซึ่งเป็นการจู่โจมที่ช่องโหว่บนอินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์ 8 และรุ่นก่อนหน้านี้ โดยจะถูกปลุกขึ้นมาโจมตีเพียงผู้ใช้งานแค่เรียกดูหน้าเว็บเพจที่มี CSS ที่เป็นอันตรายอยู่
       
       CSS หรือ Cascading Style Sheets คือ ชุดคำสั่งที่ใช้สำหรับการกำหนดการแสดงผลข้อมูลหน้าเว็บเพจ เป็นมาตรฐานหนึ่งที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้ในการตกแต่งหน้าเอกสารเว็บเพจโดยเฉพาะ
ขอขอบคุณ ASTV ผู้จัดการ

ที่มา http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9540000090540

ปรับปรุงข้อมูล : 11/4/2554 15:59:12     ที่มา : งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 7924

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประกาศ

ข่าวล่าสุด

Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com ผู้ช่วยคนสำคัญที่จะทำให้การสอบบนโลกออนไลน์ เป็นเรื่องที่ง่ายชูฟีเจอร์เด่น- ประเภทคำถามที่หลากหลายกว่า 15 ประเภท- ระบบความปลอดภัยขั้นสูงล็อกเครื่องกั้นโกง- ใช้งานร่วมกับ Microsoft Teams ได้อย่างไร้รอยต่อ- รองรับการเข้าสอบพร้อมกันได้ระดับหลักแสนคน- AI คุมสอบ ตรวจจับละเอียด พร้อมประเมินความเสี่ยงการทุจริตได้อย่างแม่นยำข่าวประชาสัมพันธ์• VDO อบรมการใช้งาน Dugga (วันที่ 4 กรกฎาคม 2567)คู่มือการใช้งานระบบ Dugga สำหรับอาจารย์คู่มือการใช้งานระบบ Dugga สำหรับนักศึกษาเกี่ยวกับ DUGGA          Dugga Digital Assessment หรือ Dugga (อ่านว่า ดุกก้า) เป็นแพลตฟอร์มการประเมินแบบดิจิทัลที่สามารถใช้ภายในโรงเรียนมัธยม มหาวิทยาลัย และองค์กรต่าง ๆ โดยแพลตฟอร์ม Dugga รองรับการใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการทั่วไป เช่น Windows, Mac OS X, iPad OS และ Chrome OSการใช้งานสำหรับอาจารย์          1.เข้าที่ URL  https://auth.dugga.com/login จากนั้นเลือก Log in with Microsoft สามารถใช้งานผ่าน eMail มหาวิทยาลัยแม่โจ้
11 กรกฎาคม 2567     |      1891
วิธีการเปลี่ยนการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator
วิธีการเปลี่ยนการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticatorเครื่องมือที่ใช้ในการยืนยันตัวตน Multi-Factor Authentication (MFA) เป็นวิธีการในการยืนยันตัวตน โดยใช้การยืนยันตัวตนหลายอย่าง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องผูกกับหมายเลขโทรศัพท์ ทำให้สะดวกในการใช้งานและมีความปลอดภัยมากขึ้น1. เข้า Email มหาวิทยาลัยแม่โจ้ https://www.office.comทำการลงชื่อผู้ใช้งานให้เรียบร้อย แล้วกดที่ Profile มุมขวาบน แล้วเลือก View account2. เลือก Security info3. ทำการลบ Sign-in method ที่ไม่จำเป็นออก เมื่อลบแล้วให้กด Add sign-in method4. เลือก Authenticator app กด Add5. ระบบจะแนะนำให้ผู้ใช้งานทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือ แล้วกด Next  ** ผู้ใช้งานสามารถเลือกติดตั้งได้ ตามระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานทั้ง Android และ iOS6. เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือแล้ว กด Next7. เปิดโปรแกรม Microsoft Authenticator app ในโทรศัพท์มือถือ กดเพิ่มเครื่องหมาย +8. เลือก Work or school account แล้วเลือก Scan QR Code9. ทำการ Scan QR code ที่ปรากฎในหน้าจอ**หากไม่สามารถ Scan QR code ได้เนื่องจาก QR code หมดอายุ ให้คลิ๊ก Back แล้วกด Next เพื่อให้ QR Code แสดงใหม่แล้วทำการ Scan ใหม่อีกครั้ง10. เมื่อ Scan QR code บนโทรศัพท์มือถือสำเร็จ จะปรากฎชื่อบัญชีที่ตั้งค่าใน Microsoft Authenticator app และจะปรากฎชุดตัวเลข บนหน้าจอ11. ทำการกรอกตัวเลขไปยัง Microsoft Authenticator app บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อยืนยันตัวตน แล้วกด Yes12. กด Next13. Microsoft Authenticator app ทำการยืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว กด Done14. การยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator สำเร็จแล้ว สามารถเลือกวิธีการยืนยันตัวตนได้ โดยกด Change15. ค่าเริ่มต้นการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator คือ App based authentication - notification
17 กุมภาพันธ์ 2567     |      8143
การเปิดใช้งาน MFA Microsoft Authenticator
การเปิดใช้งาน MFA Microsoft Authenticatorเข้าใช้งานเว็บไซต์ https://www.office.com ทำการลงชื่อผู้ใช้งาน Sign in2. Login โดยใช้ username @mju.ac.th แล้วกด Next3. ใส่รหัสผ่าน Email แล้วกด Sign in4. กด Next เพื่อเข้าใช้งาน5. ระบบจะแนะนำให้ผู้ใช้งานทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือ แล้วกด Next  ** ผู้ใช้งานสามารถเลือกติดตั้งได้ ตามระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานทั้ง Android และ iOS6. เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือแล้ว กด Next7. เปิดโปรแกรม Microsoft Authenticator app ในโทรศัพท์มือถือ กดเพิ่มเครื่องหมาย +8. เลือก Work or school account แล้วเลือก Scan QR Code9. ทำการ Scan QR code ที่ปรากฎในหน้าจอ**หากไม่สามารถ Scan QR code ได้เนื่องจาก QR code หมดอายุ ให้คลิ๊ก Back แล้วกด Next เพื่อให้ QR Code แสดงใหม่แล้วทำการ Scan ใหม่อีกครั้ง10. เมื่อ Scan QR code บนโทรศัพท์มือถือสำเร็จ จะปรากฎชื่อบัญชีที่ตั้งค่าใน Microsoft Authenticator app และจะปรากฎชุดตัวเลข บนหน้าจอ11. ทำการกรอกตัวเลขไปยัง Microsoft Authenticator app บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อยืนยันตัวตน แล้วกด Yes12. กด Next13. Microsoft Authenticator app ทำการยืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว กด Done14. เข้าใช้งาน MS365 ผ่านเว็บ Browser ได้
15 กุมภาพันธ์ 2567     |      11669
การถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud
การถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud ด้วย Creative Cloud Cleaner tool How and when to use the Creative Cloud Cleaner tool?ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ Windows ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ macOS ขั้นตอนการถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud (ระบบปฏิบัติการ Windows)1. ทำการ ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ Windows2. แตกไฟล์ zip คลิ๊กขวาเลือก Run as administrator3. เลือก e แล้วกด Enter4. พิมพ์ y กด Enter5. เลือกโปรแกรมที่ต้องการจะลบ เลือกลบทั้งหมด (All) พิมพ์ 1 แล้วกด Enter6.ดูหมายเลข ของ Clean All. ใส่หมายเลขแล้วกด Enter 7.พิมพ์ y กด Enter เพื่อยืนยันการลบโปรแกรม เมื่อเสร็จแล้วกด Enter ออกจากโปรแกรม แล้ว Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการลบโปรแกรม Adobe Creative Cloud  ขั้นตอนการถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud (ระบบปฏิบัติการ macOS)ทำการดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ macOSแตกไฟล์ zip แล้ว Double Click เพื่อติดตั้งโปรแกรม กด Open3. เลือกโปรแกรมที่ต้องการจะลบ เลือกลบทั้งหมด (All) กด Clean All4. เมื่อทำการถอนการติตตั้งเสร็จ ปิดโปรแกรม แล้ว Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการลบโปรแกรม Adobe Creative Cloud 
13 พฤศจิกายน 2566     |      8815