งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต
Networking Systems and Internet Services

เกิลประกาศสามารถแก้ไขปัญหาช่องโหว่ความปลอดภัยล่าสุดในแอนดรอยด์ได้แล้ว ซึ่งเป็นช่องโหว่ที่ถูกรายงานว่าจะมีผลทำให้ผู้ใช้อุปกรณ์แอนดรอยด์มากกว่า 99% ถูกขโมยข้อมูลส่วนตัวได้ กูเกิลย้ำว่าการอุดรูรั่วครั้งนี้ ผู้ใช้มือถือแอนดรอยด์จะไม่ต้องดำเนินการใดๆ และกูเกิลจะลงมือแก้ไขปัญหาให้ผู้ใช้ทั่วโลกต่อเนื่องในช่วง 2-3 วันนับจากนี้
       
       ประชาสัมพันธ์กูเกิลเปิดเผยกับสำนักข่าว PCMag ว่าได้เริ่มแก้ไขช่องโหว่ในแอนดรอยด์ตั้งแต่วันพุธที่ 18 พฤษภาคมตามเวลาสหรัฐฯ โดยยอมรับว่าช่องโหว่ดังกล่าวเป็นช่องโหว่ที่ทำให้บุคคลที่สามสามารถแฝงตัวเข้ามาดึงข้อมูลรายชื่อผู้ติดต่อ (contact) และรายการปฏิทินงานโดยที่เจ้าของเครื่องไม่รู้ตัวจริง แต่กูเกิลไม่ยอมเปิดเผยสัดส่วนอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบจากรูรั่วดังกล่าว
       
       เพราะกูเกิลถูกตั้งข้อสังเกตโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย University of Ulm แห่งเยอรมนี ว่ารูรั่วในแอนดรอยด์ที่เกิดขึ้นนั้นครอบคลุมสัดส่วนมากกว่า 99% ในอุปกรณ์แอนดรอยด์ทั้งหมด โดยหากเจ้าของเครื่องใช้อุปกรณ์เหล่านี้เชื่อมต่อในเครือข่ายที่ไม่ปลอดภัย ก็จะสามารถถูกโจมตีได้ เบื้องต้นคาดว่าอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android 2.3.3 หรือต่ำกว่าจะมีช่องโหว่นี้
       
       เหตุที่ผู้ไม่ประสงค์ดีจะสามารถขโมยข้อมูลยูเซอร์เนมและพาสเวิร์ดไปได้ เนื่องจากความผิดพลาดในโปรโตคอล ClientLogin ซึ่งทำงานเมื่อผู้ใช้ลงชื่อใช้งานแอปพลิเคชันในอุปกรณ์แอนดรอยด์ ความผิดพลาดทำให้ข้อมูลชื่อยูสเซอร์เนมและรหัสผ่านไม่ถูกเข้ารหัส เป็นช่องโหว่ให้แฮกเกอร์สามารถใช้เพื่อแฮกข้อมูลรหัสผ่านได้
       
       การทดลองพบว่าแอนดรอยด์ที่ปลอดภัยจากรูรั่วนี้คือเวอร์ชัน 2.3.4 และ 3.0 เท่านั้น รุ่นที่ออกมาก่อนหน้านี้มีความเสี่ยงพบรูรั่วเหล่านี้ทั้งหมด ซึ่งเท่ากับสัดส่วน 99.7% ของมือถือแอนดรอยด์ทั่วโลก
       
       นอกจากการอัปเดทเฟิร์มแวร์ให้เร็วที่สุด ทีมนักวิจัยยังแนะนำให้ผู้ใช้แอนดรอยด์ระวังตัวด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์กับระบบเครือข่ายที่มีการเข้ารหัสอย่างปลอดภัยเท่านั้น และให้ปิดการเชื่อมต่อเครือข่ายไว-ไฟที่ไม่มีการเข้ารหัสที่เคยเชื่อมต่อไว้ (Forget Network) เพื่อป้องกันการเชื่อมต่ออัตโนมัติ
       
ขอขอบคุณ ASTV ผู้จัดการ

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9540000061351

ปรับปรุงข้อมูล : 9/11/2554 15:59:49     ที่มา : งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 6574

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

โครงการสัมมนา“ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน”
คุณธนชาต วิวัฒนภูติ Business Development & Marketing Manager จากบริษัท ลานนาคอม จำกัด ที่ได้มาให้ความรู้โครงการ "ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน" กองเทคโนโลยีดิจทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการจัดโครงการสัมมนา“ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ประยุกต์ใช้ให้ทันโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง เรียนรู้วิธีการใช้งาน ChatGPT ให้เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในวันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2566 เวลา 9.00-12.00 น. ผ่านระบบ Webinar MS Teamsเอกสารที่เกี่ยวข้องวิดีโอโครงการสัมมนา“ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน” ช่วงที่ 1วิดีโอโครงการสัมมนา“ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน” ช่วงที่ 2
16 กรกฎาคม 2566     |      318
พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA)
หนึ่งในปัญหาสำคัญที่นำไปสู่การออกกฎหมาย PDPA คือ การที่ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลสู่สาธารณะ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ข้อมูลต่างๆ ถูกแปลงให้อยู่ในรูปดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลสามารถหลุดออกไปได้หลากหลายช่องทางโดยบางครั้งเจ้าของข้อมูลก็ไม่รู้ตัว เช่น การโพสต์ข้อมูลส่วนบุคคลลงสื่อสังคมออนไลน์ การใช้บริการแอปพลิเคชันต่างๆ แล้วกดตกลงให้ความยินยอมในการให้ข้อมูลเองโดยไม่อ่านรายละเอียด การโดนแฮ็กหรือเจาะขโมยข้อมูล การถูกหลอกลวงด้วยวิธีต่างๆ เช่น Phishing เป็นต้น การรั่วไหลหรือขโมยข้อมูลส่วนบุคคลอาจนำไปสู่ความเสียหายดังต่อไปนี้ • ถูกนำไปใช้ในทางผิดกฎหมาย เช่น เลขบัตรประชาชนถูกนำไปใช้เปิดบัญชีเพื่อฉ้อโกงผู้อื่น คลิปส่วนตัวถูกข่มขู่แบล็กเมล เป็นต้น • โดนจารกรรมทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการใช้หมายเลขบัตรเครดิตไปซื้อสินค้า หรือโอนเงินจากบัญชีธนาคาร • ถูกนำไปทำการตลาดต่อ ส่งผลให้เจ้าของข้อมูลถูกรบกวนด้วยโฆษณา ขายสินค้าและบริการต่างๆ • ถูกปลอมแปลงตัวตน แล้วเอาไปแอบอ้างทำเรื่องเสียหายหรือผิดกฎหมายเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนไทย ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคาร อีเมล ไอดีไลน์ บัญชีผู้ใช้ของเว็บไซต์ ลายนิ้วมือ ประวัติสุขภาพ รวมไปถึงข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถระบุถึงตัวเจ้าของข้อมูลนั้นได้ ทั้งในรูปแบบเอกสาร กระดาษ หนังสือ หรืออิเล็กทรอนิกส์ กฎหมาย PDPA จึงถูกพัฒนาและเตรียมบังคับใช้งานอย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 1 มิถุนายน 2022 นี้ หลักสำคัญของกฎหมาย PDPA สามารถสรุปได้เป็น 6 ประเด็น ดังนี้ 1. เจ้าของข้อมูลมีสิทธิ์ลบ เพิ่ม ห้าม แก้ไข และเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของตัวเองได้ 2. ต้องให้ความสะดวกในการขอเพิกถอนสิทธิ เช่นเดียวกับตอนที่ขอข้อมูลมาจากเจ้าของข้อมูลในตอนแรก 3. เก็บข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็น ตามวัตถุประสงค์ในการขอข้อมูลมา 4. เมื่อพบข้อมูลรั่วไหล ต้องแจ้งเจ้าของข้อมูลและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดภายใน 72 ชั่วโมง 5. ต้องมีผู้ดูแล รับผิดชอบ และควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล 6. โทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5,000,000 บาท โดยอาจมีความผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่ง ไม่ว่าจะเป็น Data Controllers หรือ Data Processors 8 ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมขององค์กรก่อน PDPA ประกาศใช้ มีคำแนะนำสำหรับการเตรียมความพร้อมขององค์กรในภาพใหญ่ 8 ข้อ ดังนี้ 1. ทำความเข้าใจว่ากฎหมาย PDPA คืออะไร 2. ตั้งงบประมาณ 3. แต่งตั้งทีมรับผิดชอบ 4. กำหนดประเภทข้อมูลและวัตถุประสงค์ 5. เตรียมข้อกำหนด แนวทางปฏิบัติในการปกป้องข้อมูลตามที่กฎหมายกำหนด 6. สร้างความตระหนักรู้ให้กับเจ้าของข้อมูลและประชาสัมพันธ์ให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 7. พัฒนาทักษะและกระบวนการตรวจสอบ 8. ปรับปรุงกระบวนการและออกแบบให้เหมาะสมกับการคุ้มครองข้อมูงส่วนบุคคลอยู่เสมอ สำหรับขั้นตอนในการรับมือกฎหมาย PDPA โดยละเอียดได้แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ 1. Data Discovery ค้นหาและตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล 2. Privacy Policy กำหนดการใช้หรือการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล 3. Security Measurement วางมาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัยสำหรับปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล 4. Data Transfer วางระบบการบริหารจัดการ การส่ง หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล 5. DPO แต่งตั้งผู้กำกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคล PDPA in Action เมื่อนำกฎหมาย PDPA มาแปลงให้อยู่ในระบบสารสนเทศ จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ Data Subject Request, Front-end (DPO) และ Back-end System เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ PDPAเอกสารโครงการเตรียมความพร้อมรองรับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) วันอังคารที่ 26 เมษายน 2565 วิดีโอโครงการฝึกอบรม “ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562” วันศุกร์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2566เอกสารอ้างอิงของมหาวิทยาลัยแม่โจ้คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาและวางแนวนโยบายในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่องนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลCookies-Policy - MJUข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล - MJUคำประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว-Privacy-Notice-MJUนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล-Privacy-Policy - MJUแนวปฎิบัติสำหรับการดำเนินการของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล - MJUบันทึกรายการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของ-MJUเอกสารแสดงความยินยอม-Consent-Form - MJU
22 พฤษภาคม 2566     |      856