งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต
Networking Systems and Internet Services

รายงานล่าสุดจากบริษัท เทรนด์ ไมโคร ระบุว่า ภัยคุกคามปัจจุบันกำลังเก่งกาจมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการปรับตัวเข้ากับสื่อสังคมออนไลน์และพยายามล่อลวงผู้ใช้ให้ดาวน์โหลดมัลแวร์ ในการโจมตีครั้งล่าสุดข้อความสแปมพื้นฐานที่ปรากฏในกล่องข้อความเข้า (Inbox) ใน เฟซบุ๊ก ของผู้ใช้จะลวงผู้ใช้ว่ามีข้อความ “เซอร์ไพรซ์” บางอย่างรออยู่
       
       จากยอดผู้ใช้งานเฟซบุ๊กที่เป็นหนึ่งในไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในโลกด้วยจำนวนสมาชิกกว่า 500 ล้านรายและกำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากสถิติในปี 2554 ของ เฟซบุ๊ก เองนั้นพบว่าผู้ใช้บริการ เฟซบุ๊ก ที่อยู่นอกประเทศสหรัฐอเมริกามีจำนวนมากถึง 70% และ 50% ล็อกออนเข้าสู่ไซต์เป็นประจำทุกวันสิ่งนี้จึงเป็นเหตุผลหลักที่ว่าเหตุใดบรรดาอาชญากรไซเบอร์จึงเลือกที่จะใช้ไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์หาประโยชน์ให้กับตนเอง
       
       เครือข่ายสังคมออนไลน์เกือบทั้งหมดมีระบบรับส่งข้อความที่อาจนำไปสู่การใส่ลิงก์ที่เป็นอันตรายลงในข้อความนั้นๆ ซึ่งเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา บรรดาฟิชเชอร์ได้ใช้การสนทนาของ เฟซบุ๊ก เพื่อทำให้ผู้ใช้ส่งส่งลิงก์สแปมผ่านการสนทนาของ เฟซบุ๊ก ไปให้เพื่อนของตนโดยไม่รู้ตัว และผู้ที่หลงเชื่อคลิกลิงก์สแปมดังกล่าวก็จะถูกนำไปยังเพจลวง เมื่อมีการป้อนข้อมูลประจำตัวของ เฟซบุ๊ก ในเพจลวงนั้นก็จะกลายเป็นว่าข้อมูลเหล่าดังกล่าวตกไปอยู่ในมือของฟิชเชอร์ในทันที
       
       ระบบรับส่งข้อความของ เฟซบุ๊ก ยังถูกใช้โดยบุคคลที่อยู่เบื้องหลังบ็อตเน็ต KOOBFACE ที่เป็นที่รู้จักกันดีอีกด้วย จะเห็นได้ว่าการติดเชื้อ KOOBFACE โดยทั่วไปนั้นจะเริ่มด้วยสแปมที่ส่งผ่านทาง เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, มายสแปซ หรือไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์อื่นๆ ในรูปของข้อความที่มักจะดึงดูดใจพร้อมด้วยลิงก์ที่ลวงให้เข้าไปรับชมวิดีโอ สิ่งนี้ทำให้ KOOBFACE กลายเป็นมัลแวร์ตัวแรกที่สามารถแพร่กระจายผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้เป็นผลสำเร็จ
       
       ทั้งนี้มัลแวร์ใหม่ล่าสุดก็ได้หันมาใช้เทคนิคนี้ด้วยเช่นกัน โดยใช้ประโยชน์ของระบบรับส่งข้อความของ เฟซบุ๊ก ในการปลอมข้อความส่วนตัวที่เหมือนว่ามาจากเพื่อนคนใดคนหนึ่ง ข้อความดังกล่าวจะมีลิงก์ที่จะชี้ไปยังเพจ Blog*Spot (หรือ Blogger) พร้อมกับข้อความว่า “I got u surprise.” (ฉันมีเซอร์ไพรซ์ให้คุณ) การคลิกลิงก์ดังกล่าวจะนำผู้ใช้ไปยังเพจแอปพลิเคชั่น เฟซบุ๊ก ที่ดูเหมือนว่าถูกต้องแต่จริงๆ แล้วเป็นสถานที่ซึ่งเซอร์ไพรซ์ลวงกำลังรอเหยื่ออยู่
       
       ความจริงก็คือลิงก์ที่คาดว่านำไปยังเพจ Blog*Spot จะนำเหยื่อไปยังเพจ เฟซบุ๊ก ลวงแทน อย่างไรก็ตามถ้าผู้ใช้ไม่รู้ว่านี่เป็นการหลอกลวงและยังคงคลิกรูป “Get a surprise now!” (เปิดรับเซอร์ไพรซ์เดี๋ยวนี้) พวกเขาก็จะลงเอยด้วยการดาวน์โหลด TROJ_VBKRYPT.CB ลงในระบบของตน จากนั้นโทรจันตัวนี้จะดาวน์โหลด TROJ_SOCNET.A ซึ่งจะส่งข้อความไปยังเพื่อน เฟซบุ๊ก และ/หรือ ทวิตเตอร์ ของผู้ใช้ที่ติดเชื้อ ข้อความดังกล่าวจะมีลิงก์ไปยังไซต์ที่โฮสต์มัลแวร์อยู่และเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ก็จะเกิดขึ้นวนวียนต่อเนื่องกันไป ที่สำคัญการโจมตีในลักษณะนี้เป็นอันตรายอย่างมากเนื่องจากมีการพิสูจน์แล้วว่ามัลแวร์ตัวนี้สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตัวเอง
       
       สำหรับการโจมตีในลักษณะนี้ ผู้ที่ใช้บริการตรวจสอบประวัติไฟล์ของสมาร์ท โพรเท็คชั่น เน็ตเวิร์ค จะตรวจหาและป้องกันไม่ให้มีการดาน์โหลดไฟล์ที่เป็นอันตรายที่ตรวจพบว่าเป็น TROJ_VBKRYPT.CB และ TROJ_SOCNET.A ในระบบของผู้ใช้ บริการตรวจสอบประวัติเว็บจะบล็อกการเข้าถึงไซต์ที่เป็นอันตรายแม้ว่าผู้ใช้จะถูกลวงให้คลิกลิงก์อันตรายก็ตาม
       
       นอกจากนี้ผู้ใช้ควรระมัดระวังในการเปิดข้อความและคลิกลิงก์ของไซต์แม้ว่าจะดูเหมือนว่ามาจากเพื่อน ๆ ในเฟซบุ๊ก และ/หรือ ทวิตเตอร์ ก็ตาม สำหรับสิ่งที่อาจบ่งชี้ได้ว่าข้อความที่ได้รับนั้นเป็นสแปมหรือฟิชชิ่ง อาจดูได้จากข้อผิดพลาดของเครื่องหมายวรรคตอนและไวยากรณ์ที่เห็นได้ชัดเจนในหลายจุด ซึ่งเป็นเพียงบางตัวอย่างที่จะแจ้งเตือนให้ผู้ใช้รู้ได้ว่าไซต์ที่พวกเขากำลังเข้าเยี่ยมชมนั้นไม่ใช่ไซต์ที่ถูกต้อง

ขอบขอบคุณ ASTV ผู้จัดการ

ที่มา http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9540000041131

ปรับปรุงข้อมูล : 9/11/2554 15:50:26     ที่มา : งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 5946

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประกาศ

ข่าวล่าสุด

Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com ผู้ช่วยคนสำคัญที่จะทำให้การสอบบนโลกออนไลน์ เป็นเรื่องที่ง่ายชูฟีเจอร์เด่น- ประเภทคำถามที่หลากหลายกว่า 15 ประเภท- ระบบความปลอดภัยขั้นสูงล็อกเครื่องกั้นโกง- ใช้งานร่วมกับ Microsoft Teams ได้อย่างไร้รอยต่อ- รองรับการเข้าสอบพร้อมกันได้ระดับหลักแสนคน- AI คุมสอบ ตรวจจับละเอียด พร้อมประเมินความเสี่ยงการทุจริตได้อย่างแม่นยำข่าวประชาสัมพันธ์• VDO อบรมการใช้งาน Dugga (วันที่ 4 กรกฎาคม 2567)คู่มือการใช้งานระบบ Dugga สำหรับอาจารย์คู่มือการใช้งานระบบ Dugga สำหรับนักศึกษาเกี่ยวกับ DUGGA          Dugga Digital Assessment หรือ Dugga (อ่านว่า ดุกก้า) เป็นแพลตฟอร์มการประเมินแบบดิจิทัลที่สามารถใช้ภายในโรงเรียนมัธยม มหาวิทยาลัย และองค์กรต่าง ๆ โดยแพลตฟอร์ม Dugga รองรับการใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการทั่วไป เช่น Windows, Mac OS X, iPad OS และ Chrome OSการใช้งานสำหรับอาจารย์          1.เข้าที่ URL  https://auth.dugga.com/login จากนั้นเลือก Log in with Microsoft สามารถใช้งานผ่าน eMail มหาวิทยาลัยแม่โจ้
11 กรกฎาคม 2567     |      1970
วิธีการเปลี่ยนการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator
วิธีการเปลี่ยนการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticatorเครื่องมือที่ใช้ในการยืนยันตัวตน Multi-Factor Authentication (MFA) เป็นวิธีการในการยืนยันตัวตน โดยใช้การยืนยันตัวตนหลายอย่าง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องผูกกับหมายเลขโทรศัพท์ ทำให้สะดวกในการใช้งานและมีความปลอดภัยมากขึ้น1. เข้า Email มหาวิทยาลัยแม่โจ้ https://www.office.comทำการลงชื่อผู้ใช้งานให้เรียบร้อย แล้วกดที่ Profile มุมขวาบน แล้วเลือก View account2. เลือก Security info3. ทำการลบ Sign-in method ที่ไม่จำเป็นออก เมื่อลบแล้วให้กด Add sign-in method4. เลือก Authenticator app กด Add5. ระบบจะแนะนำให้ผู้ใช้งานทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือ แล้วกด Next  ** ผู้ใช้งานสามารถเลือกติดตั้งได้ ตามระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานทั้ง Android และ iOS6. เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือแล้ว กด Next7. เปิดโปรแกรม Microsoft Authenticator app ในโทรศัพท์มือถือ กดเพิ่มเครื่องหมาย +8. เลือก Work or school account แล้วเลือก Scan QR Code9. ทำการ Scan QR code ที่ปรากฎในหน้าจอ**หากไม่สามารถ Scan QR code ได้เนื่องจาก QR code หมดอายุ ให้คลิ๊ก Back แล้วกด Next เพื่อให้ QR Code แสดงใหม่แล้วทำการ Scan ใหม่อีกครั้ง10. เมื่อ Scan QR code บนโทรศัพท์มือถือสำเร็จ จะปรากฎชื่อบัญชีที่ตั้งค่าใน Microsoft Authenticator app และจะปรากฎชุดตัวเลข บนหน้าจอ11. ทำการกรอกตัวเลขไปยัง Microsoft Authenticator app บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อยืนยันตัวตน แล้วกด Yes12. กด Next13. Microsoft Authenticator app ทำการยืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว กด Done14. การยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator สำเร็จแล้ว สามารถเลือกวิธีการยืนยันตัวตนได้ โดยกด Change15. ค่าเริ่มต้นการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator คือ App based authentication - notification
17 กุมภาพันธ์ 2567     |      8344
การเปิดใช้งาน MFA Microsoft Authenticator
การเปิดใช้งาน MFA Microsoft Authenticatorเข้าใช้งานเว็บไซต์ https://www.office.com ทำการลงชื่อผู้ใช้งาน Sign in2. Login โดยใช้ username @mju.ac.th แล้วกด Next3. ใส่รหัสผ่าน Email แล้วกด Sign in4. กด Next เพื่อเข้าใช้งาน5. ระบบจะแนะนำให้ผู้ใช้งานทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือ แล้วกด Next  ** ผู้ใช้งานสามารถเลือกติดตั้งได้ ตามระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานทั้ง Android และ iOS6. เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือแล้ว กด Next7. เปิดโปรแกรม Microsoft Authenticator app ในโทรศัพท์มือถือ กดเพิ่มเครื่องหมาย +8. เลือก Work or school account แล้วเลือก Scan QR Code9. ทำการ Scan QR code ที่ปรากฎในหน้าจอ**หากไม่สามารถ Scan QR code ได้เนื่องจาก QR code หมดอายุ ให้คลิ๊ก Back แล้วกด Next เพื่อให้ QR Code แสดงใหม่แล้วทำการ Scan ใหม่อีกครั้ง10. เมื่อ Scan QR code บนโทรศัพท์มือถือสำเร็จ จะปรากฎชื่อบัญชีที่ตั้งค่าใน Microsoft Authenticator app และจะปรากฎชุดตัวเลข บนหน้าจอ11. ทำการกรอกตัวเลขไปยัง Microsoft Authenticator app บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อยืนยันตัวตน แล้วกด Yes12. กด Next13. Microsoft Authenticator app ทำการยืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว กด Done14. เข้าใช้งาน MS365 ผ่านเว็บ Browser ได้
15 กุมภาพันธ์ 2567     |      11775
การถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud
การถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud ด้วย Creative Cloud Cleaner tool How and when to use the Creative Cloud Cleaner tool?ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ Windows ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ macOS ขั้นตอนการถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud (ระบบปฏิบัติการ Windows)1. ทำการ ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ Windows2. แตกไฟล์ zip คลิ๊กขวาเลือก Run as administrator3. เลือก e แล้วกด Enter4. พิมพ์ y กด Enter5. เลือกโปรแกรมที่ต้องการจะลบ เลือกลบทั้งหมด (All) พิมพ์ 1 แล้วกด Enter6.ดูหมายเลข ของ Clean All. ใส่หมายเลขแล้วกด Enter 7.พิมพ์ y กด Enter เพื่อยืนยันการลบโปรแกรม เมื่อเสร็จแล้วกด Enter ออกจากโปรแกรม แล้ว Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการลบโปรแกรม Adobe Creative Cloud  ขั้นตอนการถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud (ระบบปฏิบัติการ macOS)ทำการดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ macOSแตกไฟล์ zip แล้ว Double Click เพื่อติดตั้งโปรแกรม กด Open3. เลือกโปรแกรมที่ต้องการจะลบ เลือกลบทั้งหมด (All) กด Clean All4. เมื่อทำการถอนการติตตั้งเสร็จ ปิดโปรแกรม แล้ว Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการลบโปรแกรม Adobe Creative Cloud 
13 พฤศจิกายน 2566     |      8930