งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต
Networking Systems and Internet Services

พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2560

     ก่อนหน้านี้ ร่างพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ ผ่านการเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา ล่าสุดประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยมีชื่อว่า “พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560” ( พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปี2560)

โดยรายละเอียด พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ( พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปี2560) สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา (คลิกที่นี่)

ทั้งนี้ในมาตรา 2 ของพระราชบัญญัตินี้ ระบุว่า ให้บังคับใช้เมื่อพ้นกําหนด 120 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา นั่นหมายความว่าจะบังคับใช้ภายใน 31 พฤษภาคม 2560

    พ.ร.บ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปี 2560 คือร่างแก้ใขของ พ.ร.บ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ปี 2550 ที่ถูกปรับปรุงให้ทันสมัย เหมาะสมกับเวลาและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ดังนั้นโครงสร้างของกฎหมายสองฉบับจึงเหมือนกันเป็นส่วนใหญ่ และแน่นอนกฏหมายทั้งสองฉบับก็ต้องมีส่วนที่แตกต่างกันอยู่หลายประเด็น และหลายๆ ประเด็นก็ถูกตั้งคำถามมากมายว่าเป็นธรรมหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่?

พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2560 ถูกเริ่มร่างเมื่อปี 2558  และยังคงแก้ใขต่อเนื่องมาถึงปี 2559 ดังนั้น พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2558 ก็คือฉบับเดียวกันกับพ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2560 นั่นเอง

ข้อแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2550 กับ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2560

(ขอบคุณภาพจาก ilaw)

เนื้อหาสำคัญของ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2560 ที่นำเสนอมีดังนี้

การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันที่ 28 เม.ย. จะมีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ …) พ.ศ… วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ซึ่งเป็นร่าง พ.ร.บ.ที่ปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนที่อยู่เดิมในพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

ทั้งนี้ ในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ระบุถึงเหตุผลที่ต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับปัจจุบันว่า “พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมต่อการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน…….ซึ่งมีรูปแบบการกระทำความผิดที่มีความซับซ้อนมากขึ้นตามพัฒนาการทางเทคโนโลยี ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว”

สำหรับเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้

มาตรา 4

 “ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์สามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้ อันเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท”

มาตรา 5

กำหนดว่า ถ้าผู้ใดกระทำผิดใน 5 ประการ ได้แก่

1.การเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน

2.นำมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะไปเปิดเผยโดยมิชอบ

3.ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน

4.ดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ และ

5.ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว

ทั้งหมดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 140,000 บาท ที่สำคัญ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท

ส่วนเรื่องการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างความเสียหายให้กับบุคคล ร่างกฎหมายฉบับนี้ก็ได้มีกระบวนการจัดการกับผู้กระทำความผิดเข้มข้นมากขึ้นด้วย

โดนบัญญัติในมาตรา 10 ว่า “ผู้นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่นและภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท”

มาตรา 10 ดังกล่าวเป็นการแก้ไขเพื่อเพิ่มบทลงโทษให้มากขึ้นโดยให้ผู้กระทำผิดต้องรับทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ จากเดิมที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กำหนดการกระทำความผิดในลักษณะที่ว่านั้นด้วยการต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ขณะเดียวกัน ในร่างกฎหมายที่ ครม.เสนอให้ สนช.พิจารณา ยังได้บัญญัติมาตรการทางศาลเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายด้วย โดยมาตรา 11 ระบุว่า “ในคดีซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่ง

(1) ให้ยึดและทำลายข้อมูล

(2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในสื่อที่ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือหนังสือพิมพ์ ตามที่ศาลเห็นสมควร โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา”

เช่นเดียวกับ มาตรา 20 ที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแต่งตั้ง ยื่นคำร้องพร้อมแสดงหลักฐานต่อศาลขอให้มีคำสั่งระงับการเผยแพร่หรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ในที่นี้มีด้วยกัน 4 ประเภท ดังนี้

(1) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.นี้

(2) ข้อมูลที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ 1 หรือลักษณะ 1/1 ตามประมวลกฎหมายอาญา

(3) ข้อที่เป็นความผิดอาญาต่อกฎหมายอื่นซึ่งเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้นได้ร้องขอ และข้อมูลนั้นมีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

(4) ข้อมูลที่ไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายอื่นแต่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรืออันดีของประชาชน ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่รัฐมนตรีมีมติเป็นเอกฉันท์

  1. สรุปสาระสำคัญร่าง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับ 2559
  2. FAQ
  3. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560

แหล่งอ้างอิง

  1. http://nirundon.com/4me/พ-ร-บ-คอมพิวเตอร์ปี-2559.html , เข้าถึง 23 มกราคม 2560
  2. https://ilaw.or.th/node/4092, เข้าถึง 23 มกราคม 2560
  3. https://ictlawcenter.etda.or.th/news/detail/computer-2559 , เข้าถึง 23 มกราคม 2560

ปรับปรุงข้อมูล : 13/3/2560 11:03:28     ที่มา : งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 132141

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com ผู้ช่วยคนสำคัญที่จะทำให้การสอบบนโลกออนไลน์ เป็นเรื่องที่ง่ายชูฟีเจอร์เด่น- ประเภทคำถามที่หลากหลายกว่า 15 ประเภท- ระบบความปลอดภัยขั้นสูงล็อกเครื่องกั้นโกง- ใช้งานร่วมกับ Microsoft Teams ได้อย่างไร้รอยต่อ- รองรับการเข้าสอบพร้อมกันได้ระดับหลักแสนคน- AI คุมสอบ ตรวจจับละเอียด พร้อมประเมินความเสี่ยงการทุจริตได้อย่างแม่นยำข่าวประชาสัมพันธ์• VDO อบรมการใช้งาน Dugga (วันที่ 4 กรกฎาคม 2567)คู่มือการใช้งานระบบ Dugga สำหรับอาจารย์คู่มือการใช้งานระบบ Dugga สำหรับนักศึกษาเกี่ยวกับ DUGGA          Dugga Digital Assessment หรือ Dugga (อ่านว่า ดุกก้า) เป็นแพลตฟอร์มการประเมินแบบดิจิทัลที่สามารถใช้ภายในโรงเรียนมัธยม มหาวิทยาลัย และองค์กรต่าง ๆ โดยแพลตฟอร์ม Dugga รองรับการใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการทั่วไป เช่น Windows, Mac OS X, iPad OS และ Chrome OSการใช้งานสำหรับอาจารย์          1.เข้าที่ URL  https://auth.dugga.com/login จากนั้นเลือก Log in with Microsoft สามารถใช้งานผ่าน eMail มหาวิทยาลัยแม่โจ้
11 กรกฎาคม 2567     |      1967
วิธีการเปลี่ยนการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator
วิธีการเปลี่ยนการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticatorเครื่องมือที่ใช้ในการยืนยันตัวตน Multi-Factor Authentication (MFA) เป็นวิธีการในการยืนยันตัวตน โดยใช้การยืนยันตัวตนหลายอย่าง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องผูกกับหมายเลขโทรศัพท์ ทำให้สะดวกในการใช้งานและมีความปลอดภัยมากขึ้น1. เข้า Email มหาวิทยาลัยแม่โจ้ https://www.office.comทำการลงชื่อผู้ใช้งานให้เรียบร้อย แล้วกดที่ Profile มุมขวาบน แล้วเลือก View account2. เลือก Security info3. ทำการลบ Sign-in method ที่ไม่จำเป็นออก เมื่อลบแล้วให้กด Add sign-in method4. เลือก Authenticator app กด Add5. ระบบจะแนะนำให้ผู้ใช้งานทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือ แล้วกด Next  ** ผู้ใช้งานสามารถเลือกติดตั้งได้ ตามระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานทั้ง Android และ iOS6. เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือแล้ว กด Next7. เปิดโปรแกรม Microsoft Authenticator app ในโทรศัพท์มือถือ กดเพิ่มเครื่องหมาย +8. เลือก Work or school account แล้วเลือก Scan QR Code9. ทำการ Scan QR code ที่ปรากฎในหน้าจอ**หากไม่สามารถ Scan QR code ได้เนื่องจาก QR code หมดอายุ ให้คลิ๊ก Back แล้วกด Next เพื่อให้ QR Code แสดงใหม่แล้วทำการ Scan ใหม่อีกครั้ง10. เมื่อ Scan QR code บนโทรศัพท์มือถือสำเร็จ จะปรากฎชื่อบัญชีที่ตั้งค่าใน Microsoft Authenticator app และจะปรากฎชุดตัวเลข บนหน้าจอ11. ทำการกรอกตัวเลขไปยัง Microsoft Authenticator app บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อยืนยันตัวตน แล้วกด Yes12. กด Next13. Microsoft Authenticator app ทำการยืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว กด Done14. การยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator สำเร็จแล้ว สามารถเลือกวิธีการยืนยันตัวตนได้ โดยกด Change15. ค่าเริ่มต้นการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator คือ App based authentication - notification
17 กุมภาพันธ์ 2567     |      8333
การเปิดใช้งาน MFA Microsoft Authenticator
การเปิดใช้งาน MFA Microsoft Authenticatorเข้าใช้งานเว็บไซต์ https://www.office.com ทำการลงชื่อผู้ใช้งาน Sign in2. Login โดยใช้ username @mju.ac.th แล้วกด Next3. ใส่รหัสผ่าน Email แล้วกด Sign in4. กด Next เพื่อเข้าใช้งาน5. ระบบจะแนะนำให้ผู้ใช้งานทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือ แล้วกด Next  ** ผู้ใช้งานสามารถเลือกติดตั้งได้ ตามระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานทั้ง Android และ iOS6. เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือแล้ว กด Next7. เปิดโปรแกรม Microsoft Authenticator app ในโทรศัพท์มือถือ กดเพิ่มเครื่องหมาย +8. เลือก Work or school account แล้วเลือก Scan QR Code9. ทำการ Scan QR code ที่ปรากฎในหน้าจอ**หากไม่สามารถ Scan QR code ได้เนื่องจาก QR code หมดอายุ ให้คลิ๊ก Back แล้วกด Next เพื่อให้ QR Code แสดงใหม่แล้วทำการ Scan ใหม่อีกครั้ง10. เมื่อ Scan QR code บนโทรศัพท์มือถือสำเร็จ จะปรากฎชื่อบัญชีที่ตั้งค่าใน Microsoft Authenticator app และจะปรากฎชุดตัวเลข บนหน้าจอ11. ทำการกรอกตัวเลขไปยัง Microsoft Authenticator app บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อยืนยันตัวตน แล้วกด Yes12. กด Next13. Microsoft Authenticator app ทำการยืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว กด Done14. เข้าใช้งาน MS365 ผ่านเว็บ Browser ได้
15 กุมภาพันธ์ 2567     |      11770
การถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud
การถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud ด้วย Creative Cloud Cleaner tool How and when to use the Creative Cloud Cleaner tool?ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ Windows ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ macOS ขั้นตอนการถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud (ระบบปฏิบัติการ Windows)1. ทำการ ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ Windows2. แตกไฟล์ zip คลิ๊กขวาเลือก Run as administrator3. เลือก e แล้วกด Enter4. พิมพ์ y กด Enter5. เลือกโปรแกรมที่ต้องการจะลบ เลือกลบทั้งหมด (All) พิมพ์ 1 แล้วกด Enter6.ดูหมายเลข ของ Clean All. ใส่หมายเลขแล้วกด Enter 7.พิมพ์ y กด Enter เพื่อยืนยันการลบโปรแกรม เมื่อเสร็จแล้วกด Enter ออกจากโปรแกรม แล้ว Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการลบโปรแกรม Adobe Creative Cloud  ขั้นตอนการถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud (ระบบปฏิบัติการ macOS)ทำการดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ macOSแตกไฟล์ zip แล้ว Double Click เพื่อติดตั้งโปรแกรม กด Open3. เลือกโปรแกรมที่ต้องการจะลบ เลือกลบทั้งหมด (All) กด Clean All4. เมื่อทำการถอนการติตตั้งเสร็จ ปิดโปรแกรม แล้ว Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการลบโปรแกรม Adobe Creative Cloud 
13 พฤศจิกายน 2566     |      8926