งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต
Networking Systems and Internet Services

เทรนด์ไมโคร ผู้ผลิตซอฟต์แวร์แอนติไวรัสชื่อดังเผย ระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ทโฟนอนาคตไกลอย่างแอนดรอยด์นั้นมีช่องโหว่ด้านความปลอดภัยมากกว่าไอโฟน โดยแอนดรอยด์มีความเสี่ยงต่อการถูกเจาะระบบและไวรัสมากกว่าแพลตฟอร์มของแอปเปิล เชื่อในอนาคต ผู้ใช้แอนดรอยด์จะหาซื้อหาซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสมาใช้มากกว่ากลุ่มผู้ใช้ไอโฟน
       
       สตีฟ ชาง (Steve Chang) ประธานบริษัทเทรนด์ไมโคร ให้สัมภาษณ์ที่กรุงไทเป เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจการรักษาความปลอดภัยดิจิตอลในอุปกรณ์สมาร์ทโฟน โดยกล่าวว่า ความเป็นระบบเปิดของแอนดรอยด์มีส่วนทำให้นักเจาะระบบสามารถทำความเข้าใจสถาปัตยกรรมแพลตฟอร์มและชุดคำสั่งได้อย่างละเอียด ทำให้แอนดรอยด์มีความเสี่ยงถูกคุกคามโดยไวรัสสูง ต่างจากแพลตฟอร์มไอโฟน
       
       "เราต้องให้เครดิตแอปเปิล เพราะแอปเปิลระมัดระวังตรงนี้มาก ทำให้ไม่มีความเป็นไปได้เลยสำหรับการแพร่กระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์"
       
       คำว่าระบบเปิดของแอนดรอยด์ที่ชางพูดถึง คือการที่ยักษ์ใหญ่เสิร์ชเอนจิ้นอย่างกูเกิลเปิดเสรีให้นักพัฒนาทั่วโลกร่วมกันพัฒนาชุดคำสั่ง เพื่อให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนสามารถนำแอนดรอยด์ไปใช้งานได้ฟรี ตรงกันข้ามกับแอปเปิลที่ซุ่มพัฒนาเอง และกำหนดให้แอปพลิเคชันทุกชิ้นต้องถูกตรวจสอบและอนุมัติก่อน จึงจะมีสิทธิ์เปิดให้ดาวน์โหลดบนร้านออนไลน์จุดนี้ทำให้ชางเชื่อว่าผู้ใช้แอนดรอยด์จะซื้อซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสมากกว่าแพลตฟอร์มอื่น
       
      "สมาร์ทโฟนคือคอมพิวเตอร์พีซียุคหน้า และเมื่อสมาร์ทโฟนเริ่มนำมาใช้ในวงการธุรกิจ อุบัติเหตุเรื่องข้อมูลสูญหายจะเป็นปัญหาใหญ่ที่น่าเป็นห่วง"
       
       เทรนด์ไมโครเชื่อในแนวคิดนี้จนออกผลิตภัณฑ์ชื่อ Mobile Security for Android แอปพลิเคชันล่าสุดซึ่งสร้างมาเพื่อให้ผู้ใช้อุปกรณ์แอนดรอยด์ติดตั้งในเครื่องเพื่อป้องกันการติดไวรัส โปรแกรมร้าย และสายโทร.เข้าที่ไม่ต้องการ สนนราคา 3.99 เหรียญ คาดว่าจะได้รับแรงสนับสนุนจากผู้ใช้อุปกรณ์แอนดรอยด์ที่เชื่อว่าจะมีจำนวนถึง 250 ล้านเครื่องในปี 2014 (ข้อมูลจาก Gartner)
       
       ภัยคุกคามเดียวที่น่าเป็นห่วงสำหรับไอโฟน เทรนด์ไมโครมองว่าคือการล่อลวงที่ใช้เหตุการณ์ทางสังคมเป็นเครื่องบังหน้า เช่นการใช้ข่าวหรือบุคคลที่เป็นกระแสเพื่อดึงความสนใจผู้บริโภค ซึ่งก็เชื่อกันว่าจะไม่ส่งผลในวงกว้าง
       
       ข้อมูลล่าสุดชี้ว่า สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์มีสัดส่วนการใช้งานราว 26% ในตลาดโลกช่วงไตรมาส 3 ของปี 2010 ที่ผ่านมา ตามหลังซิมเบียน (Symbian) แต่นำหน้าไอโอเอส (iOS) ซึ่งมีสัดส่วน 17% คาดว่าปี 2014 สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์จะมีจำนวน 259 ล้านเครื่อง หรือประมาณ 29.6% ของตลาดรวม เป็นรองซิมเบียนที่เชื่อว่าจะมีสัดส่วน 30.2% แซงไอโอเอสซึ่งคาดว่าจะมีส่วนแบ่งตลาดลดลงเหลือ 15%

ขอขอบคุณ ASTV ผู้จัดการ , Trend Micro

ที่มา http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9540000004400
       

ปรับปรุงข้อมูล : 1/1/2557 0:00:00     ที่มา : งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 3769

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

การติดตั้ง VPN SoftEther สำหรับการใช้งาน SPSS
คู่มือการติดตั้งโปรแกรม SoftEther VPNการติดตั้งระบบ SoftEther VPNสามารถ Download โปรแกรมได้ที่ https://www.softether-download.com/en.aspx?product=softetherSelect Component เลือก SoftEther VPN ClientSelect Platform เลือก Windowsทำการ Download โปรแกรม SoftEther VPN Client (Ver 4.44, Build 9807, rtm)เมื่อทำการ Download โปรแกรมเสร็จแล้ว ดับเบิลคลิกโปรแกรมเพื่อติดตั้ง3. ติดตั้งโปรแกรม กด Next4. ทำการติดตั้ง SoftEther VPN Client แล้วกด Next5. ยอมรับการติดตั้งโปรแกรมเลือก I agree to the End User License Agreement. แล้วกด Next6. กด Next7. เลือกตำแหน่งการติดตั้งโปรแกรม กด Next8. กด Next9. โปรแกรมทำการติดตั้งเสร็จแล้ว กด Finish10.เข้าโปรแกรม SoftEther VPN Client Manager คลิก Add VPN Connection กด Yes11. ตั้งชื่อ VPN กด OK จะทำการสร้าง VPN Client Adapter – VPN กด Add VPN Connection12. หน้าต่าง “New VPN Connection Setting Properties” ดำเนินการตั้งค่าดังนี้Setting Name (18): ตั้งค่าตามต้องการ ในที่นี้ตั้งค่าเป็น VPNLIBHost Name (19): ให้ใส่ค่า vpnlib.mju.ac.thPort Number (20): 5555Virtual Hub Name (21): เลือก VPNLIB จากเมนูAuth Type (22): คลิกเลือกเป็น Radius or NT Domain Authentication.Username (23): นักศึกษาให้ใส่ mju +รหัสนักศึกษา บุคลากรอาจารย์ให้ใส่อีเมลไม่ต้องมี @mju.ac.th Password (24): ใส่ รหัสผ่านให้ใช้ตัวเดียวกันกับอีเมลคลิกปุ่ม “OK” (25) เพื่อสร้างการเชื่อมต่อเมื่อต้องการเชื่อมต่อ VPN ให้ทำการคลิกขวาที่การเชื่อมต่อที่เราสร้างไว้และคลิกปุ่ม “Connect”14. หากต้องการยกเลิกการเชื่อมต่อ VPN ให้ทำการคลิกขวาที่การเชื่อมต่อที่เราสร้างไว้และคลิกปุ่ม “Disconnect”
10 มิถุนายน 2568     |      127
Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com ผู้ช่วยคนสำคัญที่จะทำให้การสอบบนโลกออนไลน์ เป็นเรื่องที่ง่ายชูฟีเจอร์เด่น- ประเภทคำถามที่หลากหลายกว่า 15 ประเภท- ระบบความปลอดภัยขั้นสูงล็อกเครื่องกั้นโกง- ใช้งานร่วมกับ Microsoft Teams ได้อย่างไร้รอยต่อ- รองรับการเข้าสอบพร้อมกันได้ระดับหลักแสนคน- AI คุมสอบ ตรวจจับละเอียด พร้อมประเมินความเสี่ยงการทุจริตได้อย่างแม่นยำข่าวประชาสัมพันธ์• VDO อบรมการใช้งาน Dugga (วันที่ 4 กรกฎาคม 2567)คู่มือการใช้งานระบบ Dugga สำหรับอาจารย์คู่มือการใช้งานระบบ Dugga สำหรับนักศึกษาเกี่ยวกับ DUGGA          Dugga Digital Assessment หรือ Dugga (อ่านว่า ดุกก้า) เป็นแพลตฟอร์มการประเมินแบบดิจิทัลที่สามารถใช้ภายในโรงเรียนมัธยม มหาวิทยาลัย และองค์กรต่าง ๆ โดยแพลตฟอร์ม Dugga รองรับการใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการทั่วไป เช่น Windows, Mac OS X, iPad OS และ Chrome OSการใช้งานสำหรับอาจารย์          1.เข้าที่ URL  https://auth.dugga.com/login จากนั้นเลือก Log in with Microsoft สามารถใช้งานผ่าน eMail มหาวิทยาลัยแม่โจ้
11 กรกฎาคม 2567     |      3642
วิธีการเปลี่ยนการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator
วิธีการเปลี่ยนการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticatorเครื่องมือที่ใช้ในการยืนยันตัวตน Multi-Factor Authentication (MFA) เป็นวิธีการในการยืนยันตัวตน โดยใช้การยืนยันตัวตนหลายอย่าง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องผูกกับหมายเลขโทรศัพท์ ทำให้สะดวกในการใช้งานและมีความปลอดภัยมากขึ้น1. เข้า Email มหาวิทยาลัยแม่โจ้ https://www.office.comทำการลงชื่อผู้ใช้งานให้เรียบร้อย แล้วกดที่ Profile มุมขวาบน แล้วเลือก View account2. เลือก Security info3. ทำการลบ Sign-in method ที่ไม่จำเป็นออก เมื่อลบแล้วให้กด Add sign-in method4. เลือก Authenticator app กด Add5. ระบบจะแนะนำให้ผู้ใช้งานทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือ แล้วกด Next  ** ผู้ใช้งานสามารถเลือกติดตั้งได้ ตามระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานทั้ง Android และ iOS6. เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือแล้ว กด Next7. เปิดโปรแกรม Microsoft Authenticator app ในโทรศัพท์มือถือ กดเพิ่มเครื่องหมาย +8. เลือก Work or school account แล้วเลือก Scan QR Code9. ทำการ Scan QR code ที่ปรากฎในหน้าจอ**หากไม่สามารถ Scan QR code ได้เนื่องจาก QR code หมดอายุ ให้คลิ๊ก Back แล้วกด Next เพื่อให้ QR Code แสดงใหม่แล้วทำการ Scan ใหม่อีกครั้ง10. เมื่อ Scan QR code บนโทรศัพท์มือถือสำเร็จ จะปรากฎชื่อบัญชีที่ตั้งค่าใน Microsoft Authenticator app และจะปรากฎชุดตัวเลข บนหน้าจอ11. ทำการกรอกตัวเลขไปยัง Microsoft Authenticator app บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อยืนยันตัวตน แล้วกด Yes12. กด Next13. Microsoft Authenticator app ทำการยืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว กด Done14. การยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator สำเร็จแล้ว สามารถเลือกวิธีการยืนยันตัวตนได้ โดยกด Change15. ค่าเริ่มต้นการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator คือ App based authentication - notification
17 กุมภาพันธ์ 2567     |      9964
การเปิดใช้งาน MFA Microsoft Authenticator
การเปิดใช้งาน MFA Microsoft Authenticatorเข้าใช้งานเว็บไซต์ https://www.office.com ทำการลงชื่อผู้ใช้งาน Sign in2. Login โดยใช้ username @mju.ac.th แล้วกด Next3. ใส่รหัสผ่าน Email แล้วกด Sign in4. กด Next เพื่อเข้าใช้งาน5. ระบบจะแนะนำให้ผู้ใช้งานทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือ แล้วกด Next  ** ผู้ใช้งานสามารถเลือกติดตั้งได้ ตามระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานทั้ง Android และ iOS6. เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือแล้ว กด Next7. เปิดโปรแกรม Microsoft Authenticator app ในโทรศัพท์มือถือ กดเพิ่มเครื่องหมาย +8. เลือก Work or school account แล้วเลือก Scan QR Code9. ทำการ Scan QR code ที่ปรากฎในหน้าจอ**หากไม่สามารถ Scan QR code ได้เนื่องจาก QR code หมดอายุ ให้คลิ๊ก Back แล้วกด Next เพื่อให้ QR Code แสดงใหม่แล้วทำการ Scan ใหม่อีกครั้ง10. เมื่อ Scan QR code บนโทรศัพท์มือถือสำเร็จ จะปรากฎชื่อบัญชีที่ตั้งค่าใน Microsoft Authenticator app และจะปรากฎชุดตัวเลข บนหน้าจอ11. ทำการกรอกตัวเลขไปยัง Microsoft Authenticator app บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อยืนยันตัวตน แล้วกด Yes12. กด Next13. Microsoft Authenticator app ทำการยืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว กด Done14. เข้าใช้งาน MS365 ผ่านเว็บ Browser ได้
15 กุมภาพันธ์ 2567     |      12400