งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต
Networking Systems and Internet Services

ความผูกพัน หมายถึง การเกาะเกี่ยวกันทางใจด้วยความรักหรือความโกรธเกลียด หรือความหลง ทำให้ปล่อยวางหรือลืมเรืองนั้นเสียไม่ได้ สิ่งนั้นก็จะเกาะติดอยู่ในใจติดตามตัวไปทุกแห่งทุกหน ทำให้หาความผาสุก ความเป็นอิสระไม่ได้ เหมือนขาที่ถูกคล้องไว้ด้วยโซ่ตรวน ย่อมจะหนักและเดินลำบาก การมีความผูกพันกับสิ่งใด คนใด เรื่องใด ก็ไม่ต่างกับการมีโซ่ตรวนล่ามขาอยู่ฉะนั้น การผูกพันกันด้วยความรัก ใช่ว่าจะทำให้เกิดความสุขเสมอไป เมือมีความรักก็ย่อมมีความห่วงใยเป็นธรรมดา อยากให้คนที่ตนรักเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรือไม่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ความอยากของคนเราใช่ว่าจะได้ดังที่อยากเสมอไปก็หาไม่ บางครั้งก็ไม่สมอยาก พระพุทธองค์จึงได้ทรงตรัสสอนว่า "ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง แปลว่า ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์" ผูกพันด้วยความโกรธ ความเกลียด โดยไม่ละ ไม่วาง ยังผูกใจเจ็บแค้นกันอยู่ตลอดเวลา ก็เหมือน เอาโซ่ตรวนล่ามกันไว้เช่นกัน การที่จะอธิษฐานจิตว่า "เกิดชาติใดขออย่าให้ได้พบได้เจอคนอย่างนี้อีกเลย" ก็คงเป็นเรื่องยาก เพราะใจเราผูกพันกับเขาด้วยความโกรธ ความเกลียด ความชิงชังอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยแกะโซ่ตรวนที่ล่ามติดกับเขาไว้ แล้วจะพ้นจากคนที่เราไม่ชอบได้อย่างไร ตราบใดที่ยังไม่แกะโซ่ตรวนออกก็ต้องตามผจญกรรมกันไปทุกภพทุกชาติ ไม่ว่าจะอธิษฐานอย่างไร ถ้าไม่ชอบใคร ไม่อยากเจอใคร ต้องทำใจไม่ให้นึกถึงคนนั้น เรื่องเกี่ยวกับคนนั้น หรือถ้านึกถึงก็ให้น้อยที่สุด ยิ่งอโหสิกรรมหรือให้อภัยกันเสีย ก็จะมีโอกาสหนีพ้นจากกัน เปรียบเหมือนแกะโซ่ตรวนออกแล้ว ก็ย่อมเป็นอิสระ ไม่ต้องไปเผชิญเวรเผชิญกรรมกันอีกทุกภพทุกชาติ ยิ่งทำดี มีเมตตากรุณากับผู้ที่เราไม่ชอบ ผลแห่กรรมดีที่เรากระทำยิ่งสูงกว่าคนที่เราไม่ชอบเท่าใด ภพ ภูมิก็จะต่างกันเท่านั้น ยิ่งเกลียด ยิ่งไม่อยากเห็นหน้ากัน ก็อย่าฝังใจอยู่ทุกวี่วัน ยิ่งจะดึงเขาเข้ามาหาเรามากขึ้นเท่านั้น จึงต้องตามผจญกันไปทุกชาติ อยากให้พ้นจากใคร ก็จงให้อภัยทาน จะได้หมดเวรหมดกรรมกัน

การผูกพันด้วยความหลง เป็นเรื่องหนักกว่าเพื่อน เพราะผู้ที่มีความหลงก็คือ เห็นสิ่งที่ผิดเป็นถูก เห็นสิ่งที่ไม่งามเป็นสิ่งที่งาม ฯลฯ ที่โบราณเรียกว่า "เห็นกงจักรเป็นดอกบัว" คือเห็นสิ่งที่เป็นอันตราย (กงจักรเป็นอาวุธที่อันตราย) ว่าเป็นของที่น่ารัก น่าบูชา แม้ใครจะบอก ใครจะเตือน ก็ไม่สามารถจะเอาชนะความงมงายหรือความหลงได้ ผู้ที่มีความผูกพันด้วยความหลง จึงจัดเป็นผู้ที่น่าสงสารที่สุด จะอยู่ในสภาพที่เรียกว่า "มดไต่ขอบกระด้ง" หาทางออกไม่ได้ ก็วนเวียนอยู่อย่างนั้นไม่รู้จบ ชีวิตที่มีความผูกพันกับสิ่งใดมากเกินไป ไม่เคยให้ความสุขแก่ผู้ใดเลย รักมากก็ห่วงมาก กลุ้มมาก เกลียดมากก็ร้อนใจมาก จะเห็นว่าล้วนเป็นบ่อเกิดแหงทุกข์ทั้งสิ้น


การเดินสายกลาง อย่าไปผูกพันยึดติดกับสิ่งใด และรู้จักปล่อยวาง จะเป็นหนทางดับทุกข์ได้ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ถ้าเราเลี้ยงสุนัข เรารักเขามาก ผูกพันกับเขาเหลือเกิน แต่อายุขัยของสุนัขน้อยกว่าคนมาก จึงมักตายก่อน เจ้าของผู้มีความผูกพันกับสุนัขตัวนั้น ก็จะเศร้าสร้อยไปพักหนึ่งทีเดียว ความรักความปรานีเราจะให้แก่ใครก็ได้ และเป็นสิ่งที่ควรให้ แต่การผูกพัน การยึดติดนั้นเป็นเรื่องอันตราย เป็นเหตุแห่งทุกข์ ไม่อยากมีทุกข์ ก็อย่ายึดติด หรือผูกพันกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด รู้จักปล่อยวาง รู้จักหาอิสรภาพให้แก่ตนเอง จะเป็นสุขในที่สุด...

ปรับปรุงข้อมูล : 1/1/2557 0:00:00     ที่มา : งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 8239

กลุ่มข่าวสาร : บทความน่าสนใจ

ข่าวล่าสุด

Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com ผู้ช่วยคนสำคัญที่จะทำให้การสอบบนโลกออนไลน์ เป็นเรื่องที่ง่ายชูฟีเจอร์เด่น- ประเภทคำถามที่หลากหลายกว่า 15 ประเภท- ระบบความปลอดภัยขั้นสูงล็อกเครื่องกั้นโกง- ใช้งานร่วมกับ Microsoft Teams ได้อย่างไร้รอยต่อ- รองรับการเข้าสอบพร้อมกันได้ระดับหลักแสนคน- AI คุมสอบ ตรวจจับละเอียด พร้อมประเมินความเสี่ยงการทุจริตได้อย่างแม่นยำข่าวประชาสัมพันธ์• VDO อบรมการใช้งาน Dugga (วันที่ 4 กรกฎาคม 2567)คู่มือการใช้งานระบบ Dugga สำหรับอาจารย์คู่มือการใช้งานระบบ Dugga สำหรับนักศึกษาเกี่ยวกับ DUGGA          Dugga Digital Assessment หรือ Dugga (อ่านว่า ดุกก้า) เป็นแพลตฟอร์มการประเมินแบบดิจิทัลที่สามารถใช้ภายในโรงเรียนมัธยม มหาวิทยาลัย และองค์กรต่าง ๆ โดยแพลตฟอร์ม Dugga รองรับการใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการทั่วไป เช่น Windows, Mac OS X, iPad OS และ Chrome OSการใช้งานสำหรับอาจารย์          1.เข้าที่ URL  https://auth.dugga.com/login จากนั้นเลือก Log in with Microsoft สามารถใช้งานผ่าน eMail มหาวิทยาลัยแม่โจ้
11 กรกฎาคม 2567     |      1959
วิธีการเปลี่ยนการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator
วิธีการเปลี่ยนการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticatorเครื่องมือที่ใช้ในการยืนยันตัวตน Multi-Factor Authentication (MFA) เป็นวิธีการในการยืนยันตัวตน โดยใช้การยืนยันตัวตนหลายอย่าง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องผูกกับหมายเลขโทรศัพท์ ทำให้สะดวกในการใช้งานและมีความปลอดภัยมากขึ้น1. เข้า Email มหาวิทยาลัยแม่โจ้ https://www.office.comทำการลงชื่อผู้ใช้งานให้เรียบร้อย แล้วกดที่ Profile มุมขวาบน แล้วเลือก View account2. เลือก Security info3. ทำการลบ Sign-in method ที่ไม่จำเป็นออก เมื่อลบแล้วให้กด Add sign-in method4. เลือก Authenticator app กด Add5. ระบบจะแนะนำให้ผู้ใช้งานทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือ แล้วกด Next  ** ผู้ใช้งานสามารถเลือกติดตั้งได้ ตามระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานทั้ง Android และ iOS6. เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือแล้ว กด Next7. เปิดโปรแกรม Microsoft Authenticator app ในโทรศัพท์มือถือ กดเพิ่มเครื่องหมาย +8. เลือก Work or school account แล้วเลือก Scan QR Code9. ทำการ Scan QR code ที่ปรากฎในหน้าจอ**หากไม่สามารถ Scan QR code ได้เนื่องจาก QR code หมดอายุ ให้คลิ๊ก Back แล้วกด Next เพื่อให้ QR Code แสดงใหม่แล้วทำการ Scan ใหม่อีกครั้ง10. เมื่อ Scan QR code บนโทรศัพท์มือถือสำเร็จ จะปรากฎชื่อบัญชีที่ตั้งค่าใน Microsoft Authenticator app และจะปรากฎชุดตัวเลข บนหน้าจอ11. ทำการกรอกตัวเลขไปยัง Microsoft Authenticator app บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อยืนยันตัวตน แล้วกด Yes12. กด Next13. Microsoft Authenticator app ทำการยืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว กด Done14. การยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator สำเร็จแล้ว สามารถเลือกวิธีการยืนยันตัวตนได้ โดยกด Change15. ค่าเริ่มต้นการยืนยันตัวตนโดยใช้ MFA Microsoft Authenticator คือ App based authentication - notification
17 กุมภาพันธ์ 2567     |      8268
การเปิดใช้งาน MFA Microsoft Authenticator
การเปิดใช้งาน MFA Microsoft Authenticatorเข้าใช้งานเว็บไซต์ https://www.office.com ทำการลงชื่อผู้ใช้งาน Sign in2. Login โดยใช้ username @mju.ac.th แล้วกด Next3. ใส่รหัสผ่าน Email แล้วกด Sign in4. กด Next เพื่อเข้าใช้งาน5. ระบบจะแนะนำให้ผู้ใช้งานทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือ แล้วกด Next  ** ผู้ใช้งานสามารถเลือกติดตั้งได้ ตามระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานทั้ง Android และ iOS6. เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Authenticator app ผ่านระบบมือถือแล้ว กด Next7. เปิดโปรแกรม Microsoft Authenticator app ในโทรศัพท์มือถือ กดเพิ่มเครื่องหมาย +8. เลือก Work or school account แล้วเลือก Scan QR Code9. ทำการ Scan QR code ที่ปรากฎในหน้าจอ**หากไม่สามารถ Scan QR code ได้เนื่องจาก QR code หมดอายุ ให้คลิ๊ก Back แล้วกด Next เพื่อให้ QR Code แสดงใหม่แล้วทำการ Scan ใหม่อีกครั้ง10. เมื่อ Scan QR code บนโทรศัพท์มือถือสำเร็จ จะปรากฎชื่อบัญชีที่ตั้งค่าใน Microsoft Authenticator app และจะปรากฎชุดตัวเลข บนหน้าจอ11. ทำการกรอกตัวเลขไปยัง Microsoft Authenticator app บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อยืนยันตัวตน แล้วกด Yes12. กด Next13. Microsoft Authenticator app ทำการยืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว กด Done14. เข้าใช้งาน MS365 ผ่านเว็บ Browser ได้
15 กุมภาพันธ์ 2567     |      11751
การถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud
การถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud ด้วย Creative Cloud Cleaner tool How and when to use the Creative Cloud Cleaner tool?ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ Windows ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ macOS ขั้นตอนการถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud (ระบบปฏิบัติการ Windows)1. ทำการ ดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ Windows2. แตกไฟล์ zip คลิ๊กขวาเลือก Run as administrator3. เลือก e แล้วกด Enter4. พิมพ์ y กด Enter5. เลือกโปรแกรมที่ต้องการจะลบ เลือกลบทั้งหมด (All) พิมพ์ 1 แล้วกด Enter6.ดูหมายเลข ของ Clean All. ใส่หมายเลขแล้วกด Enter 7.พิมพ์ y กด Enter เพื่อยืนยันการลบโปรแกรม เมื่อเสร็จแล้วกด Enter ออกจากโปรแกรม แล้ว Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการลบโปรแกรม Adobe Creative Cloud  ขั้นตอนการถอนการติดตั้งโปรแกรม Adobe Creative Cloud (ระบบปฏิบัติการ macOS)ทำการดาวน์โหลด Creative Cloud Cleaner tool สำหรับ macOSแตกไฟล์ zip แล้ว Double Click เพื่อติดตั้งโปรแกรม กด Open3. เลือกโปรแกรมที่ต้องการจะลบ เลือกลบทั้งหมด (All) กด Clean All4. เมื่อทำการถอนการติตตั้งเสร็จ ปิดโปรแกรม แล้ว Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการลบโปรแกรม Adobe Creative Cloud 
13 พฤศจิกายน 2566     |      8870