งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต
Networking Systems and Internet Services

ข้อแนะนำในการใช้งาน Social Media สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป

 การใช้งานรหัสผ่านอย่างมั่นคงปลอดภัย

  • การตั้งค่ารหัสผ่านที่ใช้ในการล็อกอินเข้าสู่เว็บไซต์หรือระบบต่างๆ จะต้องเป็นรหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก เพื่อลดความเสี่ยงกรณีที่ผู้ประสงค์ร้ายที่พยายามจะสุ่มรหัสผ่านเพื่อใช้ล็อกอินบัญชีผู้ใช้งานของผู้อื่น การตั้งค่ารหัสผ่านที่มั่นคงปลอดภัย มีข้อแนะนำดังนี้
  1. รหัสผ่านควรมีความยาวไม่ต่ำกว่า 8 ตัวอักษร เช่น Ro23w%9T
  2. รหัสผ่านควรประกอบไปด้วยตัวอักษรพิมพ์เล็ก พิมพ์ใหญ่ ตัวเลข และอักขระพิเศษ
  • การตั้งคำถามที่ใช้ในกรณีกู้คืนบัญชีผู้ใช้งาน (Forget password) ควรเลือกใช้ข้อมูลหรือคำถามที่เป็นส่วนบุคคลและควรเป็นข้อมูลที่ผู้อื่นคาดเดายาก เพื่อป้องกันการสุ่มคำถามคำตอบจากผู้ประสงค์ร้าย
  • ไม่ควรบันทึกรหัสผ่านไว้ในที่ซึ่งง่ายต่อการสังเกตเห็นของบุคคลอื่น เช่น จดรหัสผ่านวางไว้บนโต๊ะ หรือเขียนโน๊ตติดไว้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์
  • ไม่ควรเปิดเผยรหัสผ่านให้แก่บุคคลอื่นล่วงรู้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการถูกขโมยหัสผ่านจากบุคคลที่สาม
  • ไม่ควรกำหนดค่าให้เว็บ Browser ช่วยจำรหัสผ่านที่ใช้ในการเข้าถึงเว็บไซต์ (Remember password) เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะถูกขโมยบัญชีผู้ใช้งานหรือแกะรอยรหัสผ่านจากเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ

การใช้บริการสื่อและเครือข่ายสังคมทางเว็บอย่างมั่นคงปลอดภัย

  • การได้รับอีเมล์แจ้งเตือนจากเว็บไซต์ต่างๆ ในลักษณะเชื้อเชิญให้คลิกลิงค์ที่แนบมาในอีเมล์ ผู้ใช้งานควรสงสัยว่าลิงค์ดังกล่าวเป็นลิงค์ที่ไม่ปลอดภัย (ลิงค์ที่มีความประสงค์จะหลอกลวงเพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคล เช่น รหัสผ่าน โดยวิธีการต่างๆ) และสามารถแจ้งลิงค์ต้องสงสัยมายัง  report@thaicert.or.th  เพื่อตรวจสอบต่อไป
  • ปัจจุบัน เว็บไซต์ที่ให้บริการสื่อและเครือข่ายสังคม ได้เปิดช่องทางเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อเว็บไซต์ผ่านช่องทางที่มีการเข้ารหัสลับข้อมูล เพื่อป้องกันการดักจับข้อมูลระหว่างทางจากผู้ประสงค์ร้าย โดยกระบวนการดังกล่าวเป็นการเชื่อมต่อเว็บไซต์ผ่านรูปแบบที่เรียกกันว่า HTTPS ซึ่งผู้ใช้งานทั่วไปสามารถใช้ช่องทางดังกล่าวได้ทันที โดยเรียนใช้ผ่านการพิมพ์ https:// ตามด้วยชื่อเว็บไซต์ เช่น https://www.facebook.com
  • ใช้กระบวนการยืนยันตัวตน (Authentication) แบบ Two-factor Authentication ซึ่งเป็นวิธีการที่มีความมั่นคงปลอดภัยสูงกว่าการเข้าสู่เว็บไซต์โดยการล็อกอินโดยใช้ใช้รหัสผ่านเพียงอย่างเดียว ซึ่งกระบวนการยืนยันตัวตนดังกล่าวจะใช้การยืนยันตัวตนด้วยรหัสผ่านร่วมกับวิธีการอื่นๆ เช่น การยืนยันรหัสผ่านชั่วคราวที่ได้จาก SMS หลังจากล็อกอินครั้งแรกแล้ว เป็นต้น โดยปัจจุบันเว็บไซต์ที่ให้บริการสื่อและเครือข่ายสังคมที่รองรับกระบวนการดังกล่าว ได้แก่ facebook
  • เนื่องจากเว็บไซต์บริการสื่อและเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่ มีการจัดเตรียมช่องทางในการกู้คืนบัญชีผู้ใช้งานหรือกู้คืนรหัสผ่าน (Forget password) โดยส่วนใหญ่จะใช้ช่องทางสื่อสารผ่านอีเมลของผู้ใช้งาน ซึ่งก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งให้ผู้ประสงค์ร้ายเข้าโจมตีผ่านช่องทางอีเมล จากนั้นจึงใช้ช่องทางดังกล่าวเข้าควบคุมบัญชีเครือข่ายสังคมต่างๆ ต่อไป
  • ไม่เผยแพร่ข้อมูลสำคัญ ไม่ว่าส่วนบุคคลของของตนเอง ผู้อื่น และขององค์กร ในเว็บไซต์บริการสื่อและ เครือข่ายสังคมออนไลน์
  • พึงระลึกไว้เสมอว่าข้อมูลต่างๆ ที่เผยแพร่ไว้บนบริการสื่อและเครือข่ายสังคมนั้นคงอยู่ถาวร และผู้อื่นอาจเข้าถึงและเผยแพร่ของข้อมูลนี้ได้
  • ไม่ควรใช้บริการสื่อและเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการเผยแพร่ข้อความหรือข้อมูลที่ไม่เหมาะสมต่างๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้อื่นโดยไม่เป็นธรรม

การใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างมั่นคงปลอดภัย

  • ติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส และอัพเดทฐานข้อมูลไวรัสของโปรแกรมอยู่เสมอ
  • อัพเดทระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์เว็บ Browser อยู่เสมอ
  • ไม่ควรติดตั้งโปรแกรมเสริมจากผู้พัฒนาอื่น (3rd Party Application) นอกเหนือจากโปรแกรมที่พัฒนาโดยเจ้าของบริการสื่อและเครือข่ายสังคม เนื่องจากผู้ใช้งานมีความเสี่ยงจากการถูกลักลอบ ปลอมแปลง หรือขโมยข้อมูลสำคัญของผู้ใช้งานได้
  • ควรละเว้นการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการในที่สาธารณะ หรือจากผู้ให้บริการที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น เครือข่ายไร้สาย (WiFi) หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถระบุผู้ให้บริการได้ ซึ่งอาจเป็นช่องทางให้ผู้ไม่ประสงค์ดีลักลอบขโมยข้อมูลสำคัญ เช่น รหัสผ่านของผู้ใช้งาน เป็นต้น

ขอขอบคุณ ThaiCERT 

ที่มา http://www.thaicert.or.th

ปรับปรุงข้อมูล : 1/1/2557 0:00:00     ที่มา : งานระบบเครือข่ายและบริการอินเทอร์เน็ต     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 7474

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

โครงการสัมมนา“ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน”
คุณธนชาต วิวัฒนภูติ Business Development & Marketing Manager จากบริษัท ลานนาคอม จำกัด ที่ได้มาให้ความรู้โครงการ "ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน" กองเทคโนโลยีดิจทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการจัดโครงการสัมมนา“ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ประยุกต์ใช้ให้ทันโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง เรียนรู้วิธีการใช้งาน ChatGPT ให้เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในวันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2566 เวลา 9.00-12.00 น. ผ่านระบบ Webinar MS Teamsเอกสารที่เกี่ยวข้องวิดีโอโครงการสัมมนา“ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน” ช่วงที่ 1วิดีโอโครงการสัมมนา“ChatGPT กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน” ช่วงที่ 2
16 กรกฎาคม 2566     |      318
พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA)
หนึ่งในปัญหาสำคัญที่นำไปสู่การออกกฎหมาย PDPA คือ การที่ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลสู่สาธารณะ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ข้อมูลต่างๆ ถูกแปลงให้อยู่ในรูปดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลสามารถหลุดออกไปได้หลากหลายช่องทางโดยบางครั้งเจ้าของข้อมูลก็ไม่รู้ตัว เช่น การโพสต์ข้อมูลส่วนบุคคลลงสื่อสังคมออนไลน์ การใช้บริการแอปพลิเคชันต่างๆ แล้วกดตกลงให้ความยินยอมในการให้ข้อมูลเองโดยไม่อ่านรายละเอียด การโดนแฮ็กหรือเจาะขโมยข้อมูล การถูกหลอกลวงด้วยวิธีต่างๆ เช่น Phishing เป็นต้น การรั่วไหลหรือขโมยข้อมูลส่วนบุคคลอาจนำไปสู่ความเสียหายดังต่อไปนี้ • ถูกนำไปใช้ในทางผิดกฎหมาย เช่น เลขบัตรประชาชนถูกนำไปใช้เปิดบัญชีเพื่อฉ้อโกงผู้อื่น คลิปส่วนตัวถูกข่มขู่แบล็กเมล เป็นต้น • โดนจารกรรมทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการใช้หมายเลขบัตรเครดิตไปซื้อสินค้า หรือโอนเงินจากบัญชีธนาคาร • ถูกนำไปทำการตลาดต่อ ส่งผลให้เจ้าของข้อมูลถูกรบกวนด้วยโฆษณา ขายสินค้าและบริการต่างๆ • ถูกปลอมแปลงตัวตน แล้วเอาไปแอบอ้างทำเรื่องเสียหายหรือผิดกฎหมายเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนไทย ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคาร อีเมล ไอดีไลน์ บัญชีผู้ใช้ของเว็บไซต์ ลายนิ้วมือ ประวัติสุขภาพ รวมไปถึงข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถระบุถึงตัวเจ้าของข้อมูลนั้นได้ ทั้งในรูปแบบเอกสาร กระดาษ หนังสือ หรืออิเล็กทรอนิกส์ กฎหมาย PDPA จึงถูกพัฒนาและเตรียมบังคับใช้งานอย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 1 มิถุนายน 2022 นี้ หลักสำคัญของกฎหมาย PDPA สามารถสรุปได้เป็น 6 ประเด็น ดังนี้ 1. เจ้าของข้อมูลมีสิทธิ์ลบ เพิ่ม ห้าม แก้ไข และเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของตัวเองได้ 2. ต้องให้ความสะดวกในการขอเพิกถอนสิทธิ เช่นเดียวกับตอนที่ขอข้อมูลมาจากเจ้าของข้อมูลในตอนแรก 3. เก็บข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็น ตามวัตถุประสงค์ในการขอข้อมูลมา 4. เมื่อพบข้อมูลรั่วไหล ต้องแจ้งเจ้าของข้อมูลและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดภายใน 72 ชั่วโมง 5. ต้องมีผู้ดูแล รับผิดชอบ และควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล 6. โทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5,000,000 บาท โดยอาจมีความผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่ง ไม่ว่าจะเป็น Data Controllers หรือ Data Processors 8 ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมขององค์กรก่อน PDPA ประกาศใช้ มีคำแนะนำสำหรับการเตรียมความพร้อมขององค์กรในภาพใหญ่ 8 ข้อ ดังนี้ 1. ทำความเข้าใจว่ากฎหมาย PDPA คืออะไร 2. ตั้งงบประมาณ 3. แต่งตั้งทีมรับผิดชอบ 4. กำหนดประเภทข้อมูลและวัตถุประสงค์ 5. เตรียมข้อกำหนด แนวทางปฏิบัติในการปกป้องข้อมูลตามที่กฎหมายกำหนด 6. สร้างความตระหนักรู้ให้กับเจ้าของข้อมูลและประชาสัมพันธ์ให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 7. พัฒนาทักษะและกระบวนการตรวจสอบ 8. ปรับปรุงกระบวนการและออกแบบให้เหมาะสมกับการคุ้มครองข้อมูงส่วนบุคคลอยู่เสมอ สำหรับขั้นตอนในการรับมือกฎหมาย PDPA โดยละเอียดได้แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ 1. Data Discovery ค้นหาและตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล 2. Privacy Policy กำหนดการใช้หรือการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล 3. Security Measurement วางมาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัยสำหรับปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล 4. Data Transfer วางระบบการบริหารจัดการ การส่ง หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล 5. DPO แต่งตั้งผู้กำกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคล PDPA in Action เมื่อนำกฎหมาย PDPA มาแปลงให้อยู่ในระบบสารสนเทศ จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ Data Subject Request, Front-end (DPO) และ Back-end System เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ PDPAเอกสารโครงการเตรียมความพร้อมรองรับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) วันอังคารที่ 26 เมษายน 2565 วิดีโอโครงการฝึกอบรม “ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562” วันศุกร์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2566เอกสารอ้างอิงของมหาวิทยาลัยแม่โจ้คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาและวางแนวนโยบายในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่องนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลCookies-Policy - MJUข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล - MJUคำประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว-Privacy-Notice-MJUนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล-Privacy-Policy - MJUแนวปฎิบัติสำหรับการดำเนินการของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล - MJUบันทึกรายการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของ-MJUเอกสารแสดงความยินยอม-Consent-Form - MJU
22 พฤษภาคม 2566     |      856